การฝึกสมาธิช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเราให้ดีขึ้นไว้อย่างไร?

ทุกวันนี้ กระแสความนิยมเรื่องการนั่งสมาธิเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ นักกีฬาดัง ๆ ระดับโลก ต่างก็ หันมาฝึกสมาธิกันมากมาย เพราะเชื่อว่าสมาธิจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ในทางพระพุทธศาสนามีคำอธิบายว่า การฝึกสมาธิช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเราให้ดีขึ้นไว้อย่างไร? https://dmc.tv/a20421

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 17 ส.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18280 ]
การฝึกสมาธิ(Meditation)
การฝึกสมาธิช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเรา
ให้ดีขึ้นไว้อย่างไร?

หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
 
 
     ทุกวันนี้ กระแสความนิยมเรื่องการนั่งสมาธิเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ นักกีฬาดัง ๆ ระดับโลก ต่างก็หันมาฝึกสมาธิกันมากมาย เพราะเชื่อว่าสมาธิจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ในทางพระพุทธศาสนามีคำอธิบายว่า การฝึกสมาธิช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเราให้ดีขึ้นไว้อย่างไร?

    ในพระพุทธศาสนามีคำสอนประโยคหนึ่งซึ่งเป็นบทสรุปการดำเนินชีวิตที่ยังอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมว่า เราเป็นผู้ออกแบบชีวิตของเราเอง อนาคตของเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราทำอะไรไว้ในปัจจุบัน เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังอยู่ในมือของเรา อยู่ในความสามารถของเราที่จะทำความดีให้มากเท่าใดก็ได้ เพื่อสร้างอนาคตที่ดี ดังนั้นโลกของเรา อนาคตของเรา จึงอยู่ในมือของเราเอง

     ผู้ที่ฝึกสมาธิมาแล้วในระดับหนึ่ง ย่อมมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับตนเองว่า ใจของเราใสขึ้นสะอาดขึ้น พบความสว่าง ความสงบภายใน

     เมื่อใจใส-สะอาด-สว่าง-สงบแล้ว เวลาจะคิด พูด หรือทำสิ่งใด ก็จะคิดในทางดี คิดในทาง สร้างสรรค์ พูดแต่คำพูดดี ๆ ถนอมน้ำใจ เป็นคำพูดที่สร้างสรรค์ ปลูกความสมานสามัคคี มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ทำในสิ่งดีงาม ทำเรื่องที่สร้างสรรค์
 

     ดังนั้น ผู้ที่ฝึกสมาธิมาแล้ว มีประสบการณ์ใจใสใจสว่างมาแล้ว จะทำให้สมาธิเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในชีวิตประจำวัน ก็ต้องรู้จักรักษาความใสของใจไว้ ต้องใช้ใจใส ๆ ให้เป็นประโยชน์คนที่ยิ่งฝึกสมาธิมาได้ดี มีข้อดีคือไม่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นกับเรา ใจมันบันทึกได้ชัดใสมากกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกมา สิ่งที่ดีใจบันทึกไว้ดีเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจ แต่สิ่งที่ไม่ดีใจก็จำแล้วไม่ลืมเหมือนกันตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวังให้ดี เมื่อได้ของดีก็ต้องรักษาให้เป็น ใช้ให้เป็น

     การรู้จักระมัดระวังใจต้องเริ่มตั้งแต่

     - ระวังการรับสิ่งใดเข้าไปในใจ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับจากทางตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส

     - ระวังการปลดปล่อยสิ่งต่าง ๆ จากใจออกมาทั้งทางความคิด คำพูด และการกระทำ      

     เราต้องเตือนใจเสมอว่า ทุกอย่างมีหลายทางเลือก และต้องเลือกสิ่งที่ดี อย่าปล่อยให้ใจไปข้องแวะกับสิ่งที่ไม่ดีอีก เพราะทุกสิ่งที่เราทำ ทุกคำที่เราพูด ทุกอย่างที่เราคิด ไม่ได้สูญสลายหายไป แต่ถูกเก็บบันทึกเอาไว้กลายเป็นความจำของเราทั้งเรื่องดีและไม่ดี

