ปกบ้านครองเมือง ประเทศเมียนมาร์

ปกบ้านครองเมือง ประวัติศาสตร์ พม่ามีประวัติศาสตร์ทางการเมืองโดดเด่นจนนานาประเทศจับตามองลักษณะการปกครองแบ่งได้เป็น 3 สมัย คือ สมัยราชวงศ์ สมัยอาณานิคม และสมัยเอกราช สมัยราชวงศ์ เป็นช่วงเวลาที่ดินแดนพม่ายังแบ่งการปกครองเป็นอาณาจักรแต่ละอาณาจักรปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มี 3 ราชวงศ์ ราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์ตองอู และราชวงศ์คองบอง https://dmc.tv/a18133

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 7 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18290 ]

ปกบ้านครองเมือง  ประเทศเมียนมาร์

 

อาณาจักรปกครองด้วยระบอบกษัตริย์  มี  3  ราชวงศ์  
ราชวงศ์พุกาม  ราชวงศ์ตองอู  และราชวงศ์คองบอง

     พม่ามีประวัติศาสตร์ทางการเมืองโดดเด่นจนนานาประเทศจับตามองลักษณะการปกครองแบ่งได้เป็น  3  สมัย  คือ  สมัยราชวงศ์  สมัยอาณานิคม  และสมัยเอกราช

     สมัยราชวงศ์  เป็นช่วงเวลาที่ดินแดนพม่ายังแบ่งการปกครองเป็นอาณาจักรแต่ละอาณาจักรปกครองด้วยระบอบกษัตริย์  มี  3  ราชวงศ์  ราชวงศ์พุกาม  ราชวงศ์ตองอู  และราชวงศ์คองบอง

     สมัยอาณานิคม  ชาติอังกฤษเริ่มล่าอาณานิคมเพื่อครอบครองดินแดนและขยายอำนาจ  พม่าสู้รบกับอังกฤษหลายครั้ง  จากที่แค่สูญเสียดินแดนบางส่วน  สุดท้ายตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ  (พ.ศ. 2429 – 2491)  การปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จึงยุติลงนับแต่นั้น

     สมัยเอกราช  พม่าได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยมีนายพลอองซานเป็นผู้นำต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ  ทว่าจากนั้นบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย  เนื่องจากรัฐบาลไม่ทำตามข้อตกลงว่าจะให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ  แยกตัวเป็นอิสระได้หลังรวมกับพม่าครบ  10  ปี  ชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจึงก่อกบฏ  ทำให้ทหารปฏิวัติ  ปกครองประเทศและยึดอำนาจปกครองยาวนาน  โดยมีประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นระยะ

     ในปี  พ.ศ. 2531  นางอองซาน  ซูจี  เข้าร่วมกิจกรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก  โดยเรียกร้องให้มีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย  และร่วมก่อตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้น

     ในปี  พ.ศ. 2533  มีการจัดการเลือกตั้งทั่งไปขึ้น  โดยผู้ชนะการเลือกตั้งคือพรรคของนางอองซาน  ซูจี  แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมโอนอำนาจบริหารให้  และยื่นข้อเสนอให้นางอองซาน  ซูจี  ยุติบทบาททางการเมือง  เมื่อเธอปฏิเสธจึงถูกคณะทหารจำกัดเสรีภาพต่อ  หลังจากกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักมาแล้วตั้งแต่ก่อนหน้านั้น

     จากนั้นนางอองซาน  ซูจี  ต่อสู้โดยสันติวิธี  ขณะเดียวกันนานาประเทศก็คว่ำบาตรพม่าเพื่อกดดันให้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย  จนนาง อองซาน  ซูจี  ได้รับการปล่อยตัวในที่สุด

ปัจจุบันพม่ากำลังค่อยๆ  ปรับโยบายทางการเมืองเพื่อปกครองระบอบประชาธิปไตยเต็มในอนาคต

