ความแตกต่างระหว่าง นิสิต กับ นักศึกษา

https://dmc.tv/a1557

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 28 มี.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18259 ]
ความแตกต่างระหว่าง นิสิต กับ นักศึกษา
 
นิสิต

คำว่า “นิสิต” นั้นเป็นภาษาบาลี แปลว่า “ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์” เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยภายในสถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลีด้วยจึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสวยทีสุดในโลกอันดับ 2
 
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” สำหรับนิสิตชาย และ “นิสิตา” สำหรับนิสิตหญิง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “นิสิต” เพียงคำเดียว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ก็ก่อตั้งขึ้นโดยที่ค่านิยมภาษาบาลีสันสกฤตยังเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนภายในสถาบันเช่นเดียวกัน จึงใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่แรกเริ่ม
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสวยทีสุดในโลกอันดับ 2
 
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย เริ่มต้นจากการเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร” ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถเปิดสอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา โดยมีสาขาทั่วประเทศ ทั้งสิ้น ๘ แห่งและทุกแห่งก็ใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด ภายหลังวิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง ๘ แห่ง ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด)
และปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (คงสถานะเดิม)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ยุบวิทยาเขต)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา (ยุบวิทยาเขต)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (ยุบวิทยาเขต/ให้สถาบันราชภัฏพระนครเช่าตึกและอาคารเรียนทั้งหมด)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา)
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ)
แม้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแต่ละแห่ง

ได้มีการเปลี่ยนไปด้วยประการต่าง ๆ แต่ทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด

ทุกมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนกล่าวถึงทั้งหมดใช้คำว่า “นิสิต” ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ มีหอพักให้ผู้เรียนอยู่ภายในสถาบัน
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสวยทีสุดในโลกอันดับ 2
 
นักศึกษา


ในสมัยที่ประชาธิปไตยพยายามจะเบ่งบาน มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง (ธรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยกฎหมาย) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน จึงสร้างคำใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็น “ไทย ๆ” มากขึ้น คือคำว่า “นักศึกษา”
มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลาย ๆ แห่ง

แม้จะมีหอพักนักศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนมหาวิทยาลัย “โบราณ” ที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย จึงหันไปใช้คำว่า “นักศึกษา” เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง แต่เดิมก็ใช้คำว่า “นิสิต” แต่ภายหลังอธิการบดีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายแพทย์ ก็ได้เปลี่ยนคำว่า “นิสิต” มาเป็นคำว่า “นักศึกษา” ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำว่า “นิสิต” มาก่อน
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า

๑. สถานศึกษาที่ก่อตั้งมานานจะใช้คำว่านิสิต ก่อตั้งไม่นานใช้คำว่านักศึกษา

๒. สถานศึกษาใดต้องการใช้คำว่านิสิตต้องขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๓. สถานศึกษาใดที่ "เจ้าฟ้า" เสด็จเข้าทรงศึกษาจะเปลี่ยนไปใช้คำว่านิสิตทันที
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสวยทีสุดในโลกอันดับ 2
 


แต่จริง ๆ แล้วจะเห็นได้ว่า

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ใช่น้อยก็ยังใช้คำว่านักศึกษา ในขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้คำว่านิสิตในเบื้องต้นทั้งที่ก่อตั้งมาทีหลัง แสดงว่าเหตุผลที่ ๑ เป็นอันตกไป
ส่วนเหตุผลที่ ๒ นั้นดูแปลกพิกลอยู่

เพียงแค่คำว่า "นิสิต" คำเดียว ถึงกับต้องขอพระราชทานเชียวหรือ ? แล้วอย่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคำว่า "นิสิต" คืนหรือไม่ ?
ส่วนเหตุผลที่ ๓ เป็นเหตุผลที่พิสดารกว่าใคร ๆ

เพราะพบว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยได้ใช้คำว่า "นิสิต" อยู่แล้ว จากนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ไม่ได้เปลี่ยนคำเรียกไปใช้คำว่า "นิสิต" แต่อย่างใด
เรื่องยังไม่จบแค่นี้

สมเด็จพระเทพฯ เป็นผู้มีความวิริยอุตสาหะ ขวนขวายในศิลปวิทยาการทั้งปวงเป็นอย่างมาก จึงเสด็จเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่..โอ้โอ๋กระไรเลย บ่มิเคย ณ ก่อนกาล... มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้คำว่านิสิตมาก่อนหน้านั้นแล้ว เรียกว่าใช้คำนี้มาแต่อ้อนแต่ออกด้วยซ้ำไป
 

http://goo.gl/4iBJO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related