“อีกไม่นาน เดี๋ยวเขาจะมา”

“อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ ในการทำสมาธิแบบวัชรยานให้หมดแล้วนะ แต่การทำสมาธิของเรายังไม่เหมาะสำหรับทุกคน เป็นการปฏิบัติเฉพาะพระเท่านั้น หรือแม้แต่พระก็ไม่ใช่ทุกรูปด้วย ให้ท่านรอสักหน่อย วันหนึ่งจะมีสมาธิที่ง่าย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์กับชาวโลกอย่างแท้จริงเข้ามา ให้ท่านรอเพื่อที่จะได้เชื่อมต่อ อีกไม่นาน เดี๋ยวเขาจะมา” https://dmc.tv/a2814

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน > > มองโกเลีย
[ 17 ธ.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18264 ]
เปิดบันทึกการเดินทางของเจ้าหญิงมองโกล
ตอน คำสั่งดีของพระอาจารย์ “อีกไม่นาน เดี๋ยวเขาจะมา”
 
    ลูก พ.ญ.วราธิป โอทกานนท์ (หมอติ๊บ) เจ้าหญิงมองโกล ตามที่คุณครูไม่ใหญ่เมตตาแต่งตั้งให้ จากความเดิมตอนที่แล้ว ลูกได้พาควบม้าเหล็กเข้าไปสู่แผ่นดินรัสเซีย ได้พบเห็นเรื่องราวต่างๆมากมาย รวมคำทำนายของท่านฮัมโบ ลามะ ผู้หยั่งรู้อนาคต ทำให้ลูกได้ประจักษ์ถึงอานุภาพของสมาธิ(Meditation) โดยเฉพาะลูกซึ้งกับถ้อยคำที่คุณครูไม่ใหญ่ มักบอกกับลูกๆเสมอว่า “โลกกำลังรอเราอยู่” หมายถึงอะไร โปรดติดตามในบันทึกการเดินทางฉบับนี้ ได้เลยค่ะ
 
    ณ ที่พักอันแสนอบอุ่นในแผ่นดินมองโกเลีย เราได้บ้านพักที่สุดพิเศษ จากโยมพ่อ โยมแม่ ของ พระมุงจากัล เรารู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวท่าน โดยปกติแล้วบ้านเรือนในมองโกเลีย จะมีห้องพระเป็นสัดส่วน ซึ่งคนไทยอาจจะนึกถึงห้องพระกันได้ แต่ห้องพระของมองโกเลีย ไม่เหมือนห้องพระของประเทศไทย บางประการ คือ ห้องพระที่นั่นไม่ได้มีแค่พระพุทธรูป แต่เป็นห้องที่มีพระสงฆ์องค์เป็นๆอยู่จริงๆ พระภิกษุหรือลามะที่มองโกเลีย ส่วนใหญ่แล้ว ท่านจะพักอยู่ที่บ้านกับโยมพ่อ โยมแม่ ซึ่งพระมุงจากาล ก็จะมีห้องพระส่วนตัวของท่านรูปเดียวแยกจากห้องอื่นๆ
 
    ที่นี่อากาศหนาวเย็นมากๆ โยมพ่อ โยมแม่ เป็นห่วง หลวงพี่บุรินทร์ เป็นอย่างมาก เพราะดูจากเครื่องแต่งกายของหลวงพี่แล้ว คงคิดว่า ถ้าท่านอยู่ในสภาพนี้ต่อไปไม่น่าจะรอด ท่านจึงได้ถวายรองเท้าบูทของพระให้ เป็นบูทสีน้ำตาล มีลวดลายเล็กน้อย
 
    เราได้ประจักษ์แจ้งในความจริงอันหนึ่งว่า สุดท้ายแล้วอวัยวะที่ทนหนาวได้ดีที่สุดก็คือ ใบหน้าของเรานี่เองแหละค่ะ ขณะที่อวัยวะอื่นๆไม่ว่าจะมือหรือเท้า เมื่อเจออากาศหนาว เราต้องมีอุปกรณ์เสริมมาห่มให้อุ่น ปิดให้มิดชิด เพราะไม่อย่างนั้นร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไป ทำให้รู้สึกหนาว  แต่ใบหน้ากลับทนทาน โดยเราไม่ต้องหาอะไรมาปกปิดเลย ก็ยังพออยู่ได้ค่ะ
 
