ทำไมคำนำหน้าที่ใช้เรียกเจ้าอาวาสแต่ละวัดจึงไม่เหมือนกัน

พระภิกษุโดยทั่วไปไม่มีสมณศักดิ์ ถ้าเป็นเจ้าอาวาสท่านให้เรียกว่าพระอธิการทุกวัด ถ้ามีสมณศักดิ์ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมณศักดิ์ให้แล้วจึงจะมีคำนำหน้า เช่น เป็นพระครู เป็นพระปลัด จนกระทั่งเป็นพระราชาคณะ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ท่านเจ้าคุณ https://dmc.tv/a13200

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 9 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18373 ]
 
 
 

คำถาม: ทำไมเจ้าอาวาสบางวัดจึงใช้คำนำหน้าว่าพระอธิการ ทำไมจึงไม่ใช้ว่าเจ้าคุณ หรือสมเด็จเหมือนบางวัด?

 
คำตอบ: พระภิกษุโดยทั่วไปที่ไม่มีสมณศักดิ์ ถ้าเป็นเจ้าอาวาสท่านให้เรียกว่าพระอธิการ ทุกวัด ถ้ามีสมณศักดิ์ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมณศักดิ์ให้แล้วจึงจะมีคำนำหน้า เช่น เป็นพระครู เป็นพระปลัด จนกระทั่งเป็นพระราชาคณะ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ท่านเจ้าคุณ
 
สมณศักดิ์
สมณศักดิ์
 
        พระราชาคณะหรือเจ้าคุณก็มีระดับอีก เริ่มตั้งแต่เจ้าคุณชั้นต้นหรือ พระราชาคณะชั้นสามัญ ซึ่งท่านเหล่านี้เมื่อตั้งใจทำงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์มากขึ้นๆ ก็ได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะระดับสูงขึ้นไปอีก ท่านเรียกเจ้าคุณชั้นราช หรือพระราชาคณะชั้นราช เช่น พระราชวรมุนี ทั้งประโยคนี่เป็นชื่อตำแหน่งแบบสมณศักดิ์นะ ฉายาจริงของท่านมักเขียนต่อท้ายใส่วงเล็บไว้
 
        เจ้าคุณชั้นราช องค์ไหนที่ตั้งใจทำงาน มีผลงานในการช่วยกิจการสงฆ์มากเป็นพิเศษ จากชั้นราชก็เลื่อนเป้นพระราชาคณะชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี ยกตำแหน่งเดิมให้องค์อื่นเลื่อนขึ้นมาแทน ถ้าเจ้าคุณชั้นเทพตั้งใจช่วยงานของสงฆ์มาอย่างดีเยี่ยมเลย ก็จะได้เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เช่นพระธรรมกิตติวงศ์ จากชั้นธรรมนี่ ถ้ามีความรู้ความสามารถทำงานของคณะสงฆ์มาอย่างดีตลอดก็ได้เป็น พระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ หรือเรียกอีกอย่างว่า รองสมเด็จฯ และจากชั้นรองสมเด็จฯ ในที่สุดก็จะได้เลื่อนเป็นสมเด็จ พระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ หรือสมเด็จพระราชาคณะพระที่ดำรงสมณศักดิ์ถึงชั้นสมเด็จฯ นี้ ในปัจจุบันเหลือไม่กี่องค์แล้ว จากสมเด็จพระราชาคณะ ถ้าองค์ไหนมีความรู้ความสามารถมากที่สุด ก็ได้รับเลือกขึ้นมาสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช
 
        เพราะฉะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสกับสมณศักดิ์ จึงเป็นคนละเรื่องกัน เจ้าอาวาสที่มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญไป จนถึงชั้นธรรม เราเรียกรวมๆ กันว่า “เจ้าคุณ” ถ้าท่านมีสมณศักดิ์ถึงชั้นสมเด็จ เราก็เรียกท่านว่า เจ้าประคุณสมเด็จ อธิบายคร่าวๆ เพียงแค่นี้คงพอเข้าใจนะ
 

คำถาม: สมัยพุทธกาล มีการสวดมนต์ตามบ้านอย่างสมัยนี้หรือเปล่าครับ?

 
คำตอบ: จริงๆ แล้วสมัยพุทธกาลเท่าที่รู้มา ไม่มี แต่ว่ามีเทศน์หรือการกล่าวอนุโมทนาตามบ้านที่นิมนต์พระไปฉันภัตตาหาร มีหลักฐานปรากฎว่ามีกรณีที่ต้องปฏิบัติอย่างนี้อยู่ 2 กรณี คือ
 
การสวดมนต์
การสวดมนต์
 
        กรณีที่ 1 เมื่อมีใครนิมนต์พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุ 500 รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน พอฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการให้พร พระที่จะให้พรก็ขึ้นอยู่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดให้พระภิกษุรูปใดให้พร สมมติว่าทรงให้พระ ก. ให้พร พระรูปอื่นนอกนั้นก็กลับวัดหมดแม้แต่พระองค์ก็เสด็จกลับ ให้พระรูปนั้นให้พรแก่ญาติโยมในบ้าน เพียงรูปเดียว หรือบางทีญาติโยมขอให้พระรูปไหนให้พรก็ระบุไปเลย เช่น หลวงพ่อ ก. เดี๋ยวให้พรพวกกระผมด้วยนะ พอโยมระบุชื่อพระที่จะให้พรแล้ว พระนอกนั้นก็กลับวัด
 
        แต่ภายหลัง ต่อมามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพราะพระภิกษุบางรูปที่เพิ่งบวช อาจถูกญาติโยมระบุชื่อขึ้นมา จะให้ท่านให้พรทันที ท่านให้ไม่ได้หรอก แล้วจะแก้ไขอย่างไร ท่านก็แก้โดยแทนที่จะอยู่ให้พรเพียงองค์เดียว ท่านเปลี่ยนใหม่เป็นว่า ที่มาฉันกี่องค์ๆ นิมนต์ให้พรพร้อมๆ กันเลย เพราะฉะนั้นก็ต้องใช้บทให้พรบทเดียวกัน จึงเกิดธรรมเนียมอย่างนี้ขึ้นมาในภายหลัง
 
        กรณีที่ 2 การสวดมนต์ตามบ้าน อย่างเช่นสวดพระปริตร สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นต้น ที่เราเคยไปฟังกัน เมื่อก่อนนี้เวลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปไหน ไปพบใคร พระองค์ก็เทศน์ให้เขาฟังตามเหตุการณ์ตามจริตของบุคคล ต่อมาภายหลัง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ญาติโยมอยากฟังเทศน์บทที่เคยทรงเทศน์ ก็นิมนต์พระไป
 
        พระท่านก็เลยเอาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สมัยก่อนโน้นมาเรียบเรียง ท่องกันให้ได้ แล้วมาสวดให้โยมฟัง แม้จะได้สาระไม่มากเท่าที่พระพุทธองค์เคยเทศน์ไว้ อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์เป็นการฟื้นความจำ ถ้าโยมไม่เคยฟังมาเลย ก็ถือว่าแทนการเทศน์ก็แล้วกัน แน่นอนว่าการเทศน์ ย่อมจะต้องได้ผลดีกว่าการสวดมนต์
 
        อย่างไรก็ตามในบางครั้งในบางวาระ ถ้าการสวดมนต์ทำได้ง่ายกว่า และเหมาะสมกับสถานที่กว่า ก็เลือกการสวดมนต์แทนการเทศน์ แม้ในสมัยพุทธกาลก็จัดให้เหมาะสมกับกาลเทศะกันไปอย่างนี้

http://goo.gl/vBhar


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related