     ถ้าดีก็จะนำความชุ่มใจมาให้ตลอดชีวิตของเรา แม้ข้ามชาติก็ติดไปได้ ในทำนองเดียวกันอะไรที่ไม่ดีก็บันทึกเอาไว้ แล้วจะทำให้เราขุ่นใจตลอดชาติ ที่หนักกว่านั้นคือติดข้ามชาติไปได้

     สิ่งใดดีหรือไม่ดีก็รู้ได้จากใจของเรา ถ้าสิ่งไหนดี ใจก็ใส สะอาด สว่าง สงบ ถ้าสิ่งไหนไม่ดีใจก็ขุ่น ใจก็หมองมัว

     เพราะใจคนเราทำหน้าที่ทั้งรับสิ่งที่ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส แล้วเก็บจำเอาไว้เป็นข้อมูล และนำสิ่งที่จำได้มาคิดต่อ แล้วเก็บเป็นความรู้ เมื่อใจสั่งให้คิด พูด หรือทำสิ่งใดก็ทำไปตามที่รู้นั้น ทำอะไรไปแล้วใจก็จำได้

     ทำอย่างไรไปมากเข้า คุ้นกับอย่างนั้นมาก มีโอกาสเมื่อไรก็จะทำอย่างนั้นอีก จึงกลายเป็นนิสัย แล้วนิสัยนี้เองที่ควบคุมชีวิตเรา

     เมื่อทำอะไรเป็นนิสัยไปตลอดชีวิต สิ่งนั้นอยู่ในความจำมาก ชีวิตยามใกล้ตายใจนึกถึงอะไรก็นำไปสู่อนาคตอย่างนั้น จำเรื่องทำความดีไว้มากก็นำทางไปสู่สวรรค์ จำเรื่องทำความชั่ว ความเลวก็เปิดประตูไปสู่นรก

     อดีตที่ผ่านมามีความทรงจำจากความผิดพลาดที่เคยทำไม่ดีมา เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ได้แต่ทำใหม่ในสิ่งที่ดี สิ่งที่จะทำต่อไปจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นเราจะต้อง

     - ไม่นึกถึงอีก สิ่งใดที่ไม่ดีที่ผ่านไปแล้วอย่าไปนึกถึงอีก เดี๋ยวจะกลายเป็นการตอกย้ำ  ให้ฝังลึกเข้าไปอีก

     - ไม่ทำอีก อะไรที่ไม่ดีต่อแต่นี้ก็ไม่ทำอีกแล้ว

     หันกลับมาทำความดีมาก ๆ ต่อแต่นี้ไปอะไรเป็นความดีทำเข้าไป ทำให้มากอุปมาเหมือนน้ำในแก้วน้ำใบหนึ่ง เติมเกลือลงไปสัก ๕ ช้อนชา น้ำในแก้วนั้นก็เค็มในระดับเกลือ ๕ ช้อนชา ถ้าเราถ่ายน้ำในแก้วน้ำมาใส่ในขันน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็มขัน ความเค็มก็จะลดลงมา เพราะว่าในขันมีน้ำมากกว่า แต่กระนั้นน้ำก็ยังเค็มอยู่ เพราะเกลือยังมีอยู่ คราวนี้เปลี่ยนเอาน้ำในขันไปใส่ในคูลเลอร์น้ำ เติมน้ำให้เต็มคูลเลอร์ ถึงตอนนี้น้ำในคูลเลอร์ก็มีรสกร่อย ๆ พอดื่มได้ แต่ถ้าเราเทน้ำจากคูลเลอร์ลงในสระน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็มสระ น้ำนั้นก็จะกลายเป็นน้ำจืดสนิทไป

