หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๔)

ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นเป็นบทพระธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หลังจากที่ตรัสรู้ได้เพียง ๒ เดือน ณ..... https://dmc.tv/a23423

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 13 มิ.ย. 2561 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๔)

เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
 
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๔)
 
      ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นเป็นบทพระธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หลังจากที่ตรัสรู้ได้เพียง ๒ เดือน ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสีในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คําว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นั้น โดยความหมายแล้วแปลว่า “พระสูตรแห่งการหมุนกงล้อแห่งธรรม”หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายพระธรรมจักรให้กว้างไกล ทั้งนี้นับตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลเป็นต้นมาชมพูทวีปในสมัยโบราณกําลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน ในสังคมสมัยนั้นต่างก็เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย ทั้งชนชั้นที่มั่งคั่งร่ํารวย นักพรตนักบวชเป็นจํานวนมากที่ต่างก็พัฒนาความเชื่อและปรัชญาของตนขึ้นมา ฯลฯ การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคําสอนของพระองค์เท่ากับเป็นการประกาศหนทางที่ถูกต้องที่จะนําสัจธรรมและคุณค่าอันแท้จริงมาสู่ชีวิตมนุษย์ ซึ่งการแสดงพระธรรมเทศนา คือ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” เป็นครั้งแรกนี้ส่งผลให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นท่านแรก ซึ่งหลังจากที่พระพุทธองค์ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้แล้วท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนานับตั้งแต่นั้น1

     เกี่ยวกับความสําคัญของบทพระธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของเรานั้น ท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยสาธยายถึงคุณค่าและความสําคัญไว้เช่นกันโดยได้แสดงไว้เป็นบทพระธรรมเทศนาในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เรื่อง “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” โดยตรงซึ่งในความเห็นของพระเดชพระคุณหลวงปู่บทธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้นับเป็น “ธรรมที่ลุ่มลึกสุขุมอย่างยิ่ง ไม่ใช่ธรรมที่พอดีพอร้าย” อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นตํารับตําราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย โดยเฉพาะผู้ที่นําไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องนั้น จะสามารถ “เอาตัวรอดได้” ในธรรมวินัยของพระบรมศาสดาเลยทีเดียว

      จุดที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งในบทพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สดจนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายนั้น นอกจากที่ท่านได้กล่าวถึงสาระสําคัญของบทพระธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่ว่า “ชีวิตมิใช่การดําเนินไปตามหนทางที่สุดโต่ง ๒ อย่าง” หนทางที่ถูกที่ควรคือการวางตนให้ปฏิบัติตามหนทางสายกลางอันเป็นการดําเนินด้วยปัญญา คือ มรรคมีองค์ ๘ การกล่าวถึงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คืออริยสัจ ๔ อันเป็นเป้าหมายของชีวิตที่ทุกคนควรศึกษาและเข้าใจเพื่อให้เกิดความสงบระงับเพื่อความรู้ยิ่งคือพระนิพพาน ฯลฯ แล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังได้พยายามเชื่อมโยงให้เราเห็นถึงวิธีปฏิบัติที่จะทําให้สาธุชนได้รู้จักการวางใจให้ถูกต้องในมัชฌิมาปฏิปทา หรือ “ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง” ไว้อีกด้วย ซึ่งมิใช่เพียงการอธิบายโดยหลักการธรรมดาเท่านั้น แต่ต้องถือว่าเป็นการอธิบายโดยหลักวิชชาและโดย “หลักในการปฏิบัติธรรม” เลยทีเดียว


