"ธัมมัสสวนมัย" ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส

“กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง” https://dmc.tv/a21906

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 30 ก.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18292 ]
"ธัมมัสสวนมัย"
ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส

เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙
ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖


“กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง”

 

     ธัมมัสสวนมัย คือบุญที่เกิดจากการฟังธรรม ที่จัดเป็นบุญเพราะช่วยให้เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญ ถ้าตั้งใจฟังธรรมย่อมได้ปัญญา ปัญญาอันเกิดจากจิตที่ผ่องใสจะนำไปสู่การคิดถูก พูดถูก ทำถูก คนที่ฟังธรรมเป็นประจำ  ไม่ว่าจากการฟังเทป วิทยุ หรือจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้ง การอ่านหนังสือธรรมะ ล้วนจัดอยู่ในธัมมัสสวนมัยทั้งสิ้น

     การฟังธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกชีวิต ยิ่งกว่าความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมา เพราะจะทำให้เกิดดวงปัญญาสว่างไสว สามารถพิจารณาเห็น  สิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากอบายภูมิ มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป และถ้าจะให้ได้ประโยชน์มากจากการฟังธรรม  ผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังจริง ๆ มุ่งฟังเอาเนื้อหาสาระเพื่อนำไปปฏิบัติ  บุญกุศลที่เกิดจากการฟังธรรมจึงจะบังเกิดขึ้น

อิ่มธรรม อิ่มบุญ

     สมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับเรื่องนิพพานแก่ภิกษุสงฆ์สาวก วันนั้นมีนางยักษิณีตนหนึ่ง เป็นยักษ์ชั้นล่าง มีชีวิตที่อด ๆ อยาก ๆ  อุ้มอุตราผู้เป็นธิดาและจูงปุนัพพสุผู้เป็นลูกชายแสวงหาอาหารริมกำแพงและริมคูคลองหลังวัด  เมื่อไปถึงซุ้มประตู  นางเห็นพุทธบริษัทสงบนิ่งไม่ไหวติง ฟังธรรมด้วยความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนเปลวประทีปตั้งไว้ในที่ที่ไม่มีลม จึงเกิดความเลื่อมใสพลางคิดว่า ตรงนี้คงจะมีของแจกให้เรากินเพื่อประทังชีวิตได้แน่ คิดดังนี้แล้ว นางก็จูงลูกทั้งสองเข้าไปภายในพระวิหาร ฝ่ายอารักขเทวาซึ่งสิงอยู่ที่ซุ้มประตูเห็นว่า นางยักษ์มาดี ไม่ได้มาร้าย จึงไม่ได้ห้ามนาง
 

     นางยักษ์ได้ฟังพระสุรเสียงอันไพเราะของพระผู้มีพระภาคเจ้า  เสียงนั้นไพเราะจับใจประดุจแทรกเข้าไปจรดเยื่อในกระดูกของนาง ประกอบกับความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวของพุทธบริษัท  ทำให้นางเกิดความเลื่อมใสในหมู่สงฆ์ถึงกับลืมที่จะไปแสวงหาอาหาร บุตรน้อยทั้งสองสะกิดนางยักษิณีผู้ยืนนิ่งไม่ไหวติง แต่นางยักษิณีก็ไม่สนใจ และไม่คิดที่จะแสวงหาอาหารแต่อย่างใด

     นางยืนเงี่ยโสตสดับพระธรรม  ส่วนอุตรา   ผู้เป็นธิดายังเด็กเกินไป  ไม่สนใจในการฟังธรรม เมื่อถูกความหิวเบียดเบียนหนักเข้า จึงเตือนมารดาครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ทำไมแม่จึงยืนนิ่งไม่ไหวติงเหมือนตอไม้  ไม่แสวงหาอาหารมาให้ลูก นางยักษิณีกลัวลูก  จะทำให้นางพลาดโอกาสได้ฟังธรรม จึงปลอบโยนลูกไปว่า

     “นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา เงียบ ๆ ไว้เถิด  ลูกปุนัพพสุ แม่ปรารถนาจะฟังธรรมที่หาได้ยาก  ในโลก ลูกทั้งสองจงเงียบเถิด จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจบ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรื่องนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง  อย่าให้แม่พลาดช่วงเวลาแห่งการฟังธรรมเลยนะลูก”

           ปุนัพพสุแม้จะหิวกระหายแค่ไหน ก็อดทนอดกลั้นเอาไว้ บอกแม่ว่า “แม่จ๋า ฉันไม่รบเร้าแม่อีกแล้ว แม้อุตราน้องสาวของฉันก็จะไม่รบกวนแม่อีก ขอเชิญแม่ฟังธรรมเถิด การฟังพระสัทธรรมเป็นเหตุนำความสุขมาให้ เพราะแต่ก่อนเราไม่รู้พระสัทธรรม จึงต้องมาเสวยทุกข์มีความหิวกระหาย เที่ยวแสวงหาอาหารไปด้วยความยากลำบากเป็นเวลายาวนาน บัดนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม นำความสว่างไสวมาให้แก่เทวดาและมนุษย์ผู้หลงวนอยู่ในกระแสกิเลส ขอแม่ตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาเถิด”

           พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา  ยกเรื่องอริยสัจ ๔ มาแจกแจง ซึ่งได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นางยักษิณีกับบุตรยืนฟังธรรมอยู่ตรงนั้น ได้ส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาในที่สุดก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนธิดาของนางยักษิณี  เนื่องจากยังเป็นเด็กเกินไป ไม่อาจจะเข้าใจพระธรรมเทศนาได้แจ่มแจ้ง แต่ก็ได้อุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมข้ามชาติ
 

     เมื่อนางยักษิณีบรรลุธรรมแล้ว จึงกล่าวชื่นชมบุตรว่า “ดีแล้วจ้ะลูก น่าชื่นใจนัก ลูกของแม่เป็นคนฉลาด ปุนัพพสุเอ๋ย เจ้าจงมีความสุขเถิด  วันนี้เราเป็นผู้ย่างก้าวขึ้นสู่หนทางพระอริยเจ้าแล้ว แม่และลูกเห็นอริยสัจ ๔ เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา  ไม่นานจักได้บรรลุนิพพานอันเกษม การอิ่มธรรมของแม่ยิ่งกว่าอิ่มอาหารมากมายนัก”

     ทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพแห่งการบรรลุเป็นพระโสดาบัน ทำให้นางยักษิณีละจากสภาวะ  อันหยาบกระด้าง กลับได้อัตภาพอันเป็นทิพย์ พร้อมทั้งได้ทิพยสมบัติมากมาย และด้วยอานุภาพบุญที่เกิดจากการบรรลุธรรมของมารดา  ส่งผลให้ลูกผู้มีจิตอนุโมทนาได้ทิพยสมบัติตามนางไปด้วย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นางกับลูกน้อยทั้งสองก็ได้อาศัยอยู่ที่วิมานในต้นไม้ที่อยู่ใกล้พระคันธกุฎีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ฟังธรรมทั้งเช้าเย็นอยู่ในพระวิหารนั้น ทำให้ได้สมบัติอันเป็นทิพย์ละเอียดขึ้นและประณีตขึ้นไปเรื่อย ๆ กลายเป็นยักษ์ผู้ใฝ่ธรรมที่เป็นที่รักที่เกรงใจของยักษ์และเทวดา ซึ่งพากันมาฟังธรรมในยามดึก ๆ เป็นประจำ

     ผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่า  บุคคลใดได้สดับ  พระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลนั้นจะไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป การบรรลุธรรมของนางยักษ์ชั้นล่างทำให้นางเลื่อนเป็นยักษ์ผู้สูงศักดิ์และยังปิดอบายได้อย่างถาวรอีกด้วย  นับเป็นตัวอย่างของผู้ตั้งใจฟังธรรมที่น่าเอาเยี่ยงอย่างยิ่งนัก

ฟังธรรมอย่างไรให้ได้บุญ

     การเป็นนักฟังธรรมที่ดีนั้น เราจะต้องไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่พระเทศน์ว่าง่ายไป ฟังบ่อยแล้ว เพราะธรรมะทุกบท ถ้านำไปปฏิบัติจริง แม้เพียงข้อเดียวก็สามารถทำกิเลสให้หมดได้ และอย่าไปดูแคลนความรู้ของผู้แสดงธรรม ให้มุ่งฟังเอาเนื้อหาสาระเพื่อน้อมนำไปปฏิบัติ ขณะเดียวกัน ก็อย่าดูถูกตัวเองว่าไม่มีบุญพอที่จะฟังธรรมได้  เพราะยังกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่ ถ้าความคิดติดลบเสียแล้ว โอกาสแห่งการฟังธรรมก็หมดไป

     ในการฟังธรรมนั้น  แม้ยังฟังไม่เข้าใจ  อย่างน้อยที่สุดผู้ฟังก็ได้บุญและจะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้า  เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย

     ในขณะฟังธรรม ให้มีใจเป็นสมาธิ(Meditation) ฟังด้วยความตั้งใจ ไม่พูดคุย  ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมาก  ความรู้ความเข้าใจในธรรมะก็มากขึ้น
 

     ในสมัยพุทธกาล พุทธบริษัทมักหลับตา  ทำสมาธิฟังธรรม เพราะหากใจยิ่งละเอียด การไตร่ตรองธรรมตามที่พระท่านแสดงก็จะละเอียดลุ่มลึกตามไปด้วย ทำให้มีผู้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นจำนวนมาก ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ คือผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ย่อมทำความเห็นให้ตรง และจิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส”

     ท่านผู้มีบุญทั้งหลาย เวลาแห่งการฟังธรรมเป็นเวลาที่มีคุณค่ายิ่ง จะช่วยยกใจของเราให้สูงขึ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย เป็นการเพิ่มเติมปัญญาบารมีให้แก่ตัวเราเอง เป็นธรรมาวุธคอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แม้ทุกท่านอาจเคยศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ในทางโลกมามาก แต่ความรู้เหล่านั้นเป็นเพียงวิชาทำมาหากิน ที่ช่วยเหลือตัวเองให้รู้จักหาความสุขในปัจจุบันเท่านั้น แต่การดำเนินชีวิตอาจยังไม่ถูกต้องและปลอดภัยทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนความรู้ที่เกิดจากการฟังธรรมเป็นความรู้อันบริสุทธิ์  ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาชีวิตในเชิงบวก  ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีชัยชนะ  ละโลกแล้วก็จะไปสู่สุคติสวรรค์   เสวยสุขในโลกหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป..

การฟังธรรมนั้น แม้ยังฟังไม่เข้าใจ
อย่างน้อยที่สุดผู้ฟังก็ได้บุญ
และจะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้า
เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related