ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม ปลั๊กไฟน้ำท่วม (ตอนที่ 2)

ก่อนอื่นต้องขอภาวนาว่าพื้นปาร์เกต์ที่บ้านคุณนั้นเป็นปาร์เกต์พื้นชั้นล่าง ไม่ใช่ปาร์เกต์พื้นชั้นบน แต่ที่ว่าน่าจะปาทิ้งหรือไม่นั้น ผมขออนุญาต เล่าและอธิบายดังนี้ https://dmc.tv/a12694

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข่าวน้ำท่วม
[ 24 พ.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]
 
ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม (ตอนที่ 2)
ปาร์เกต์ที่บ้านกลายเป็นปลาเน่าลอยน้ำ
 
 
ก่อนอื่นต้องขอภาวนาว่าพื้นปาร์เกต์ที่บ้านคุณนั้นเป็นปาร์เกต์พื้นชั้นล่าง ไม่ใช่ปาร์เกต์พื้นชั้นบน แต่ที่ว่าน่าจะปาทิ้งหรือไม่นั้น ผมขออนุญาต เล่าและอธิบายดังนี้
 
-ปาร์เกต์เป็นไม้ซึ่งอยู่ได้ด้วยกาว ดังนั้นพื้นปาร์เกต์จึงเป็นพื้นที่อ่อนแอกับอาการน้ำท่วมอย่างยิ่ง เพราะทั้งไม้ก็จะบวมขึ้นมา กาวก็จะหลุดล่อน ดังนั้นเมื่อน้ำท่วมพื้นปาร์เกต์ก็ต้องมีปัญหาแน่นอน อย่าไปโทษช่างทำปาร์เกต์ หรืออย่าไปคิดอะไรมาก
 
-หากน้ำท่วมสัก 5-7 วัน นอกจากปาร์เกต์จะหลุดล่อนลอยน้ำ ปูดโปนขึ้นมาแล้ว ยังจะมีอาการ "บูดเน่า" ให้เกิดกลิ่นเหม็น และอาจเป็นอันตรายน้อยๆ หากต้องสูดดมอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน
 
-หากปาร์เกต์เปียกน้ำสักเล็กน้อย ไม่ถึงกับหลุดล่อนปูดโปนไม่ต้องทำอะไรมาก เช็ดทำความสะอาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ เปิดหน้าต่าง ประตู ให้อากาศถ่ายเท ความชื้นออกไป ไม่กี่วันปาร์เกต์ก็อาจเข้ารูปเดิมปกติได้ แต่มีข้อที่น่าคิดก็คือ อย่าเอาน้ำมัน หรือแลคเกอร์ หรือแว็กซ์ ไปทาทับตอนที่ปาร์เกต์ยังชื้นอยู่ เพราะสารเหล่านั้นจะไปเคลือบผิวไม้ทำให้ความชื้นในเนื้อไม้ (และเนื้อพื้นคอนกรีตใต้ปาร์เกต์) ไม่ระเหยออกมา
 
-หากปาร์เกต์มีอาการหนัก บิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด ผุกร่อน เหม็นเน่า…กรุณาอย่าเสียดาย เลาะออกมา หากเลาะออกมาแล้วยังอยู่ในสภาพดี ก็ผึ่งลมเอาไว้ให้แห้ง เผื่ออาจมีประโยชน์ในวันหลัง
 
-หากเลาะพื้นปาร์เกต์ออกมีข้อคิดว่า หากจะปูอะไรทับแทนก็ต้องระวังเรื่องน้ำหนักของวัสดุที่จะปูแทนนั้น ว่าหนักมากไหม หากหนักมาก ก็ต้องดูระบบโครงสร้างบ้านเราด้วยว่ามีความแข็งแรงไหม (ถามช่างผู้รู้ ให้ช่วย ดูก็ได้) เพราะปาร์เกต์นั้นเป็นไม้น้ำหนักเบา พื้นที่หนึ่งตารางเมตรอาจจะหนักเพียง 5 กิโลกรัม แต่พื้นหินอ่อน หรือแกรนิต น้ำหนักรวมปูนทราย ที่ใช้ปูหนึ่งตารางเมตรอาจหนักตั้ง 120 กิโลกรัม
 
