พุทธชยันตี 2600 ปีมีความหมายและความสำคัญอย่างไร

หลายคนคงคุ้นหูและได้ยินคนพูดถึงคำว่า พุทธชยันตี กันมากขึ้น เมื่อไปร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา แม้สื่อต่างๆ ก็มีข่าวการจัดกิจกรรมการรณรงค์ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระที่ครบรอบ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า https://dmc.tv/a14293

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 14 ก.ย. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
 
 
พุทธชยันตี 2600 ปี
 
        หลายคนคงได้คุ้นหูและมักได้ยินคนพูดถึงคำว่า พุทธชยันตี กันมากขึ้น เมื่อไปร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา หรือจะไปทำบุญที่วัด แม้กระทั่งตามสื่อต่างๆ ก็ยังมีข่าวว่า ในแต่ละจังหวัดได้มีการจัดกิจกรรมการรณรงค์ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระที่ครบรอบ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ยังมีหลายคนที่สงสัยว่า พุทธชยันตี คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมคนถึงพูดคำนี้กันเป็นจำนวนมาก
 

พุทธชยันตี 2600 ปี มีความหมายและความสำคัญอย่างไร?

 
        คำว่า พุทธ นั้นหมายถึงพระพุทธเจ้า ชะยะ ก็คือชัยชนะ ชยันตี แปลว่า การเฉลิมฉลองชัยชนะ ฉะนั้นพุทธชยันตีก็แปลว่า การเฉลิมฉลองชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เราบอกว่า พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือการจัดงานเฉลิมฉลองครบ 2600 ปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้ธรรมนั่นเอง คำศัพท์นี้มาจากอินเดียทางเนปาล ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนพุทธภูมิเป็นแดนเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเลยถือเอาศัพท์เป็นภาษาสันสกฤตมาใช้ ที่จริงแล้วเขาก็ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 แล้ว แต่เป็นการฉลองพุทธชยันตีที่พระพุทธเจ้าประกาศธรรมครบ 45 พรรษา จนกระทั่งพระองค์เสด็จปรินิพพาน ได้ครบ 2500 ปี
 
        ในพม่านั้นถึงขนาดว่าจัดสังคายนาพระไตรปิฎกเลย และได้นิมนต์พระเถระผู้ทรงภูมิความรู้จากประเทศไทย ลังกา และประเทศอื่นๆ ที่เป็นเมืองพุทธ ไปร่วมกับพระเถระผู้เชี่ยวชาญของประเทศพม่า แล้วทำพระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา คือ สังคายนาครั้งที่ 6 เรียกว่าฉบับฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ฉลอง 25 พุทธชยันตี ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ทางโลกวิชาการยอมรับกันมาก ว่ามีความถูกต้องสูง ของไทยเราเองก็ยังได้อาศัยฉบับฉัฏฐสังคายนา ของพม่ามาเป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎกหลายชุดเลยทีเดียว ก็ถือว่ามาจากประเทศต่างๆ แล้วช่วยกันทำอย่างทุ่มเท รัฐบาลก็สนับสนุนเต็มที่ สถานที่ทำก็เป็นถ้ำเหมือนตอนสังคายนาครั้งที่ 1 สร้างเป็นถ้ำจำลองขึ้นมา ให้มีพระนั่งเรียงกันอยู่ข้างในเหมือนตอนสังคายนาครั้งที่ 1 ที่มีพระอรหันต์ 500 รูป ทำจำลองอย่างตั้งใจมาก
 
        ของศรีลังกาเองก็เช่นเดียวกัน พระไตรปิฎกที่ศรีลังกาใช้ปัจจุบันเขาก็เรียกชื่อฉบับว่า เป็นฉบับพุทธชยันตี เลย ของไทยเราเองก็ไม่น้อยหน้า ใน พ.ศ. 2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีถึงขนาดประกาศว่า ให้วันธรรมสวนะ คือ วันพระนั้นเป็นวันหยุดราชการมาแล้ว ไม่ได้หยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่ให้หยุดวันโกน วันพระ แต่น่าเสียดายที่ทำอยู่ได้ประมาณ 1 ปี ก็เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลเปลี่ยน รัฐบาลใหม่เข้ามาเลยประกาศยกเลิก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก และมีการสร้างพุทธมณฑลด้วย มีประกาศพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสนามหลวงให้กับคณะสงฆ์ใช้ในการเฉลิมฉลองพุทธชยันตีเป็นการชั่วคราว เรียกได้ว่าทุกอย่างให้การสนับสนุนกันเต็มที่ ถ้าเทียบกับตอนนี้ก็ยังได้ไม่เท่ากับตอนนั้นเลย แต่ถ้าชาวพุทธเราเข้มแข็งเอาจริงเอาจังเราอาจได้เห็นภาพนั้นกลับมาอีกครั้ง
 
