ความหมายของคำว่าบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ คืออะไร

การถวายทาน ถ้าจะให้ได้บุญมาก ทั้งผู้ถวายและพระภิกษุผู้รับจะต้องมีความบริสุทธิ์ทั้งกาย และใจ ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าไรก็ยิ่งบุญมากเท่านั้น https://dmc.tv/a11949

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 18 ส.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18319 ]

คำถาม:  ที่ว่าบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ หมายถึงอะไร เวลาถวายของพระมักได้ยินอยู่บ่อยๆ ?

 
คำตอบ:  การถวายทาน ถ้าจะให้ได้บุญมาก ทั้งผู้ถวายและพระภิกษุผู้รับจะต้องมีความบริสุทธิ์ทั้งกาย และใจ ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าไรก็ยิ่งบุญมากเท่านั้น
 
ความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าไรก็ยิ่งบุญมากเท่านั้น
ความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าไรก็ยิ่งบุญมากเท่านั้น
 
        ความบริสุทธิ์กายนั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้คนทั้งหลายถึงแม้ว่าจะอาบน้ำวันละพันครั้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าวันละพันหนก็ยังไม่ชื่อว่าบริสุทธิ์กาย ผู้ที่จะบริสุทธิ์ได้ต้อง
 
        ๑. ไม่ฆ่าสัตว์
        ๒. ไม่ลักทรัพย์
        ๓. ไม่เจ้าชู้
 
        ผู้บริสุทธิ์วาจา ท่านก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า ถึงจะแปรงฟันวันละพันครั้ง อมยาอมวันละพันหน ก็ไม่สามารถทำให้วาจาบริสุทธิ์ได้ ผู้ที่วาจาบริสุทธิ์ต้อง
 
        ๑. ไม่พูดโกหก
        ๒. ไม่พูดคำหยาบ
        ๓. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
        ๔. ไม่พูดส่อเสียด
 
        ถ้าลักษณะคำพูดมีครบ ๔ อย่างนี้จึงจะถือว่ามีวาจาบริสุทธิ์จริงหรือพูดภาษาชาวบ้านว่าปากสะอาดได้ โดยไม่ต้องอมอะไรต่ออะไรทั้งนั้นแหละ
 
        ส่วนผู้ที่จะนับได้ว่ามีใจบริสุทธิ์ ก็ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่อไปนี้
 
        ๑. ไม่โลภ อยากได้ของคนอื่น
        ๒. ไม่พยาบาท ปองร้ายใคร
        ๓. ไม่คิดผิดทำนองคลองธรรม
 
        ถ้าครบ ๓ อย่างนี้ ใจสะอาดก็บริสุทธิ์ได้ การถวายทานแต่ละครั้ง ถ้ามีผู้กล่าวนำให้ใจเราน้อมไปในบุญกุศลเต็มที่ บุญจะเกิดขึ้นในใจทันทีก่อนถวายทานเสียด้วยซ้ำ พอพระท่านรับและอนุโมทนาบุญ บุญก็เกิดทับทวีขึ้นอีก วัดโดยทั่ว ๆ ไปจึงมักมีพิธีกรกล่าวนำอย่างนั้น
 

คำถาม:  ศีล แปลว่าอะไร ถ้าคน ๆ นั้นมีความบริสุทธิ์เป็นปกติ ถามว่าจำเป็นต้องรักษาศีลหรือไม่ ?

คำตอบ:  ศีล คือข้อบัญญัติที่กำหนดความประพฤติตามปกติ ทางกายและวาจาของบุคคลในพระพุทธศาสนา
 
เราควรตั้งใจรักษาศีลให้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ให้ได้เป็นปกติ
เราควรตั้งใจรักษาศีลให้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ให้ได้เป็นปกติ
 
        คนที่มีความประพฤติดี มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ เป็นปกติแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศว่ารักษาศีล เพราะว่าเขามีศีลอยู่ในตัวแล้ว แต่คนที่อ้างว่าเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นปกติน่ะอยู่ที่ไหน ขอดูหน้าหน่อยซิ
 
        เพราะโดยทั่วไปแล้วคนที่มีแต่ความบริสุทธิ์เป็นปกติ คือ บริสุทธิ์ตลอดเวลา มีอยู่ประเภทเดียวคือ พระอรหันต์ ชาวบ้านหรือแม้ที่สุดเป็นพระภิกษุก็ยังบริสุทธิ์ไม่พอเพราะฉะนั้นจึงต้องประคับประคองตั้งใจรักษาศีลกันต่อไป
 
คำถาม:  การรักษาศีล ๕ ดูเหมือนง่าย ผมสังเกตตัวเองที่เคยตั้งใจรักษาศีล ๕ ข้อให้ครบหลายครั้ง แต่ไม่เคยรักษาได้ครบสักวัน ขาดเป็นบางข้อบางวันอยู่ตลอด หลวงพ่อมีวิธีการอย่างไรครับ ที่จะฝึกรักษาศีล ๕ ให้ได้ตลอดทั้งวัน?
 
