ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย

https://dmc.tv/a17951

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 8 พ.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18441 ]

ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย

 


ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย


            ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บนคาบสมุทรอินโดจีน  ระหว่างเส้นละติจูดที่  5  องศา  37  ลิปดาเหนือ  กับ  20  องศา  27  ลิปดาเหนือ  และระหว่างเส้นละติจูดที่  97  องศา  22  ลิปดาตะวันออก  กับ  105  องศา  37  ลิปดาตะวันออก  มีพื้นที่  513,115  ตารางกิโลเมตร  รูปร่างคล้ายขวานโบราณ

            ประเทศไทยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและกัมพูชา  ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย  ทิศเหนือติดแบประเทศพม่าและประเทศลาว

:)  เกร็ดความรู้   :)

 แม่น้ำที่กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวคือ แม่น้ำโขง

                         

 :D  รู้หรือไม่  :D

    ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่  3  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซียและประเทศพม่า

 

ภูมิ ประเทศไทย

 

            ประเทศไทยตั้งอยู่บนเปลือกโลกที่มีความแตกต่างกัน  มีทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบสูง  ภูเขาสลับกับหุบเขาและพื้นที่ติดทะเล  ซึ่งมีลักษณ์แตกต่างกัน  ดังนี้

 

     1.  พื้นที่ราบลุ่ม

     พบบริเวณตอนกลางของประเทศ 

     เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านหลายสาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำบางปะกง  พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์  ฝนตกชุก  จึงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ  นอกจากนี้ยังเหมาะแก่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ  บริเวณนี้จึงเป็นชุมชนการค้าและเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศ

 

      2.   พื้นที่ราบสูง

     พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง  ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ  เรียกว่า  แอ่งโคราช  มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน  แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี  สภาพดินเป็นดินปนทราย  ไม่อุ้มน้ำ  ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก  ประชากรในพื้นที่จึงนิยมเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่เป็นส่วนใหญ่   เทือกเขาสำคัญได้แก่  เทือกเขาเพชรบูรณ์  เทือกเขาดงพญาเย็น  เทือกเขาสันกำแพง  และเทือกเขาพนมดงรัก

 

     3.    พื้นที่ภูเขาสูงสลับหุบเขา

     พบบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก

    เทือกเขาและภูเขาทางภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย  พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ราบดินตะกอนที่มีแม่น้ำไหลพามาทับถม  ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การทำการเกษตร  เทือกเขาที่สำคัญ  คือ  เทือกเขาหลวงพระบาง  เทือกเขาแดนลาว  เทือกเขาธงชัย  และเนื่องจากเป็นบริเวณภูเขาสูง  มีอากาศหนาวเย็น  จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกด้วย

 

     4.    พื้นที่ติดทะเล

   พบบริเวณภาคตะวันออกและชายฝั่งทะเลในภาคใต้

         พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนบน  เทือกเขาสลับที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง  และที่ราบชายฝั่งทะเลทางตอนล่าง  เทือกเขาสำคัญคือ  เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด  มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์  เหมาะสำหรับปลูกผลไม้  มีแม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย  ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะแก่ง  หาดทรายสวยงาม  เกาะที่สำคัญได้แก่  เกาะช้าง  เกาะกูด  และเกาะสีชัง

          พื้นที่ของภาคใต้เป็นพื้นที่ราบสูงบนคาบสมุทรแคบๆ  มีที่ราบอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นแนวขนานกัน  โดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลางเทือกเขา  สำคัญได้แก่  เทือกเขาสันกาลาคีรี  ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย  เทือกเขาภูเก็ต  และเทือกเขานครศรีธรรมราช  มีแม่น้ำสายสั้นๆ  เช่น  แม่น้ำกระบุรี  แม่น้ำตรัง  แม่น้ำตาปี  แม่น้ำปากพนัง  และแม่น้ำโก-ลก  มีเกาะที่สำคัญทางฝั่งตะวันตก  คือ  เกาะภูเก็ต  ทางฝั่งตะวันออก  คือ  เกาะสมุยและเกาะพะงัน

      ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน  (Tropic Zone)   มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน  พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ภาคใต้ลักษณะภูมิภาคแบบสะวันนา  คือมีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันจัดเจน  มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ  18 – 34  องศาเซลเซียส

พื้นที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม  2  ชนิด  ได้แก่ 

   ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้   พัดไอน้ำและความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย  ทำให้เกิดฤดูฝน

 ลมมรหาสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาจากทะเลจีนใต้  ทำให้เกิดฤดูหนาว

    จากอิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองชนิด  ส่งผลให้ประเทศไทยมี  3  ฤดู  คือ

ฤดูร้อน  (กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม)

     อากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง  โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน  อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  28 – 32 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน  (กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม)

           พายุลมแรง  ฝนตกหนักถึงหนักมาก  โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือ ภาคใต้  และชายฝั่งทะเลของภาคตะวันออก

ฤดูหนาว  (กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์)

           อากาศเย็นและหนาวจัดในภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ  อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26 – 28  องศาเซลเซียส

           ส่วนในภาคใต้  (โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก)  อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงทำใต้ฝนตกชุก  ภาคใต้บ้านเราจึงมี  2  ฤดูกาล  ฤดูร้อนกับฤดูฝน

 


http://goo.gl/x6jnce


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related