มีการจัดตักบาตรครั้งใหญ่กลางกรุง
มีการจัดตักบาตรครั้งใหญ่กลางกรุง
 
        แต่อย่างน้อย ปีนี้ในช่วงแรกๆ มีพระผู้ใหญ่ในคณะสงฆ์มาปรารภว่า พุทธชยันตีของไทยดูเงียบๆ ไปหน่อย ไม่ค่อยมีคนรู้จัก กระแสยังไม่ค่อยมี พอพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านรู้เข้า ท่านก็บอกว่าไม่ได้ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม จะเงียบๆ ไม่ได้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านก็เลยให้มีการจัดตักบาตรครั้งใหญ่กลางกรุงถึง 6 ครั้งๆ ละหลายหมื่นรูป ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นในประวัติศาสตร์
 
ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นประธานร่วมในงาน
ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นประธานร่วมในงาน
 
        ในตอนแรกทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเขาก็ห่วงมาก กลัวจะมีปัญหาเรื่องจราจร แต่ก็ปรากฏว่าทางทีมงานของพวกเราสามารถช่วยกันได้ทุกอย่าง ที่น่าประทับใจคือผู้นำประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้มาเป็นประธานร่วมในงานนี้ด้วย
 
ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ชื่อภาพพลังแห่งสงฆ์
ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ชื่อภาพพลังแห่งสงฆ์
 
        พอปลุกกระแสอย่างนี้แล้ว ก็ได้รับความนิยมเลย เพราะอะไรก็ไม่แรงเท่ากลางกรุง หลายๆ ฝ่ายก็ร่วมมือกัน ร่วมแรงร่วมใจกันหมด พอเสร็จพิธีก็สามารถจัดเก็บสถานที่ให้เป็นปกติได้ภายในครึ่งชั่วโมง ตามที่รับปากเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ตรงเวลาพอดี เปิดก่อนเวลา 5 นาทีที่กำหนดไว้ด้วย และถนนก็สะอาดกว่าเดิม แสดงถึงจิตใจที่งดงามของชาวพุทธ เป็นภาพที่งดงาม จนกระทั่งว่ามีคนถ่ายภาพคณะสงฆ์ที่มารอรับบาตรที่เยาวราช 3 หมื่นรูป ได้รับรางวัลชนะเลิศของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ชื่อภาพพลังแห่งสงฆ์ ซึ่งทุกคนเห็นแล้วก็รู้สึกปลื้มและเหมือนมีพลังจริงๆ เป็นพลังแห่งความดี ว่าเมื่อไหร่ที่พุทธบริษัท 4 ลุกขึ้นมาช่วยกันแล้ว สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราแน่นอน หลังจากนั้นกระแสพุทธชยันตีก็เริ่มติดตลาด ใครๆ ก็รู้จัก ขยายกันไปในวงกว้าง อย่างนี้ค่อยสมกับคำว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก เพราะมีกิจกรรมที่สามารถทำให้ชาวโลกทั้งโลกฮือฮากันได้ เพราะไม่มีที่ไหนทำได้
 
กิจกรรมเดินธุดงค์
กิจกรรมเดินธุดงค์
 
        และมีกิจกรรมเดินธุดงค์อีก ขบวนพระธุดงค์ก็เป็นพันรูป เดินกลางกรุง อาราธนารูปหล่อทองคำพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี สด จันทสโร ไปประดิษฐานที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมาก มีชาวพุทธมารอต้อนรับคณะพระธุดงค์นั้นเป็นเรือนแสนคน มีภาพที่น่าประทับใจหลายอย่างเกิดขึ้น พ่อแม่พาลูกเด็กเล็กแดงมารอต้อนรับด้วย ภาพดีๆ แบบนี้จะปรากฏอยู่ในใจเด็ก โตขึ้นก็จะเป็นคนดี เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างศีลธรรม ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้กลับมาสู่สังคมได้อย่างดีมากๆ
 

ในประเทศอื่นทั่วโลกได้มีการวางแผนจัดฉลองพุทธชยันตีอย่างไรบ้างหรือไม่?

 
        ในอินเดียนั้น ถ้าเราไปแล้วจะได้ข้อคิดหลายๆ อย่าง พระพุทธศาสนาเกิดในอินเดีย แล้วทำไมในปัจจุบันถึงได้ซบเซาไป ในบางยุคแทบไม่มีชาวพุทธเหลืออยู่เลย กลับมาเจริญในแถบอื่นแทน เป็นอุทาหรณ์ว่าเราประมาทไม่ได้ ถ้าชาวพุทธเพิกเฉย ละเลยการประพฤติปฏิบัติธรรม เอาแต่ทะเลาะกัน เอาแต่วิพากษ์วิจารณ์กัน บั่นทอนกำลังใจกัน จะทำให้พระพุทธศาสนาค่อยๆ เสื่อมลง ชาวพุทธทั่วไปก็เบื่อ ภาพลักษณ์ก็เสีย แล้วศาสนาอื่นเขาก็รุกเข้ามา
 