     คว่ำบาตร  หรือ  boycott  ในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  การยุติการติดต่อในทางการหนึ่งเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง  ส่วนใหญ่ใช้กันการค้าและการเมือง  การไม่ยอมขายสินค้าให้ประเทศใดปรัเทศหนึ่ง

วันชาติของพม่าคือ  วันที่  4  มกราคม  หรือเรียกว่า  วันเอกราช  เป็นวันที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์

 

     เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  พ.ศ.2531  เกิดกรณี  8.8.88  (วันที่  8  เดือน  8  ค.ศ. 1988)  เป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง  คือ  ประชาชนออกมาเรียนร้องประชาธิปไตย  แล้วถูกทหารเข้าปราบปรามขั้นรุนแรง  มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายและถูกกักขังเป็นนักโทษการเมือง

     กว่าแต่ละประเทศจะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  เมื่อมีสิทธิ์เลือกตั้งแล้ว  เราต้องเลือกคนดีเพื่อบ้านเมืองของเรา

     ปัจจุบันพม่าปกครองแบบ  สาธารณรัฐ  มีรัฐสภาประกอบด้วยสามสภา  คือ  สภาประชาชน  สภาชาติพันธุ์  และสภาท้องถิ่น  โดยสมาชิกสภามาจากการเลือกตั้ง

     พลเอก  เต็ง  เส่ง  คือประธานาธิบดีคนปัจจุบันของพม่า  เป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล


     พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา  หรือ  USDP  (Union  Solidarity  and  Development  Party)  หัวหน้าพรรคคือ  พลเอก  เต็ง  เส่ง

     พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย  หรือ  NLD  (National  League  for  Democracy)  หัวหน้าพรรคคือ  นางอองซาน  ซูจี

     พม่าแบ่งการปกครองเป็น  7  ภาค  กับ  7  รัฐ  ภาคคือ  เขตที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า  ส่วนรัฐคือ  เขตที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย

ภาค  (Regions)

1.อิรวดี (lrrawaddy  หรือ  Ayeyarwady)           เมืองเอก   พะสิม  (Bassein  sinv  Pathein)

2. พะโค  หรือ  หงสาวดี (Bago  หรือ  Pegu)     เมืองเอก   พะโค  (Bago  หรือ  Pegu)   

3. มาเกว (Magwa)                                         เมืองเอก   มาเกว   (Magwe)

4. มัณฑะเลย์ (Mandalay)                               เมืองเอก   มัณฑะเลย์  (Mandalay)

5. สะกาย (Sagaing)                                      เมืองเอก   สะกาย  (Sagaing)

6.ตะนาวศรี (Tenasserim  หรือ  Tanintharyi)   เมืองเอก   ทวาย (Tavoy)

7.ย่างกุ้ง (Yangon)                                        เมืองเอก   ย่างกุ้ง  (Yangon)

 

รัฐ  (States)

1.รัฐยะไข่  (Rakhine)                     เมืองเอก  ซิตตเว  (Sittwe)

2.รัฐกะฉิ่น  (Kachin)                       เมืองเอก  มิตจีนา  (Myitktina)

3.รัฐกะเหรี่ยง  (Kayin)                    เมือง  ปะอาน  (Pa – an)

4.รัฐกะยา  (Kayah)                        เมืองเอก  หลอยก่อ  (Loikaw)

5.รัฐมอญ  (Mon)                           เมืองเอก   มะละแหม่ง (Moulmein  หรือ  Mawiamyine)

6.รัฐชิน  (Chin)                             เมืองเอก   ฮะคา  (Hakha)

7.รัฐฉานหรือไทใหญ่  (Shan)         เมืองเอก  ตองยี  (Taunggyi)

 


บทความที่เกี่ยวข้องกับปกบ้านครองเมือง  ประเทศเมียนมาร์

 

อาเซียน 10 ประเทศ
เมียนมาร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน 
ทำเลที่ตั้ง ประเทศเมียนมาร์


http://goo.gl/Wrq0QW


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related