นิสัย-ความสามัคคี-หลวงพ่อตอบปัญหา

นิสัยของคนเราทั้งดีและไม่ดี เกิดขี้นมาได้อย่างไร,เราจะฝึกลูกหลานของเราอย่างไรให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด,จะทำอย่างไรดี ให้คนในชาติของเรามีความสามัคคีกัน https://dmc.tv/a7921

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 1 ก.ย. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
คำถาม: หลวงพ่อเจ้าขา คนเรานั้นมีนิสัยแตกต่างกัน บางคนก็นิสัยดี บางคนก็นิสัยไม่ดี อยากกราบเรียนถามว่า นิสัยของคนเราทั้งดีและไม่ดี เกิดขี้นมาได้อย่างไรเจ้าคะ

คำตอบ: เจริญพร นิสัยไม่ว่าดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจากการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำของตัวเอง นิสัยใครก็ขึ้นอยู่กับการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำของผู้นั้น
 
            ถ้าในขณะที่ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ มีทัศนคติและวิธีการในการย้ำนั้นในทางที่ถูกที่ควร ก็จะได้นิสัยดีๆ ถ้าย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเรื่องไม่ดี ทัศนคติไม่ดี ก็จะได้นิสัยไม่ดีติดตัว มีเรื่องใหญ่ๆ ที่มนุษย์ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ตลอดชีวิตอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย หนีไม่พ้น
 
            เรื่องที่ 1. เรื่องของปัจจัย 4 คือเรื่องเกี่ยวกับการหล่อเลี้ยงชีวิตของตัวเอง 4 อย่าง ตั้งแต่เรื่องอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย รวมถึงการรักษาสุขภาพของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ พระเรียกว่าปัจจัย 4
 
            เรื่องที่ 2. คือกิจวัตรประจำวันของเรา เช่นการนอน การตื่น การอาบน้ำ แปรงฟัน
 
            เรื่องที่ 3. คือเรื่องการงานในอาชีพของตัวเอง ถ้าเป็นงานการประเภทสัมมาทิฏฐิคือเลี้ยงชีพ ทำมาหากินในทางที่ชอบ แววที่นิสัยดีก็จะเกิดขึ้นมา แต่ถ้าเลี้ยงชีวิตในทางไม่ชอบ มีอาชีพในทางขโมยเขากิน เราเดาได้นิสัยจะเป็นอย่างไร
เรื่องที่ 4. คือเรื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมของเขา ไม่ว่าสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นคนหรือเป็นธรรมชาติก็ตาม เช่น รอบบ้านเป็นสลัม เช้าขึ้นมาก็มีเสียง วุ่นวาย นิสัยก็จะเป็นไปอย่างหนึ่ง กับบ้านที่อยู่ท่ามกลางคนที่ชอบไปวัดปฏิบัติธรรม นิสัยก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง
 
            ตัวอย่างนิสัยที่เกิดจากปัจจัย 4 คือเรื่องอาหารก่อน บ้านไหนแค่พ่อแม่มีทัศนคติว่า คนเรากินเพื่ออยู่ นิสัยก็จะไปอย่างหนึ่ง คือมีนิสัยประหยัด รักที่จะทำความดี ถ้าอีกบ้านหนึ่งมีทัศนคติ อยู่เพื่อกิน นี่คือเตรียมกินบ้านกินเมือง เตรียมโกง ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องอาหารก็ทำให้เกิดเป็นนิสัยคนขึ้นมาได้
 
            วิธีกินอาหารก็เหมือนกัน บ้านไหนพ่อแม่ลูกกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา บ้านนั้นจะรักกัน นิสัยเป็นห่วงเป็นใยซึ่งกันและกันจะเกิดขึ้น บ้านไหนถึงเวลาจะกินข้าว ใครหิวก็กินก่อน ใครยังไม่หิวก็ตัวใครตัวมัน ลูกหลายคน กินข้าวไม่เคยตรงเวลากับคุณพ่อคุณแม่ ลูกเหล่านี้ไม่รักกันเลย เพราะว่าตัวใครตัวมันตั้งแต่แรกแล้ว นี้เป็นตัวอย่าง
 