-หากจะปูปาร์เกต์เช่นเดิม (เพราะชอบความเป็นไม้ที่ให้ความนุ่มนวล) หรือปูวัสดุอื่นที่ใช้ "กาว" เป็นตัวประสาน กรุณาอย่าปูทับลงทันที ต้องรอให้พื้นคอนกรีตแห้งก่อน (อาจใช้เวลาเป็นเดือน) แล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้นรับรองว่าปูเท่าไรลงไปก็จะล่อนออกมาเท่านั้น
 
 
ปลั๊กไฟน้ำท่วมจะเป็นไรไหม
 
 
ในขณะที่น้ำท่วมนั้นท่านปิดวงจรไฟฟ้าทั้งบ้าน(ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปิดคัทเอ๊าท์) น้ำท่วมก็คงไม่เป็นไรอยู่แล้ว เพราะไม่มีกระแสไฟฟ้าเดิน แต่พอน้ำลดอยากจะเปิดไฟใช้คงหวั่นเกรงเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร เอาละครับ ผมขอสรุปแนวทางดังนี้ดีกว่า
 
-ลองเปิดคัทเอ๊าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา(อย่าลืมต้องมีฟิวส์ที่คัทเอ๊าท์เสมอ)หากปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งยังชื้น หรือเปียกอยู่ คัทเอ๊าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ลองเปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน ให้ความชื้นระเหยออกไปบ้าง แล้วดำเนินการใหม่ หากคัทเอ๊าท์ยังตัดไฟเหมือนเดิม กรุณาตามช่างไฟฟ้าผู้รู้เรื่องมาแก้ไข (เสียเงินบ้างก็เป็นเรื่องจำเป็น) ดีกว่าเอาชีวิตเสี่ยงต่อไป
 
-หากผ่านข้อที่ 1 ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุด และทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กแต่ละอันว่ามีไฟฟ้ามาปกติหรือไม่ (อาจหาซื้ออุปกรณ์ตรวจกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กจากห้างไฟฟ้าทั่วไปรูปร่างหน้าตาคล้ายไขควง มาเสียบทดสอบดูก็จะสะดวกดี) หากทุกจุดทำงานปกติก็ถือว่าสบายใจได้ไปอีกระดับหนึ่ง หากมีปัญหาบางจุดก็อาจรอสักนิดให้ความชื้นระเหยออกเช่นข้อแรก (แต่หากพอมีเงินกรุณาอย่าเสี่ยงเลยครับ)
 
-ดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังคงเปิดคัทเอ๊าท์เอาไว้ แล้ววิ่งไปดู มิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าเคลื่อนไหวหรือไม่ (อาจต้องรอสักพักโดยการจดตัวเลข หรือใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปไว้) หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่า ไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่หากมิเตอร์หมุนแสดงว่า ท่านยังปิดการใช้ไฟฟ้าในบ้านท่านไม่หมด หรือไฟฟ้า ตามสาย ตามท่อ ตามจุด บางจุดในบ้านท่านอาจจะรั่วได้รีบตามช่างไฟมาดูแล
 
เรื่องไฟฟ้านี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องของเด็ก เป็นเรื่องของคนขี้ขลาดไม่ใช่เรื่องของผู้กล้าหาญ ดังนั้นกรุณาอย่าประมาท น้ำท่วมก็เสียหายมากพอแล้ว อย่าต้องมาจัดงานอัปมงคลตามหลังกันอีกเลย …ซีเรียสนะครับ !
 
