พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

ผลจากการช่วยกันรักษา และจดจำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้วิถีชีวิตชาวพุทธในประเทศพม่า ผูกพันอย่างแน่นแฟ้น มีวัฒนธรรมชาวพุทธที่เข้มแข็ง จนทำให้ประเทศพม่าได้ชื่อว่า เป็นประเทศ ที่มีพุทธศาสนิกชนเคร่งครัด ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก https://dmc.tv/a2681

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน > > พม่า
[ 13 พ.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18293 ]
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
 
    ประเทศพม่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา เป็นประเทศที่รวมคนหลากหลายเชื้อชาติ จำนวน 67เชื้อชาติ มีภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นมากถึง 242ภาษา โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่า ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศาสนาประจำชาติของชาวพม่า  คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ในปี พ.ศ.2517 รัฐบาลพม่าได้ประกาศบัญญัติให้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากถึง 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%
 
 
    ชาวพม่าจะนิยมสร้างพระพุทธรูป สร้างพระเจดีย์และสร้างวัดขนาดใหญ่ ทั้งประเทศมีวัดจำนวนทั้งสิ้นกว่า 45,000วัด และมีจำนวนพระภิกษุ สามเณร ทั้งประเทศจำนวนกว่า 5แสนรูป ชาวพม่าจะเคร่งครัดในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ดังจะเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวพม่า ที่ชอบไปวัด นั่งสมาธิ(Meditation) เลื่อมใสและเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม แต่ไม่เชื่องมงายในเรื่องไสยศาสตร์ นิยมถือศีลแปด ทุกวันเกิด คือ ถ้าเกิดวันจันทร์ก็จะงดอาหารเย็นทุกวันจันทร์ ถ้าในวันพระก็จะถืออุโบสถศีล
 
 
 
    การแต่งกายของชาวพม่า จะมีเอกลักษณ์ประจำชาติ คือ ผู้ชายจะนุ่งโสร่ง หรือ ลองจี ลายสก๊อต ยาวตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้า สวมเสื้อเชิ้ตขาวแขนยาว สำหรับผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าถุงหรือผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า และสวมเสื้อแขนกระบอก มีสไบพาดบ่าเวลาไปทำบุญ
 
 
    ชาวพม่าถือธรรมเนียมที่ว่า ผู้ชายทุกคน ต้องได้มีโอกาสครองผ้ากาสาวพัสตร์ และศึกษาธรรมะสักครั้งในชีวิต จึงจะเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ โดยปกติพระภิกษุพม่าจะไม่โกนคิ้ว และฉันมื้อเดียวเท่านั้น แต่บิณฑบาตได้ตลอดทั้งวัน
 
 
    สำหรับผู้หญิงสามารถบวชเป็นแม่ชี โดยการโกนผมแต่ไม่โกนคิ้วเช่นกัน และนุ่งห่มผ้าสีชมพูอ่อน หรือสีส้ม และออกบิณฑบาตตอนรุ่งเช้าได้ เช่นเดียวกันกับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
 
 
 
    ประเทศพม่าจะมีกฎหมายที่เคร่งครัด และเข้มงวดต่อการรักษาวัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงามของชาวพุทธ แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีจะมีน้อยมาก จะมีก็แต่ในโรงแรมใหญ่ๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น สถานที่นัดพบกันของชาวพม่า ก็คือ ที่ร้านน้ำชา หรือที่เราเรียกว่า สภาน้ำชา  ที่คนทุกวัยจะมาใช้บริการ (ไม่ใช่สภากาแฟเหมือนของตะวันตก)
 
 
    สิ่งบันเทิงที่ชาวพม่านิยมกันมากที่สุด คือ การชมภาพยนตร์ แต่ก่อนที่จะนำภาพยนตร์เรื่องใดมาเปิดฉาย จะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งต้องไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของชาวพุทธ จึงจะได้รับอนุญาตให้ฉายได้
 
    ชาวพม่านับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท หรือ หินยานแนวอนุรักษ์นิยม โดยยึดหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคัมภีร์พระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่ พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่3 เมื่อปี พ.ศ.236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแถบประเทศต่างๆ รวม 9สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิ
 
    ในยุคนี้เอง ที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในพม่า เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกไว้ภาษาบาลี และชาวพม่าเชื่อว่า สุวรรณภูมิมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญ อยู่ทางตอนใต้ของพม่าในปัจจุบัน พม่ามี เมืองพุกาม เป็นเมืองหลวง ซึ่งก่อนที่พม่าจะมานับถือพระพุทธศาสนา ชาวพม่าจะนับถือ ผีสางนางไม้ บูชากราบไหว้วิญญาณ หรือภูติ ผี ปีศาจ ซึ่งเรียกกันว่า นัต เหมือนชนชาติอื่นๆในแหลมอินโดจีนลงมาจนถึงอินโดนีเซีย
 
    ในราวปี พ.ศ.1600 พระเจ้าอโนรธา ได้ยกทัพไปตีเมืองมอญ ผลจากสงครามในครั้งนั้น พม่าสามารถรวบรวมเอาเมืองสะเทิมของมอญ กับเมืองพุกามของพม่า รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ ทำให้พม่าได้รับเอาวัฒนธรรมของมอญ มาเป็นของตนเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ตัวอักษร วรรณคดี และศาสนา ภาษาบาลี (ซึ่งมอญใช้มาก่อนพม่า) กลายเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (เพราะมีปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและเป็นภาษาของชนชั้นสูง เช่น ราชาศัพท์ไปด้วย)
 
    พม่ายอมรับตัวหนังสือ มาดัดแปลงแก้ไขเป็นภาษาพม่า และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พม่าจึงได้นับถือพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท และในสมัยนี้ได้มีพระภิกษุจำนวนมากเดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อไปศึกษาธรรมะ และมีชาวพุทธอินเดียจำนวนมาก อพยพลี้ภัยจากพวกมุสลิม และได้นำแบบแผนพุทธเจดีย์จำนวนมากเข้ามาด้วย
 
    พระเจ้าอโนรธา ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆมากมาย ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชาวพม่ากันทั่วทั้งประเทศ กษัตริย์พระองค์ต่อๆมา ได้เจริญตามรอยปฏิปทา ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับพระองค์
 
 
    ต่อมาในปี พ.ศ.2414 เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้น ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่5 (ของฝ่ายเถรวาท) ณ เมืองมัณฑะเล ประเทศพม่า ได้มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในหินอ่อนจำนวน 729แผ่น
  
 
    ผลจากการช่วยกันรักษา และจดจำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้วิถีชีวิตชาวพุทธในประเทศพม่า ผูกพันอย่างแน่นแฟ้น มีวัฒนธรรมชาวพุทธที่เข้มแข็ง จนทำให้ประเทศพม่าได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนเคร่งครัด ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก


http://goo.gl/jgx9O


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related