            เรื่องเสื้อผ้าก็เหมือนกัน บ้านไหนมีทัศนคติว่า เสื้อผ้าใช้เพื่อกันแดด กันลม กันฝน กันร้อน กันหนาว กันอาย พวกนี้เขาจะมีนิสัยไม่ชอบฟุ่มเฟือยมาตั้งแต่เล็ก มันติดมาจากทัศนคติตรงนี้ แต่ว่าถ้าบ้านไหน แต่งตัวนอกจากมันต้องเด่นต้องดังแล้ว ต้องตามแฟชั่นให้ทัน พวกนี้ก็จะได้นิสัยไปอีกอย่าง คือนิสัยตามกระแสโลก ไม่เป็นตัวของตัวเอง นี่จากเสื้อผ้าก็เป็นนิสัย
 
            จากที่อยู่อาศัยก็เป็นนิสัยได้เหมือนกัน ลูกที่ตื่นนอนขึ้นมาเก็บผ้าห่ม ที่นอน ปัดกวาดบ้านถูห้องนอนช่วยแม่ ก็จะได้นิสัยรับผิดชอบมาตั้งแต่เล็ก ถ้านอน ตื่นขึ้นมาไม่เคยเก็บที่นอน นี่ไม่รับผิดชอบแม้กระทั่งตัวเอง
 
            ในเรื่องของการรักษาสุขภาพ ถ้าพ่อแม่รักษาสุขภาพดี สอนให้กับลูกตั้งแต่เล็ก ลูกก็ปฏิบัติตามตั้งแต่แปรงฟันให้ถูกส่วน อาบน้ำให้เป็น เหล่านี้เป็นต้น
 
            สิ่งเหล่านี้ มันถูกย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ แล้วก็กลายเป็นนิสัย อย่างอื่น กิจวัตรประจำวัน อาชีพ สิ่งแวดล้อม ก็ล้วนแต่ย้ำคิด ย้ำทำ ทั้งนั้น แล้วก็กลายเป็นนิสัยคน คือถ้าย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ด้วยทัศนคติที่ดี จะได้นิสัยดี ถ้าย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ด้วยทัศนคติไม่ดี นิสัยไม่ดีก็เกิดมาจากข้าวแต่ละคำ น้ำแต่ละอึก นมแต่ละอิ่ม ทีวีที่ดูแต่ละครั้งทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็เลือกย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ แต่สิ่งที่ดีๆ อย่างนั้น
 
คำถาม: หลวงพ่อเจ้าขา เราจะฝึกลูกหลานของเราอย่างไร เพื่อว่าเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดเจ้าคะ

คำตอบ: เจริญพร ในเรื่องของความมีระเบียบ มีวินัยที่เคร่งครัด เรื่องนี้เป็นเรื่องของนิสัย เมื่อเป็นเรื่องของนิสัย ก็จะเกิดจากการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ เป็นประจำอีกเหมือนกัน นั่นคือเมื่อเราเห็นคุณค่าของความมีวินัย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลานเรา ของประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ตลอดจนพระศาสนาแล้ว นับเป็นสิ่งที่ดีที่คิดจะฝึกให้ลูกหลานมีวินัยตั้งแต่เล็ก ไม่ใช่ไปบังคับกันตอนโต
 