        แต่ถ้าเมื่อไหร่ชาวพุทธเอาพลังที่มีอยู่มาใช้ในทางสร้างสรรค์ ใครชอบแบบไหนก็เอาไปทำแบบนั้นให้เจริญ เช่น นั่งสมาธิ(Meditation) รักษาศีล ใครชอบวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนาก็ทำด้านนั้น แล้วไปชวนคนให้มาทำในแบบที่ตัวเองชอบให้มากๆ ถ้าทุกคนช่วยกันทำแบบนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญ เพราะคนในสังคมนั้นมีจริตอัธยาศัยต่างกัน
 
งานวิสาขบูชา ที่ประเทศอินเดีย (พ.ศ.2555)
งานวิสาขบูชา ที่ประเทศอินเดีย (พ.ศ.2555)
 
        เป็นที่น่าดีใจว่า กระแสความตื่นตัวในการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาในอินเดียนั้น กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ขนาดว่ามีชาวอินเดียมาปฏิบัติที่วัดพระธรรมกาย แล้วขอให้หลวงพ่อช่วยส่งพระไปช่วยจัดงานวันวิสาขบูชาที่อินเดีย สาธุชนที่นั่นมากันเป็นหมื่นเลยมีความปลาบปลื้มใจมาก หนังสือพิมพ์อินเดียขึ้นข่าวหน้าหนึ่งเลย เป็นภาพที่เรียบร้อยงดงามมาก บ่งบอกได้ว่าชาวพุทธอินเดียนั้นเข้มแข็ง ข่าวเขาออกมาอย่างนั้น
 
        แต่เมืองไทยนั้นแปลกที่ว่า เมื่อมีคนมาทำความดีเป็นแสน เป็นล้าน กลับเงียบไม่มีข่าว แต่ถ้ามีเรื่องไม่ดีกับพระนิดเดียวนั้นเป็นข่าวได้ง่าย ทำไมจึงชอบเป็นกันอย่างนี้ เราน่าจะปรับใหม่ ไหนๆ เราก็ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางชาวพุทธโลกแล้ว เราน่าจะเอาแนวคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ ซึ่งพระองค์ได้บอกวิถีปฏิบัติของชาวพุทธอยู่แล้วว่า
 
        1. อนูปวาโท คือ ไม่ว่าร้ายกัน ไม่โจมตีกัน
 
        2. อนูปฆาโต คือ ไม่ทำร้ายกัน
 
        3. ปาติโมกฺเข จ สํวโร คือ สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ตั้งใจปฏิบัติตัวเองให้ดี
 
        ถ้าปรับมาใช้ในเชิงปฏิบัติก็อย่างที่ว่านี่แหละ อย่าเอากำลังที่มีมาใช้ในเชิงทำลาย แต่ให้เอากำลังมาใช้ในเชิงสร้างสรรค์ คือปรับปรุงในส่วนของตัวเองให้ดี แล้วหาทางชวนคนมาประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่เราชอบ หรือถนัดให้มากที่สุด ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วภาพรวมของพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองมาก ฉะนั้นในอินเดียจึงต้องบอกว่ายังพอมีความหวัง ที่จะเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่แดนพุทธภูมิ ให้เป็นแสงสว่างส่องทางของชาวอินเดียและชาวโลกทั้งมวลต่อไป
 
ใกล้จะหมดปีฉลองพุทธชยันตีแล้วมีสิ่งใดบ้างที่ชาวพุทธควรถือปฏิบัติ?
 
        ให้เราตระหนักให้ดีว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์มีพระคุณกับชาวพุทธทั้งมวลนั้นมหาศาล ถ้าไม่มีพระองค์เราจะไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม จะไม่รู้จักวิธีการสร้างบุญ ที่เราได้รู้อย่างนี้เพราะความเมตตากรุณาอันไม่มีประมาณของพระองค์นั่นเอง ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลกเป็นอันมาก
 
        เราชาวพุทธนั้นสามารถแทนคุณของพระองค์ได้อีกทางหนึ่งโดย ตั้งใจศึกษาธรรมะของพระองค์ให้ดี แล้วช่วยกันเผยแผ่ธรรมะของพระองค์ให้ไปสู่ชาวโลกให้กว้างไกลที่สุด ให้ชาวโลกได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ให้มากที่สุด อย่างยั่งยืนนานที่สุด อย่างนี้ถึงจะคุ้มกับที่พระองค์อุตส่าห์สร้างบารมีมายาวนาน จนตรัสรู้แล้วมาสอนพวกเรา เพราะเกิดประโยชน์กับคนมากๆ และยาวนาน นี้คือสิ่งที่เราเองสามารถทำได้ พอทำได้อย่างนี้ บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ก็เกิดขึ้นกับตัวเองด้วย

http://goo.gl/l5oA8


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related