สองพระมหากษัตริย์....ร่มฉัตรปกแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์รัชกาลที่ ๘ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในระบอบประชาธิปไตย https://dmc.tv/a21149

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 1 มี.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
สองพระมหากษัตริย์....ร่มฉัตรปกแผ่นดิน
 
เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙



     พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรรัชกาลที่ ๘ ทรงเป็นพระมหากษัตรยพระองค์แรกที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในระบอบประชาธิปไตย การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เป็นผลสืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเห็นชอบกราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เชื้อพระวงศ์อันดับหนึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชันษาได้เพียง ๙ ปีเท่านั้น และกำลังทรงศึกษาอยู่ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) และพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลยังทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชภารกิจได้ จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อสงครามโลกสงบลง ในครั้งหลังนี้พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะและสามารถว่าราชการแผ่นดินได้โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการ แม้ว่าพระองค์จะทรงเจริญวัยในต่างแดน แต่ก็ทรงมีพระปรีชาสามารถบริหารประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยของพระองค์เริ่มมีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ พระไตรปิฎกแปลโดยอรรถและพระไตรปิฎกแปลโดยสำนวนเทศนา แต่กระทำได้ไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

     ในส่วนพระองค์เองได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่คราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก เมื่อเจริญพระชันษา ทรงใช้เวลาว่างศึกษาพระธรรมคำสอนต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ และโปรดเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวัดสำคัญในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง และมีพระราชศรัทธาที่จะเสด็จออกผนวชในพระพุทธศาสนาหลังสำเร็จปริญญาเอกด้วยดังสำเนาพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

     สมเด็จพระสังฆราชจึงทรงนิพนธ์เรื่อง “บวช” ถวายแต่เพียงไม่กี่วันก่อนหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อปริญญาเอกที่ค้างอยู่ให้แล้ว เสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตขณะที่มีพระชนมพรรษาได้เพียง ๒๑ พรรษา ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่คนไทยทั้งแผ่นดิน
 

     เมื่อสิ้นพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยอย่างกะทันหัน ในคืนวันเดียวกันรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระอนุชาขึ้นครองราชย์สืบต่อเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ และเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”

     นับแต่วันที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติจวบจนปัจจุบันเป็นเวลา ๖๙ ปี ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายมุ่งมั่นตรากตรำแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกร ให้ปวงชนชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุขสมดั่งพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในประเทศไทย และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และที่สำคัญทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ นับแต่สมัยสุโขทัย ที่ทรงพระผนวชขณะครองราชสมบัติ
 

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า“ภูมิพโลภิกขุ” ระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ ทรงปฏิบัติพระราชกิจเช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทำวัตรเช้า-เย็น ทรงสดับพระปาฏิโมกข์ ทรงทำอุโบสถสังฆกรรม ทรงสดับพระธรรมและพระวินัย และเสด็จออกบิณฑบาต เป็นต้น

      ในรัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่การเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรือง งานแปลพระไตรปิฎกที่ค้างมาตั้งแต่สมัยพระบรมเชษฐาได้รับการสืบสานดำเนินการต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ฉบับแรก คือพระไตรปิฎกภาษาไทย เป็นพระไตรปิฎกแปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุดจำนวน ๘๐ เล่มเสร็จสมบูรณ์เมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และพระไตรปิฎกฉบับหลวงเป็นพระไตรปิฎกแปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระองค์ เป็นพุทธมามกะก่อนเสด็จไปศึกษาต่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะก่อนเสด็จไปศึกษาต่อ

      เมื่อคราวกระทำฉัฏฐสังคายนา ณ มหาปาสาณคูหา กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทรงอนุโมทนาการสังคายนาที่ถือว่าเป็นการสังคายนาระดับนานาชาติคร้้งแรกและคร้้งเดียวของโลกที่พระภิกษุสงฆ์และนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้พระไตรปิฎกบาลีจากประเทศพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาททุกประเทศมาประชุมกัน และพระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคีติ อักษรพม่า ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐานนานาชาติของพระพุทธศาสนาเถรวาททั่วโลก
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช
ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๙๙

     ในเวลาต่อมากองทุนสนทนาธรรมนำสุขท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ริเริ่มจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีจากการสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นอักษรโรมันเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานชื่อเป็นภาษาบาลีว่ามหาสงฺคีติ ติปิฏก พุทฺธวสฺเส ๒๕๐๐ และเป็นภาษาไทยว่า พระไตรปิฎกบาฬี ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ อักษรโรมัน โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงพระกรุณารับเป็นประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันในนานาประเทศตามรอยพระไตรปิฎกบาฬี ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราชร.ศ. ๑๑๒” อักษรสยาม ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกอักษรไทยฉบับพิมพ์ชุดแรกของโลก ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์และพระราชทานไปยังสถาบันสำคัญทั่วโลกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
 

      นอกจากนี้ยังมีพระไตรปิฎกอีกหลายชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงประชาชน อาทิ พระไตรปิฎก บาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น
 
การสังคายนาครั้งที่ ๖ หรือฉัฏฐสังคายนา ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จนถึง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
การสังคายนาครั้งที่ ๖ หรือฉัฏฐสังคายนา ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จนถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

พระไตรปิฎกบาฬี ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ อักษรโรมัน
พระไตรปิฎกบาฬี
ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ อักษรโรมัน

พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย
พระไตรปิฎก
ฉบับสำหรับประชาชน
มหามกุฏราชวิทยาลัย

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์ ทรงเป็นหลักใจและหลักชัยแก่ปวงชนชาวไทยในยามประเทศก้าวสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจการเมืองและความไม่สงบทั้งภายในและภายนอกทำให้ผู้คนในชาติประสบความขัดเคือง ไร้ซึ่งความสงบสุข แต่ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ กอปรกับพระราชศรัทธาที่ทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีต่อพระพุทธศาสนาจึงทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม นำพาชาติบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม เปรียบประหนึ่งร่มฉัตรปกป้องคุ้มครองพสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ยังความภาคภูมิใจในดวงใจแห่งทวยราษฎร์ ที่ได้เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาอันเรืองรองแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม

คณะกรรมการโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. (๒๕๔๒). ทรงพระผนวช. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน).
วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร. (๒๕๕๓). พ่อหลวงกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : บานาน่า สตูดิโอ จำกัด.
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. คู่มือบทโทรทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร. กรุงเทพมหานคร.
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related