     อดีตที่ผิดพลาดเหมือนกับเกลือที่เติมไปในน้ำ เป็นความทรงจำที่ไม่ดี ที่ติดตามตัวเราไปทุกหนทุกแห่งแม้ข้ามชาติ แต่ถ้าเราหมั่นเติมแต่ความดีเรื่อยไป เหมือนเติมน้ำจากแก้วน้ำจนเป็นสระน้ำ ความทรงจำแห่งความดีก็จะท่วมท้นและส่งผลให้แก่ชีวิตของเราก่อน

     การหมั่นนึกถึงสิ่งที่ใส ๆ สว่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดวงแก้วใส ๆ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวน้อย ๆ เป็นประจำ ก็เหมือนเป็นการบันทึกแต่ความใสเอาไว้ บันทึกความสว่างเอาไว้พอหมั่นนึกถึงความใสความสว่างเป็นประจำ ใจจะคุ้นกับความใส ใจจะใสได้ง่าย สิ่งที่เกิดขึ้นในใจคือ จะทำให้ใจไม่อยากคิดเรื่องไม่ดี ไม่อยากพูดไม่ดี ไม่อยากทำไม่ดี แต่อยากจะคิดเรื่องดี พูดเรื่องดี และทำเรื่องดี ๆ เข้ามาแทน

     ความดีเริ่มต้นจากคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราใส่ใจเขา สิ่งใดหรืออะไรที่ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเราเพราะเราจะเดือดร้อน ก็จะไม่ไปทำกับคนอื่นเขา เพราะเขาก็ไม่ชอบความเดือดร้อนเช่นกันกับเรา

     ขอให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง สิ่งใดที่ทำแล้วกาย วาจา ใจของเราสะอาด กลับมานั่งสมาธิแล้วใจใส สว่าง สงบ สิ่งนั้นดี ทำให้มาก สิ่งใดที่ทำแล้วใจขุ่น นั่งสมาธิไม่ได้ ใจร้อนรนฟุ้งซ่าน สิ่งนั้นไม่ดีให้เลิกทำได้แล้ว

     เมื่อเรารู้และเข้าใจการทำงานของใจดีอย่างนี้แล้ว อีกทั้งได้ประสบด้วยตนเองว่า สมาธิฝึกใจเราให้ใสได้ เราก็ออกแบบชีวิตใหม่ที่ดีได้ โดยหมั่นฝึกสมาธิให้เต็มที่ แบ่งเวลาทุกวันให้กับการฝึกสมาธิ และเวลาทำการงานอะไรก็ตาม มีเวลาว่างสัก ๓ นาที ๕ นาที ก็ให้หมั่นนึกถึงดวงแก้ว หมั่นนึกถึงความสว่าง ความใส จะเป็นดวงดาว ดวงจันทร์ ก็ได้ นึกถึงความสว่างเข้าไว้ความมืดจะได้ไม่คลุมใจ แม้สิ่งแวดล้อมรอบข้างจะไม่อำนวยเท่าไร เพราะบางทีมันก็เลือกไม่ได้ก็ให้ตั้งใจฝึกกันไป

     ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่อธิบายมาตามลำดับนี้ การที่เราเห็นผู้ที่ฝึกสมาธิแล้วชีวิตของเขาดีขึ้นตามลำดับ ๆ ก็เป็นเพราะว่าหลังจากฝึกสมาธิแล้ว เขาสามารถระมัดระวังรักษาใจที่ใส-สะอาด-สว่าง-สงบ อันเป็นผลที่เกิดจากสมาธิต่อไปได้ ด้วยการขยันทำความดีใหม่ให้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไป หลีกเลี่ยงละเว้นโอกาสทำความชั่วทุกชนิด และพยายามกลั่นใจรักษาใจให้ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปในทุก ๆ สถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันนั่นเอง
 






พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related