            วินัยไม่ว่าเรื่องอะไร ล้วนต้องเริ่มจากบ้านทั้งนั้น ให้ลูกหลานของเรา ฝึกวินัยกับตัวเองเสียก่อน จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนกระทั่งถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่วินัยในเรื่องของการกิน การนอน การใช้เสื้อผ้า การปัดกวาดเช็ดถูบ้าน กระทั่งวินัยในการใช้ห้องน้ำสารพัด เราต้องฝึกจากตรงนี้ก่อน เมื่อเราฝึกวินัยจากน้อยไปหาใหญ่ให้เขาได้ ลูกหลานเราจะมีวินัยเคร่งครัดเมื่อโต หลวงพ่อจะยกตัวอย่างให้ฟัง
 
            ในกรณีที่ 1. เราฝึกลูกหลานของเรา ให้เป็นคนนอนตรงเวลา นอนหัวค่ำ ไม่ให้เกิน 4 ทุ่ม แล้วก็ตื่นแต่เช้ามืด ประเภทนอนเที่ยงคืนแล้วตื่นสาย ตรงนั้นพลาดแล้ว นั่นคือไม่มีวินัย เพราะถ้านอนดึก ตอนเช้ามันไม่อยากตื่น ถึงเวลาจะตื่น มันก็รู้ตัว มันก็ไม่ยอมตื่น วินัยในเรื่องเวลาก็เสียไปแล้ว
 
            ตรงกันข้าม ถ้านอนสัก 4 ทุ่ม ตื่นเช้ามืด ลูกหลานเราจะเป็นคนที่ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเขานอนเต็มอิ่ม พอลุกขึ้นมาก็พร้อมที่จะเตรียมตัวไปรับงาน คือการเรียน งานคืองานที่จะต้องช่วยพ่อแม่ในบ้าน หรืองาน คือออกไปทำงานนอกบ้านก็ตามที ลูกหลานของเราจะกลายเป็นคนที่มีวินัย ในเรื่องเวลาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
 
            นอกจากเวลาในเรื่องของการนอน การตื่น เวลาในเรื่องของการกินอาหาร ก็เช่นกัน แม้เมื่อคืนมีงานดึก นอนดึกเป็นพิเศษ แต่ถึงอย่างนั้น ตอนนี้ถึงเวลาตื่น ลูกต้องตื่น เวลานี้ถึงเวลารับประทานอาหารเช้า ลูกก็ต้องมากินข้าวพร้อมๆ กัน ถ้ามันเพลียจริงๆ ย้อนกลับไปนอนใหม่ได้ แต่ว่าถ้าลูกไม่ตื่น ลูกก็จะเสีย ทั้งเวลา ผิดทั้งเวลาตื่น ผิดทั้งเวลาอาหาร แล้วอย่างอื่นมันจะผิดรวนไปหมด เมื่อเวลานอน เวลากินก็ตรงเวลา เพราะฉะนั้นเวลาไปโรงเรียน เวลาทำการบ้าน มันก็จะตรงเวลา ถ้าปล่อยให้ลูกนอนดึกแล้ว การบ้านไม่ได้ทำ อย่างอื่นก็รวน ก็ตามไปด้วยขี้เกียจไปโรงเรียน หนีเรียน แล้วก็ตามไปด้วยคบเพื่อนเกเร ฝึกวินัยเรื่องเวลาที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 เวลากิน เวลานอน เวลาตื่น เวลาซักเสื้อผ้า เวลาที่จะต้องไปช่วยกันทำงานบ้าน แม้เวลานอน เวลาสวดมนต์ สวดมนต์เสร็จ เวลานี้เป็นเวลาที่มากราบขอพรจากพ่อแม่ก่อนนอน ทุกอย่างกำหนดเวลาลงไปให้หมด
 
            สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องเคี่ยวเข็ญให้เป็นวินัยให้ดี โดยย่อวินัยหลักๆ ไว้ คือวินัยในเรื่องเวลา กับวินัยในเรื่องของการใช้เงิน ถ้าเราฝึกวินัย 2 เรื่องนี้ได้ดี เรื่องอื่นๆ มันจะถูกปรับลงตัวไปโดยไม่น่าเชื่อ แล้วก็ เราก็จะได้ลูกประเภทที่เป็นคนตรงไปตรงมาอีก เพราะว่าถ้าคนไม่ตรงเวลา คนใช้เงินไม่เป็น เขาจะมีเรื่องโกหกไปได้เยอะแยะ มีเรื่องแก้ตัวไปได้สารพัด นั่นก็คือไม่มีวินัย แต่ถ้าเราฝึกเอาไว้เลย เรื่องเวลา เรื่องการใช้เงิน หรือกำหนดงบประมาณชัดเจน สิ่งเหล่านี้ที่เราฝึกมาดี ในที่สุดจะกลายเป็นวินัยติดตัวลูกเราไป แม้เป็นผู้ใหญ่ขนาดไหน เขาก็จะมีวินัยเคร่งครัดในทุกเรื่องราวตามมาด้วย
 
คำถาม: หลวงพ่อเจ้าขา ในสังคมมีการกระทบกระทั่งกันมาก ทำให้แตกความสามัคคีจะทำอย่างไรดี ให้คนในชาติของเรามีความสามัคคีกันเจ้าคะ
 
คำตอบ: เรื่องของความสามัคคีของคนในชาติ เราร้องหากันมานาน แต่ว่ามีแต่ผู้ร้องหา ไม่มีร้องเรียกให้มาช่วยกันทำ เพราะเราไม่พยายามเจาะเข้าไปว่า ที่ขาดความสามัคคีมันมาจากอะไรกัน?

            ข้อที่ 1. เรื่องผลประโยชน์ ในโลกนี้มนุษย์ส่วนมากคิดแต่จะเอา ไม่ค่อยคิดจะให้ เมื่อคิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้ มันก็ไม่ต่างกับนกกาเท่าไหร่ นกกาตื่นเช้ามันก็ร้องตามเสียงสำเนียงมัน มันชวนกันไปหากิน คือชวนกันไปเพื่อเอา ไม่ใช่ชวนกันไปเพื่อให้ นี่คือเรื่องที่หนึ่ง ที่มนุษย์ถ้าไม่ระวังตัว พฤติกรรมของมนุษย์ก็ตกลงไปเช่นเดียวกับสัตว์อีกเหมือนกัน
 
            เรื่องที่ 2. มนุษย์ส่วนมากมักจะไม่มีวินัย คือเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ นิสัยไม่ดี นิสัยเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่นิสัยรักวินัยเคร่งครัดต่อวินัย มันก็เลยเป็นที่มาแห่งการกระทบกระทั่งกันอย่างมาก
 
            เรื่องที่ 3. ที่มนุษย์เสียหายมาก ทำให้เกิดความแตกแยกคือ ขาดความเคารพเกรงใจกัน มีแต่คอยจะจับผิดกัน จับถูกนี่หายาก มีแต่จับผิดกันตั้งแต่เช้า ตื่นขึ้นมาก็จะได้เห็นแต่การจับผิดกัน เช่น เช้าขึ้นมาถ้าเปิดวิทยุ ก็จะมีเสียงวิจารณ์จับผิดกัน จับผิดใครต่อใครตั้งแต่เช้ามืด นั่นคือเสียงไม่เป็นมงคลมาแล้ว เสียง ภาพที่ได้ยินได้เห็น มันไม่ค่อยจะช่วยให้มนุษย์คิดถึงความดีของกันและกัน มีแต่จะจับผิดกัน ก็เลยขาดความเคารพ ขาดความเกรงใจกัน จากนั้นความถนอมน้ำใจก็ไม่มี และความแตกแยกก็ตามมา
 
            สิ่งเหล่านี้ ปู่ย่าตาทวดของเราสอนเอาไว้ แก้เอาไว้ให้แล้ว แต่ว่าพวกเรามักจะมองว่าสิ่งที่ท่านทำ ท่านสอนเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว แต่เราควรนำกลับมายึดทำตามท่านนะ
 