    ในครั้งนี้ พระมุงจากาลได้พาเราไปพบกับ ลามะบายาไซกัน เจ้าอาวาสของ วัดอูเจน คามึก โชลิง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองดาฮาน ซึ่งท่านสนใจเรื่องของการนั่งสมาธิมากๆ หลังจากได้พบและสนทนากันชั่วครู่ ลามะบายาไซกัน ก็ได้พาไปดูห้องว่างๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งห้องแห่งนี้มีความน่าสนใจ จนฟังแล้วแทบลืมหายใจ จะว่าเป็นห้องก็ไม่เชิง แต่เป็นอาคารขนาดย่อม จุคนได้เกือบ 60คน...มันไม่ใช่ห้องแห่งความลับหรอกเจ้าค่ะ แต่เป็นห้องแห่งความหวัง ความหวังที่ว่านั้นเป็นเสมือนหนึ่งคำทำนายที่กลายเป็นความจริง
 
    ปฐมเหตุของเรื่องราวได้เกิดขึ้น เมื่อวันหนึ่งพระอาจารย์ของลามะบายาไซกันคือ อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน และเป็นครูสอนสมาธิของนิกายวัชรยาน ซึ่งได้ปฏิบัติสมาธิมา 50กว่าปี พระอาจารย์ ท่านมีความปรารถนาอยากจะสอนให้ชาวมองโกเลียได้ฝึกสมาธิ เพราะเชื่อมั่นว่า จะนำความสุขมาให้ แต่ข้อจำกัดของสมาธิที่ท่านฝึกคือ “ยาก” เป็นวิธีการที่ยากเกินไปสำหรับฆราวาส เพราะเป็นของพระ ท่านจึงคิดที่จะหาสมาธิแบบเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย เพื่อชาวมองโกเลีย (very easy and simple to Mongolia people) แต่ก็ยังไม่พบ
 
    ท่านจึงคัดเลือกศิษย์ขึ้นมา 30คน จากจำนวนหลายร้อยคน เพื่อนำมาฝึกในเรื่องทั่วๆไป  จากนั้นก็คัดให้เหลือเพียง 5คน เพื่อนำมาฝึกสมาธิ โดย 5คนนี้ ได้รับการฝึกสมาธิในแบบต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับ ต่างคนต่างก็ไม่ทราบว่า พระอาจารย์สอนอะไร รู้แต่สิ่งที่ท่านสอนเฉพาะตนเองเท่านั้น
 
    แล้วในที่สุด ลามะบายาไซกันหนึ่งในห้าของผู้ที่ได้รับการฝึกฝนแล้วอย่างดี ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าอาวาสหลังจากพระอาจารย์มรณภาพ และพระอาจารย์ก็ได้บอกกับลามะบายาไซกันว่า...
 
    “อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ ในการทำสมาธิแบบวัชรยานให้หมดแล้วนะ แต่การทำสมาธิของเรายังไม่เหมาะสำหรับทุกคน เป็นการปฏิบัติเฉพาะพระเท่านั้น หรือแม้แต่พระก็ไม่ใช่ทุกรูปด้วย ให้ท่านรอสักหน่อย วันหนึ่งจะมีสมาธิที่ง่าย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์กับชาวโลกอย่างแท้จริงเข้ามา ให้ท่านรอเพื่อที่จะได้เชื่อมต่อ อีกไม่นาน เดี๋ยวเขาจะมา”
 
    จากนั้น ท่านก็ได้สั่งให้สร้างห้องปฏิบัติธรรมเตรียมไว้รอ ที่จะมีคนมาแนะนำการทำสมาธิที่ง่าย และปฏิบัติได้ทุกคน ซึ่งในนิกายวัชรยาน ลามะให้ความเคารพกับคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างมาก เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และปัจจุบันห้องปฏิบัติธรรมที่พระอาจารย์ได้สั่งให้สร้างนั้น ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถจุคนได้กว่า 60คน เหลือเพียงแค่กำลังติดตั้ง ฮีทเตอร์เท่านั้น
 
