พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พิธีวิสาขบูชา พิธีเข้าพรรษาและออกพรรษา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา พิธีทอดกฐิน พิธีมาฆบูชา https://dmc.tv/a11819

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา > ศาสนพิธีทางศาสนาพุทธ
[ 5 ส.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18381 ]
ศาสนพิธีของศาสนาพุทธ
ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ
 
พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ศาสนพิธีในวันวิสาขบูชา Vesak Day
  
พิธีเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระธรรมกาย
พิธีวิสาขบูชา
 
      ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ประชาชนจะพากันทำบุญตักบาตร  ฟังพระธรรมเทศนาตอนเช้า  ครั้นตอนย่ำค่ำ  ต่างพากันนำดอกไม้ธูปเทียน  เครื่องสักการะไปพร้อมกันที่วัด  เพื่อเวียนเทียน  โดยยืนเบื้องหน้าพระพุทธปฏิมากร  กล่าวคำบูชา  และ  เดินเวียนเทียน  ทำวัตรสวดมนต์  และฟังพระธรรมเทศนาต่อไปจนเสร็จพิธี
 
พิธีเข้าพรรษาและออกพรรษา
  
        ปฐมเหตุที่จะมีประเพณีเข้าพรรษาในพระพุทธศาสนานั้น  ปรารภเหตุจาก  สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ร กรุงราชคฤห์  ในขณะนั้นยังไม่มีการอนุญาตเรื่องจำพรรษา  พระภิกษุสงฆ์จึงนำเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูกาลแม้แต่ในฤดูฝนก็ยังเที่ยวสัญจรไปมา  ทำให้ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวเมืองจนเสียหายประชาชนพากันติเตียน  พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษา 3 เดือน  นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8  จนถึงกลางเดือน 11  ห้ามมิให้ไปพักค้าง ณ ที่อื่น ยกเว้นมีเหตุจำเป็น
 
  
     ถือกันว่าเป็นวันพิเศษในพระพุทธศาสนา  พุทธศาสนิกชนขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนรักษาศีลอุโบสถตลอด 3 เดือน (ไตรมาส)  บางคนไปวัดฟังเทศน์ทั้ง 3 เดือน  บางคนตั้งใจงดเว้นบาปทั้งปวง
 
เข้าพรรษา พระภิกษุอยู่จำพรรษา บำเพ็ญสมณธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 
พระภิกษุสงฆ์เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษาก็ปัดกวาดเสนาสนะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
 
     ส่วนพระภิกษุสงฆ์  เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษา  ก็ปัดกวาดเสนาสนะ  ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งๆ  ขึ้นไปในวันเข้าพรรษา  จะประชุมกันในพระอุโบสถ  ไหว้พระ  สวดมนต์  ทำพิธีเข้าพรรษา(อธิษฐานพรรษา)  แล้วขอขมาต่อกันและกัน  ครั้นในวันถัดไปก็เอาดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระเถรานุเถระต่างวัดซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ
 
  
      พระภิกษุสงฆ์จะทำการปวารณาแทนการทำอุโบสถ  คือ  เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้และเมื่อออกพรรษาแล้วพระภิกษุจะไปค้างแรมที่ใดๆ ก็ได้ตามพุทธานุญาต  สำหรับพุทธศาสนิกชนเมื่อถึงวันออกพรรษาต่างพากันไปทำบุญตักบาตร  รักษาศีล  เจริญภาวนา  ฟังเทศน์ตาวัดวาอารามต่างๆ 
 
พิธีทอดกฐิน
  
     คำว่ากฐิน  คือ  กรอบไม้สำหรับขึงผ้าให้ตึง  เพื่อสะดวกแก่การเย็บผ้า  ซึ่งเรียกว่า  สะดึง
      ผ้ากฐิน  คือ  ผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึงขึงผ้าแล้วช่วยกันเย็บ  เมื่อสำเร็จเป็นรูปแล้วก็ปลดออกจากสะดึง
     การทอดกฐิน  คือ  การทอดผ้าซึ่งเย็บจากไม้สะดึง (แม้ปัจจุบันไม่ได้ใช้ไม้สะดึงแล้วก็ยังเรียกเหมือนเดิม  จึงเป็นความหมายสำหรับพิธีประจำปี)  ระยะเวลาในการอนุญาตให้ทอดกฐินได้  ตามพระวินัยบัญญัติ  คือ  ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  รวมเป็นเวลา 1 เดือน
 
พิธีมาฆบูชา
  
     ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  เป็นวันที่เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  แปลว่าการประชุมที่ประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
ศาสนพิธีในวันมาฆบูชา
 
พิธีจุดมาฆประทีป ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย
 
     1.  วันนั้นเป็นวันเพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์
     2.  พระภิกษุสงฆ์ 1250 รูป  มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
     3.  พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาทั้งสิ้น
     4.  พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุ  คือ  ได้รับการบวชจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงทั้งสิ้น
 
     และวันเพ็ญมาฆะนี้  เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร  (ตกลงพระทัยเพื่อจะปรินิพพาน)  ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์
 
      พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตร  ไปวัดฟังธรรมเทศนา  ส่วนทางวัดก็มีการจัดประทีป  ธูปเทียน  เป็นเครื่องบูชา  บางวัดก็เทศน์สอนตลอดรุ่ง  บางวัดก็จุดมาฆประทีปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่และเมื่อถึงเวลาประกอบพิธี  พระภิกษุสงฆ์และสามเณรตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนต่างเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ  พุทธศาสนิกชนยืนเบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์สามเณร  จุดเทียนธูปประนมมือ  กล่าวคำบูชาพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  และกล่าวถึงกาลกำหนดวันมาฆบูชา  ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์  ในที่ประชุมสงฆ์ ฯลฯ  ต่อจากนั้นก็เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปหรือพระเจดีย์ 3 รอบ  เดินด้วยอาการสงบสำรวม  ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระสังฆคุณ  ด้วยการสวดบท “อิติปิโส ภะคะวา”  จากนั้นพุทธศาสนิกชนก็จะมาประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ  หรือศาลาเพื่อฟังธรรม  ซึ่งบางวัดอาจจะมีการทำวัตรสวดมนต์  หรือนั่งสมาธิ(Meditation)
 
รับชมวิดีโอ
 
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

เพลงธรรมะ ฟังเพลงธรรมะออนไลน์
ศูนย์รวมเพลงธรรมะ สามารถดาว์นโหลดเพลงธรรมะได้ทั้ง Video และ MP3 FREE
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธี ตอนพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 

http://goo.gl/WGQX0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2567 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