            ข้อแรก มนุษย์คิดแต่จะเอาประโยชน์เข้าตัว เช่นเดียวกับนกกา เพื่อป้องกันสิ่งนี้เกิดขึ้น แทนที่คิดจะไปโกยเอาเข้ามา รีบให้เสียก่อนเลย เช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งกินข้าว รีบให้เสียก่อน ไปตักบาตรเสียก่อน ตักบาตรกับพระที่ผ่านหน้าบ้านเรา ท่านเดินผ่านหน้าบ้านมาบิณฑบาต รีบให้ซะ พระในบ้านด้วย คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ผู้เฒ่าที่อยู่ในบ้าน เมื่อเราเล็กๆ ท่านให้เรากินก่อน ตอนนี้ท่านแก่แล้ว ก่อนเราจะกิน ควรจัดให้ท่านอีกเหมือนกัน นี้คือเช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ให้ทานกับพระในบ้าน พระนอกบ้านก็ตามที อย่าเพิ่งกินข้าว ให้เสียก่อน แล้วเราจะไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ นี้ก็เป็นที่มาแห่งความสามัคคีของคนในชาติ ขั้นที่ 1.
 
            ประการที่ 2. พยายามรักษาศีลของเราให้ดี เคร่งครัดในศีลให้ได้ และเมื่อเคร่งครัดในศีล 5 ได้ เราก็จะรู้ว่าในบรรดาศีลทั้ง 5 ข้อ ที่รักษายากที่สุดคือศีลข้อที่ 4 คือการที่จะพูดจริง พูดตรงประเด็นนี่ยาก เมื่อเขาผ่านตรงนี้ได้ เขาจะกลายเป็นคนที่เคร่งครัดในวินัยเรื่องอื่นๆ ตามมาโดยอัตโนมัติ
 
            เพราะฉะนั้นปู่ย่าตาทวดท่านบอกไว้เลยว่า วันใดถ้ายังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน เมื่อทำอย่างที่ท่านว่าไว้ ก่อนจะออกจากบ้าน ไปสัญญากับหลวงพ่อ หลวงปู่บนหิ้งนั้น ว่าวันนี้จะรักษาศีล 5 ให้ดี สัญญาแล้วค่อยจากบ้านไปทำงานกันไป ถ้าอย่างนี้ความมีวินัยมันจะเกิดขึ้นอยู่ในตัวของเราโดยอัตโนมัติ แล้วความเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ มันก็จะคลายไป ก็เป็นที่มาแห่งความสามัคคีประการที่ 2.
 
            ประการที่ ๓. เนื่องจากมนุษย์คอยจะจับผิดกันตั้งแต่เช้า จนกระทั่งเข้านอน ท่านก็เลยบอกไว้ว่า ก่อนนอนสวดมนต์ไหว้พระก่อน กราบพระเสร็จ นั่งสมาธิ(Meditation) ใจมันจะเป็นกลาง เมื่อใจเป็นกลางแล้ว นอกจากจะไม่คิดจับผิดใคร มันคิดจับถูกจับดีเสียแทน ทำให้คิดได้ว่าพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์องค์เจ้า พระพุทธศาสนา มีคุณกับตัวเราอย่างไร ก่อนนอนขอให้นึกถึงความดีของมนุษย์ทั้งโลก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราทั้ง 6 ทิศ เมื่อนึกถึงความดีอย่างนี้ พลังใจที่จะสร้างความดีตาม หรือปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่งขึ้นมันจะเกิด

            เพราะฉะนั้นบทสรุปก็คือ เช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งกินข้าว วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นก็อย่าเพิ่งออกจากบ้าน คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์ภาวนา ยังไม่นึกถึงความดีของคนรอบด้าน คืนนั้นก็อย่าเพิ่งนอน ทำ 3 ประการนี้ ความสามัคคีจะเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้าในผืนแผ่นดินไทย 
 
 

http://goo.gl/PKgbv


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related