สุขุมพันธุ์ ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แถลงถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วง 3 วันที่ผ่านมา จนต่อเนื่องไปจนถึงช่วงสุดสัปดาห์นี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง https://dmc.tv/a12443

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข่าวน้ำท่วม
[ 26 ต.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18264 ]
 
 
"สุขุมพันธุ์" ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ
 
"สุขุมพันธุ์" ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ
 
        ผู้ว่าฯ กทม.เผยปริมาณน้ำเขตบางพลัดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนเร่งขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง หากจำเป็นให้อพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ห่วงสุดสัปดาห์ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอ่วม คาดใช้เวลา 3 -5 ชม. สถานการณ์น้ำทะเลหนุนจะคลี่คลาย พร้อมสั่งเจ้าหน้าที่เน้นดูแลสถานทูตฝรั่งเศส-โปรตุเกส เป็นพิเศษ
 
        เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร (กทม.) ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วง 3 วันที่ผ่านมา จนต่อเนื่องไปจนถึงช่วงสุดสัปดาห์นี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ ระดับน้ำในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูงสุดมีระดับความสูงที่มากกว่าปกติ ดังนั้น จึงขอความร่วมร่วมมือให้พี่น้องที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยกันดูแล เฝ้าบำรุงรั้วตามแนวเขื่อนที่มีการใช้มานาน อาจจะมีจุดรั่วซึม หรือสภาพทรุดโทรม จนทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของน้ำเข้าสู่ท่อระบายน้ำตามอาคารบ้านเรือน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำดังกล่าวไหลเข้าสู่ชุมชน รวมทั้งถนน เพราะวันนี้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ระดับน้ำจะเริ่มขึ้น จนถึงจุดสูงสุด 16.51 น. อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลชุมชนทั้ง 27 แห่ง ใน 13 เขต ริมสองฝั่งของแม่น้ำ เข้าไปดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดก่อนแล้วถึงจะเข้าไป

"สุขุมพันธุ์" ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ

        ขณะเดียวกัน ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวต่อว่า ระดับน้ำในคลองสำคัญ มีความสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่น คลองทวีวัฒนา ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 7 ซม. คลองสอง เพิ่มขึ้น 5 ซม. เป็นต้น ถึงแม้จะมีการยกประตูระบายน้ำสูงขึ้นก็ตาม และก็มีแนวโน้มว่าคลองต่างๆ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นต่อไปในช่วงนี้ ทั้งนี้ จากภาพถ่ายทางอากาศมวลน้ำที่อยู่ใน กทม. มีปริมาณลดลง อย่างนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ก็เริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น อย่างที่เคยพูดกับประชาชนมาโดยตลอด ปริมาณน้ำจะไหลไปไหนก็ไปได้ แต่ไม่ใช่ว่าปริมาณน้ำที่ยังมีอย่างมหาศาล จะไหลมารวมตัวที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
 
        "ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ปริมาณน้ำที่อยู่ในกรุงเทพฯ มันได้ลดลงไปแล้ว อย่าง จ.นครสวรรค์ เดิมมีปริมาณน้ำ 1,922 ล้าน ลบ.ม. ลดลงเหลือ 1899 ล้าน ลบ.ม. ดูเหมือนไม่มาก แต่ว่ามันเป็นแนวโน้มที่ชัดเจน ไม่ใช่ว่ามวลน้ำเหนือ กทม. มีเท่าไร แล้วจะมาหล่นทับ กทม. ทั้งก้อน" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
 
        พร้อมกันนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ยังกล่าวต่อว่า ทาง กทม.ได้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ในการร่วมกันช่วยดูแลคณะทูตานุทูต รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตในแต่ละประเทศที่ตั้งอยู่ใน กทม. โดยมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ 2 ประเทศ คือ ฝรั่งเศสและโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตบางรัก ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เขตบางรักเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ทาง กทม.ยังได้รับคำสั่งจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) มอบให้ กทม.เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจ และสถานที่สำคัญภาคเอกชน ซึ่งในที่ประชุมวันนี้จะเริ่มเชิญตัวแทนภาคธุรกิจ หอการค้าทั้งไทยและต่างประเทศ สภาอุตสาหกรรม สมาคมโรงแรม สมาคมท่องเที่ยว ธุรกิจศูนย์การค้า ร้านขายเครื่องอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ทั้งหมด มาพบกันในวันพรุ่งนี้ เพื่อรับทราบสถานการณ์และหารือถึงปัญหา ความต้องการ และหาวิธีช่วยกันดูแลสถานประกอบการให้มีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
"สุขุมพันธุ์" ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ 
 