      คําว่า “ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง” หรือมัชฌิมาปฏิปทาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านอธิบายนั้น ท่านกล่าวเฉพาะเจาะจงลงไปเลยว่า หมายถึง การเอาใจไปหยุดไว้ณ ตําแหน่งที่เป็น “ศูนย์กลางกายมนุษย์” เลยทีเดียวเพราะตําแหน่งดังกล่าวนั้น มีดวงธรรมที่ทําให้เป็นกายมนุษย์ตั้งอยู่การนําเอาใจไปหยุดอยู่ ณ ตําแหน่งนั้นได้จริงจะถือว่าเป็น “มัชฌิมาปฏิปทา” ที่แท้จริง และในตําแหน่งนี้เองที่ในวาระพระบาลีเรียกว่า “ตถาคเตนอภิสมฺพุทฺธา” คือ เป็นตําแหน่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์ ซึ่งคําว่า “ตถาคเตน” ในที่นี้พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังอธิบายจําเพาะเจาะจงลงไปอีกว่าหมายความถึง “ธรรมกาย” นั่นเองเพราะการเข้าถึงพระธรรมกายก็คือ การเข้าถึงตถาคตแท้ ๆ ดังพุทธดํารัสที่พระองค์ได้ตรัสรับรองไว้ว่า “ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ” เราตถาคตผู้เป็นธรรมกาย “ตถาคตสฺส วาเสฏฺ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ” ดังนี้ฯ

     ในพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ว่าด้วย “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นี้ท่านได้คลี่คลายขยายความให้เราทราบถึงวิธีการทําใจให้เป็นกลาง การหยุดใจหรือการเอาใจน้อมเข้าไปในกลางดวงธรรมต่าง ๆ จนถึงพุทธรัตนะที่สถิตอยู่ภายใน ฯลฯ ซึ่งการที่บุคคลสามารถปฏิบัติดังนี้ได้ย่อมเท่ากับว่าได้ “ดําเนินเข้ามาสู่หนทางแห่งอริยมรรค” และจะสามารถ “ประจักษ์แจ้ง” ในความจริง ๔ ประการ หรืออริยสัจ ๔ ได้ซึ่งถือได้ว่าสามารถเข้าถึงพระพุทธศาสนาที่แท้ได้นั่นเอง ฯลฯ

     อนึ่ง การกล่าวถึงมัชฌิมาปฏิปทาหรือ “ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง” ตามการอธิบายของพระเดชพระคุณหลวงปู่นี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญที่สุดของหัวข้อธรรมทั้งหมด
เนื่องจากมัชฌิมาปฏิปทานี้เปรียบเสมือนประตูที่จะเชื่อมไปสู่หนทางที่ถูกต้องคือมรรคมีองค์ ๘ และอริยสัจ ๔ ประการในขั้นตอนต่อไปซึ่งโดยความมุ่งหมายที่แท้จริงของพระธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ท่านนั้นแน่นอนว่ามิได้ทรงมุ่ง แสดงให้แกผู้ที่คิดครองเรือนนําไปใช้ในการครองชีวิตแบบฆราวาสแต่อย่างใด แต่ทรงมุ่ง “เปิดประตู” ให้สาวกของพระองค์ก้าวเดินไปสู่หนทางแหงอริยมรรคเป็นสําคัญ ด้วยเหตุนี้ “ภาษาธรรม” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ นัยไว้ในบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้จึงควรกล่าวได้ว่าเป็นภาษาแห่งการปฏิบัติอย่างแท้จริงกําลังสวดร่วมกันอยู่นี้ ไม่ใช่บทสวดธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่ย่อมเป็นเหมือนการสาธยายถึง “หลักปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน” ไปด้วยในตัว ซึ่งได้มีการค้นพบหลักฐานสําคัญคือ “คาถาธรรมกาย”ที่จารึกไว้เป็นภาษาเขมรโบราณ จนได้มีการนํามาศึกษาถอดความและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า “ธมฺมกายสฺส อตฺถวณฺณนา” มาก่อนแล้ว โดยท่านศาสตราจารย์ยอร์ชเซเดส์ (George Coedes) นักประวัติศาสตร์โบราณคดีชาวฝรั่งเศส และในเวลาต่อมาศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ก็ยังเป็นผู้ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับ “พระธรรมจักรศิลา” อายุ เก่าแก่กว่า ๑,๔๐๐ ปีและได้สรุปว่า ข้อความในพระธรรมจักรศิลานี้เกี่ยวข้องกับอริยสัจ ๔ ประโยชน์แห่งมรรค และญาณ ๓ ประการ
 