 
น้ำลดแล้วจะทำยังไงกับระบบไฟดี
 
 
ถือว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังนับว่าโชคดีกว่าประชาชนอีกมากในประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา เพราะระบบไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นกับการดำรงชีพ แต่มีอันตรายสูงและเข้าใจยาก ตรวจสอบยาก เพราะเราไม่สามารถเห็น "ตัวกระแสไฟฟ้า" ได้เลย หากคุณพอจะมีงบประมาณในการปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านหลังน้ำท่วมเราขอแนะนำดังต่อไปนี้
 
-หากมีงบประมาณน้อย ตัดปลั๊กไฟที่อยู่ระดับต่ำๆ ในบ้านออกให้หมด (อาจจะตัดทิ้งเลย หรือจะเลื่อนตำแหน่งปลั๊ก นั้นขึ้นไปอยู่สูงกว่าพื้นห้องสักระดับ 1.10 เมตร ก็ได้)
 
-หากพอจะมีงบประมาณบ้าง ให้แยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2 วงจร คือวงจรที่อยู่ด้านล่าง (ที่ซึ่งน้ำอาจจะท่วมได้) และวงจรที่อยู่สูงๆ (ที่น้ำไม่อาจท่วมถึง)
 
-หากมีงบประมาณหนักขึ้นไปอีก แยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 4 วงจร วงจรแรกสำหรับปลั๊กด้านล่าง (ยามน้ำท่วม) วงจรที่สอง เป็นวงจรสำหรับจุดที่ใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไป (ที่น้ำไม่ท่วม) จุดที่สาม สำหรับเครื่องปรับอากาศ (หากมี) เพื่อกันอาการไฟกระตุกเมื่อเครื่องปรับอากาศทำงาน
จุดสุดท้ายเอาไว้ในครัว เพื่อยามออกจากบ้านนานนาน อยากปิดคัทเอ๊าท์จะได้ไม่ต้องปิดหมด เพราะปิดหมดเจ้าตู้เย็นในครัวก็จะหยุดทำงาน อาหารในครัวก็เน่าเสียหมด หรือยามเราไม่อยู่บ้าน อาจปล่อยทั้งกิจกรรมการใช้ไฟฟ้า ไว้เพียงในครัวเท่านั้น
 
-หากมีงบประมาณมากขึ้นไปอีก แยกวงจรให้มากเข้าไปอีกก็ได้ อาจแยกเป็นวงจรชั้นบน วงจรชั้นล่าง วงจรนอกบ้าน ฯลฯ (โดยยังยึดถือ วงจรตามข้อ 3 อยู่) แต่หากจะแยกวงจรมากๆ ดังนี้ และมีงบประมาณมากตามที่บอกน่าจะว่าจ้างวิศวกรไฟฟ้าเข้ามาคำนวณจะประหยัดและปลอดภัยกว่า
 
ปล. ขอแถมนอกเรื่องน้ำท่วมนิดเดียวครับว่า อย่าเดินสายไฟกับสายสัญญาณต่าง ๆ เช่นโทรศัพท์ ทีวี ฯลฯ รวมไว้ด้วยกัน เพระสายไฟจะมีคลื่นแม่เหล็กไปรบกวนสัญญาณ ทำให้การรับสัญญาณไม่ชัดเจนครับ
 
ที่มาโพสทูเดย์

http://goo.gl/UChNR


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

       วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ชัยนาท
       วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครปฐม
      มูลนิธิธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอุทัยธานี ชัยนาท และขอนแก่น
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมและอบรมเยาวชนพระนครศรีอยุธยา มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
      วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมชัยภูมิ และนครสวรรค์
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.มหาสารคาม
      ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI ร่วมกับวัดพระธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.บางบาล
      มูลนิธิธรรมกายและธุดงคสถานชัยบาดาล มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
      วัดพระธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพแก่ผู้แทนศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัด 3 แห่ง
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม 4 จังหวัด
      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ศรีสะเกษ
      วัดพระธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดศรีสะเกษ
      มูลนิธิธรรมกายจัดเตรียมถุงยังชีพ 2,000 ชุด ช่วยน้ำท่วม จ.นครพนม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related