        ทั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังกล่าวต่อว่า ทาง ศปภ.สั่งให้ กทม.ทำอะไรก็ต้องทำ เมื่อมันเป็นกฎหมาย อย่างการดูแลเรื่องสถานที่สำคัญๆ ใน กทม. ก็มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบ อย่างทางกองทัพก็จะดูแลเขตพระราชฐาน กทม.ก็ร่วมดูแลหลายเรื่อง แต่เรื่องดังกล่าวเบื้องต้น กทม.ก็ต้องดูแลไปก่อน แล้วจะแจ้งไปยัง ศปภ.ให้รับทราบ โดยในขั้นตอนแรกก็อยากได้พบกับหน่วยงานในองค์กรเอกชนภาคธุรกิจต่างๆ มาหารือกัน นอกจากนี้ เรื่องการเปิดประตูระบายน้ำนั้น ตอนนี้ได้รับข้อมูลว่ายังไม่ได้เปิดทุกบาน โดยได้มีการประสานไปยัง ศปภ.ให้รับทราบแล้ว อย่างประตูระบายน้ำเขตหนองจอก ที่กรมชลประทานรับผิดชอบนั้น ก็เข้าใจว่าประชาชนในพื้นที่ได้คัดค้านไม่ให้เปิดหมด อย่างไรก็ตาม ทาง กทม.ก็เข้าใจ
 
        "ที่สำคัญทางกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ประตูระบายน้ำสำคัญคือ ประตูน้ำของกรมชลประทาน เราจึงขอให้เปิดประตูน้ำและเครื่องสูบน้ำให้เต็มทั้งหมด ผลที่ออกมาคือ ระดับในกรุงเทพฯ ตะวันออกได้ลดลงแล้ว" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
 
        ส่วนเรื่องของจำนวนผู้อพยพนั้น ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ยอดตัวเลขของเมื่อวานนี้ คือ 6,013 ราย ที่ย้ายเข้าไปตามสถานที่พักพิงต่างๆ แต่ทาง กทม.ต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารเพิ่มเติม จากเดิมมีการเตรียมสถานที่ไว้ 189 แห่ง มีการปิดไป 5 แห่งในเขตดอนเมือง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมหนัก คาดว่า กทม.จะรองรับผู้ที่ต้องการอพยพจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 3 หมื่นกว่าคน นอกจากนี้ ยังเตรียมแผนสำรองไว้ สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราวอีก 6 แห่ง อาทิ บริเวณสถานที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น ซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้จำนวน 12,000 คน

"สุขุมพันธุ์" ห่วงเขตบางพลัดเข้าขั้นวิกฤติ เตือนประชาชนรีบขนย้ายสิ่งของ
 
        นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่า พื้นที่ในเขตบางพลัดปริมาณน้ำสูงขึ้นมาก ซึ่งทาง กทม.ได้ขอให้ประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของ และหากจำเป็นขอให้ย้ายไปยังศูนย์อพยพ เนื่องจากพื้นที่บางพลัดได้ก้าวเข้าสู่ช่วงวิกฤติแล้ว แต่ทาง กทม.จะพยายามดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอุปสรรคในเรื่องการขนกระสอบทราย ส่วนใหญ่ต้องขนส่งทางน้ำ มันจึงเป็นข้อจำกัด ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนในเขตดังกล่าวระมัดระวังและทำตามประกาศของ กทม.
 
        ผู้สื่อข่าวถามว่า มีพื้นที่ใดบ้างที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ตอบว่า ปัญหามันคนละอย่าง ที่หนักจริงๆ คือริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ว่าน้ำที่ท่วมขึ้นมาล้นแนวเขื่อนจริงๆ มันอยู่ไม่นาน อาจจะเดือนร้อนจริงๆ เพียง 3-5 ชั่วโมง ยกเว้นในเขตบางพลัด มันมีปัญหาและข้อจำกัด ซึ่งไม่เกี่ยวกับแนวเขื่อนของ กทม. แต่ว่าในระยะยาว 2-3 วันนี้ ยังเป็นห่วงน้ำจากทางเหนือ ที่ไหลเข้าสู่เส้นถนนวิภาวดีรังสิต ลงพหลโยธิน เพราะตรงนั้นหากมาอีกระลอกหนึ่ง จะเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในได้
 

http://goo.gl/uOzrl


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

       วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ชัยนาท
       วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครปฐม
      มูลนิธิธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอุทัยธานี ชัยนาท และขอนแก่น
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมและอบรมเยาวชนพระนครศรีอยุธยา มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
      วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมชัยภูมิ และนครสวรรค์
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.มหาสารคาม
      ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI ร่วมกับวัดพระธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.บางบาล
      มูลนิธิธรรมกายและธุดงคสถานชัยบาดาล มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
      วัดพระธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพแก่ผู้แทนศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัด 3 แห่ง
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย ส่งมอบถุงยังชีพ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม 4 จังหวัด
      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ศรีสะเกษ
      วัดพระธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดศรีสะเกษ
      มูลนิธิธรรมกายจัดเตรียมถุงยังชีพ 2,000 ชุด ช่วยน้ำท่วม จ.นครพนม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related