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) นักประวัติศาสตร์โบราณคดีชาวฝรั่งเศส
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes)
นักประวัติศาสตร์โบราณคดีชาวฝรั่งเศส

     ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติโดยตรงข้อยืนยันดังกล่าวจึงเป็นข้อยืนยันที่มีคุณค่ามาก เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันของ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” และการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายอย่างชัดเจน สมดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านได้ค้นพบและเผยแผ่มาตลอดชีวิตของท่าน เช่นเดียวกับภารกิจที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ดําเนินการมาโดยตลอดนั้น ก็เป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะช่วยยืนยันถึงความมีอยู่ของวิชชาธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานประเภทต่าง ๆ ในภาคปริยัติไม่ว่าจะเป็นในรูปของคัมภีร์พุทธโบราณภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกหรือในรูป ของศิลาจารึกและงานพุทธศิลป์ที่ปรากฏอยู่ทั้งภายในและต่างประเทศ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงไปสู่ภาคปฏิบัติและปฏิเวธให้มากที่สุด และเป็นการยืนยันให้ได้มากที่สุดว่าธรรมกายนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ดีจริงต่อชีวิตและสามารถนํามาปฏิบัติได้จริงนั่นเอง
 
พระธรรมจักรศิลา
พระธรรมจักรศิลา
   
      ในการนี้ ผู้เขียนทราบดีว่า พวกเราเหล่าศิษยานุศิษย์ต่างตั้งใจที่จะสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและบูชาธรรมแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยความปลื้มปีติใจจึงขอให้ทุกท่านตั้งจิตเสมือนหนึ่งว่าพระเดชพระคุณหลวงปู่ได้มาสถิต ณ ศูนย์กลางกายของเราให้ชัดใสสว่าง ดังนี้ย่อมเท่ากับว่าเรากําลังปฏิบัติบูชาท่านไปพร้อมๆ กับการสวดสาธยายหลักธรรมคือบท “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” อานิสงส์ที่เกิดขึ้นจึงย่อมมีมากมายมิอาจประมาณได้และเมื่อเราได้ทําตามคําสอนอย่างถูกต้องต่อเนื่อง วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเราก็จะได้ประสบการณ์ภายใน เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราได้อย่างแน่นอน
 
      ดังนั้นจึงขอให้เราอย่าทอดทิ้งการปฏิบัติธรรมอย่าละความเพียร เราจึงจะพิสูจน์ดังคํากล่าวในพระธรรมคุณที่ว่า “เอหิปสฺสิโกจงมาพิสูจน์เถิด” ต่อไปเราก็จะได้เป็นประจักษ์พยานของการมีอยู่จริงของวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบันเป็น “หลักฐานธรรมกายที่มีชีวิต” และจะได้ช่วยกัน “หมุนกงล้อแห่งธรรม” จากยุคปัจจุบันนี้ไปสู่อนาคตได้อย่างเป็นอัศจรรย์เทอญฯ

ขอเจริญพร

1 ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่มที่ ๔ ภาค ๑ และในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต กล่าวว่า ในวันที่สอง
ของการประทับ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระบรมศาสดาโปรดประทานธรรมิกถาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ด้วยธรรมิกถานี้ทําให้ท่านมหานามะและท่านอัสสชิได้
ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล จนถึงวันแรม ๔ ค่ํา พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บรรลุโสดาปัตติผลครบทั้ง ๕ รูป
ครั้นถึงในวันแรม ๕ ค่ํา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ทําให้พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดบรรลุอรหัตผล





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related