ฝึกรักษาศีลให้ได้ตลอดทั้งวัน
ฝึกรักษาศีลให้ได้ตลอดทั้งวัน
 
คำตอบ:  เมื่อตอนที่หลวงพ่อเริ่มต้นคิดจะรักษาศีล ๕ ให้ได้ ก็ต้องตัดสินใจเลิกอบายมุขทั้งหมดก่อน อบายมุขมีอะไรบ้าง ?
 
        ๑. ดื่มน้ำเมา                                                     
        ๒. เที่ยวกลางคืน
        ๓. เที่ยวดูการละเล่น                                       
        ๔. เล่นการพนัน
        ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร                                      
        ๖. เกียจคร้านในการทำงาน
 
        ทั้ง ๖ ประการนี้ คืออบายมุข เป็นเหตุแห่งความพินาศฉิบหายใน ๖ ประการนี้การคบคนชั่วเป็นมิตรเป็นข้อที่อันตรายที่สุด เพราะนำความฉิบหายมาให้มากที่สุด
 
        ตอนนั้นถึงแม้ว่าจะเลิกอบายมุขได้เด็ดขาดแล้ว แต่ว่าศีล ๕ ยังกะพร่องกะแพร่งอยู่ ก็พยายามที่รักษาศีล ๕ ให้ได้ พยายามอยู่หลายวิธี ในที่สุดก็หาวิธีเฉพาะของตัวเองได้ ถ้าใครยังหาวิธีเริ่มต้นในการรักษาศีลไม่ได้ จะลองนำวิธีของหลวงพ่อไปใช้ดูก็ได้นะ คือย่างนี้
 
        ตามธรรมดาคนไทยที่เป็นชาวพุทธ ส่วนมากมักจะมีพระเครื่องห้อยคอกันอยู่แล้ว มีกันคนละองค์บ้าง คนละพวงบ้างหรืออย่างน้อย ถ้าไม่มีพระห้อยคอก็ต้องมีพระพุทธรูปอยู่ที่บ้าน
 
        หลวงพ่อเองมีพระเครื่องห้อยคออยู่องค์หนึ่ง เมื่อตั้งใจจะรักษาศีล ๕ ให้ได้ ก็ทำง่าย ๆ คือทุกเช้าก่อนจะออกจากบ้าน ก็อาราธนาพระใส่มือไว้ แล้วตั้งนโม ๓ จบ “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ” พอครบ ๓ จบ แล้วก็สัญญากับหลวงพ่อที่อยู่ในมือว่า
 
        ปาณาติปาตา เวระมณี วันนี้หัวเด็ดตีนขาด ไม่ฆ่าสัตว์ (แต่พรุ่งนี้ยังไม่รู้นะ)
 
        อทินนาทานา เวระมณี วันนี้หัวเด็ดตีนขาด ไม่ขโมย ไม่โกงใครทั้งนั้น
 
        กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี วันนี้ไม่เจ้าชู้เด็ดขาด
 
       มุสาวาทา เวระมณี วันนี้ถ้าพูดต้องจริง ถ้าไม่จริงไม่พูด ใครจะเอามีดมาจ่อคอ ก็ไม่พูดโกหก
 
        สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี วันนี้ไม่ว่าเหล้าไม่ว่าเบียร์ จะไม่ดื่มแม้แต่หยดเดียว จะตายก็ให้ตายไปเลย
 
        ทำเช่นนี้ทุกวัน ๆ แล้วก็ทำได้สำเร็จตลอดวัน ทำติดต่อกันไปได้ประมาณ ๒-๓ เดือนก็เคยชิน ศีลก็อยู่มั่นคง ในที่สุดก็เลยได้มาบวชนี่แหละ ใครยังหาวิธีอื่นไม่ได้ ลองใช้วิธีนี้ดูนะขลังทีเดียว ถ้าทำสำเร็จ หลวงพ่อจะอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

http://goo.gl/WhtTq


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related