    ห้องปฏิบัติธรรมที่ว่า คือ ห้องแห่งความหวังที่ลูกได้กล่าวถึงนั่นเอง แล้วลามะบายาไซกันก็ได้กล่าวอีกว่า “อาตมา ตามหาบุคคลที่อาจารย์กล่าวถึงมา กว่า 13ปีแล้ว จนกระทั่งได้มาพบกับพระจากวัดพระธรรมกายนี่แหละ...ใช่เลย”
 
    มีสิ่งที่น่าปลื้มใจ น่ายกย่อง และน่าชื่นชม  ที่อยากนำมาเล่าให้ฟัง คือ ทัศนคติของท่าน ที่มีต่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของพุทธบุตรทั่วโลกต่างนิกาย และการศึกษาในเรื่องของสมาธิ ท่านกล่าวว่า “We are one” (เราเป็นหนึ่งเดียวกัน) เราต้องรวมกันให้เป็นหนึ่ง เพื่อทำงานพระศาสนา นิกายเป็นแค่ชื่อเรียกเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญ คือ เราเป็นพระเหมือนกัน เพราะข้างในของเราเหมือนกัน...
 
    เรามีพ่อเดียวกัน คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้การนุ่งดองครองห่มของพระจะแตกต่างกัน มีนิกายที่ต่างกันออกไป แต่ท่านไม่สน ท่านสนใจแค่เพียงความรู้เรื่องสมาธิที่ง่ายและเป็นสากล ไม่ถูกล็อคด้วยกฎระเบียบประเพณีใดๆ ถ้าทุกคนนั่งได้ประสบการณ์ภายใน ท่านยินดีน้อมรับ
 
    ท่านได้วางแผนสำหรับการสอนสมาธิไว้ว่า ต้องสร้างพระที่เป็นต้นแบบที่ดี และสร้างคนต้นแบบ ค่อยๆฝึกพวกเขาขึ้นมา ให้เรียนวิธีการสอนสมาธิแบบง่ายๆ เพื่อจะได้สอนคนอื่นต่อไปได้
 
    ปัจจุบันสมาธิในมองโกเลีย ไม่ใช่สมาธิแบบดั้งเดิม (Original) และสำนักสอนสมาธิก็ไม่ใช่พุทธทั้งหมด มีฮินดูปะปนมาบ้าง ท่านต้องการสมาธิแบบดั้งเดิมที่เข้าใจง่ายๆ และ พยายามค้นหามานาน และท่านจะทำความฝันของท่านอาจารย์ให้เป็นจริง ด้วยการแนะนำการทำสมาธิให้ชาวมองโกเลีย ด้วยเหตุผลนี้ ท่านมั่นใจว่า “การเลือกวิธีการนั่งสมาธิจากวัดพระธรรมกายไปเป็นต้นแบบ เป็นสิ่งที่เดินมาถูกทางแล้ว”
 
     แล้วท่านก็ถามว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พร้อมที่จะส่งพระ มาที่มองโกเลียได้เมื่อไหร่ เพราะห้องปฏิบัติธรรมมีแล้ว เรื่องอาหารการกิน เรื่องญาติโยม ท่านจัดการให้หมด และในครั้งนี้ที่ท่านมาร่วมงานประชุมยุวสงฆ์โลกที่เมืองไทย ระหว่างวันที่ 11-17 ธันวาคม พ.ศ.2550 นี้ด้วย ท่านก็มีความตั้งใจอยากจะมารับพระภิกษุของวัดพระธรรมกาย ไปมองโกเลียเพื่อแนะนำสมาธิค่ะ เรียกว่า “ถ้าคุณครูไม่ใหญ่เห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต ท่านก็ตั้งใจจะพาหลวงพี่ ควบเรือบินขึ้นเครื่องไปด้วยกันเลยค่ะ”
 
    และนี่ก็เป็นเรื่องราวของมองโกเลียในตอนแรก และตอนต่อไป ลูกมีเรื่องราวการค้นพบบางอย่างอยากจะเล่าให้ฟัง ไม่ใช่เข็มทิศทองคำ ไม่ใช่ขุมทรัพย์อินเดียน่าโจนส์ แต่เป็นฮีทเตอร์ เครื่องปรับอุณหภูมิที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก ฮีทเตอร์ที่ว่านั้นอยู่ที่ไหน ค้นพบได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง โปรดติดตามบันทึกการเดินทางของเจ้าหญิงมองโกล ตอนต่อไปค่ะ
 

http://goo.gl/malJf


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related