หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)

ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศนอร์เวย์และสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งที่มหาวิทยาลัยออสโลและมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งทั้งสองสถาบันเป็นแหล่งที่มี ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ของคัมภีร์พุทธโบราณอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นจำนวนมาก ที่ค้นพบในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง ดังนั้นในฉบับนี้จึงขอนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง https://dmc.tv/a20714

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 6 พ.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18274 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
 
เรื่อง : พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘


    (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ที่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามเส้นทางค้าขายในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ นั้น ปรากฏมีโบราณวัตถุรวมทั้งศิลาจารึกคาถาทั้งภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน ค้นพบที่อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ประเทศไทย และบางส่วนเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น (ดังที่ปรากฏในภาพ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาตลอดฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
 
(ซ้าย) คัมภีร์พระพุทธศาสนาทองคำ อักษรปัลลวะพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานอินโดนีเซีย
ที่มา http://dl.lontar-library.org/gdl.php?mod=browse&
op=read&id=jkpklontar-ldl-img-63
(ชวา) จารึกฐานรองพระธรรมจักร อักษรปัลลวะ ภาษาบาลีพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม สรุป
คำแปลได้ว่า “ธรรมจักรนี้เป็นของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยอริยสัจ ๔ เมื่อหมุนธรรมจักร ๓ รอบ จะเกิดอาการ
๑๒ ประการ ของสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ” ภาพ : ชะเอม แก้วคล้าย


ศิลาสลักภาพเจดีย์สมัยปัลลวะและจารึกอักษรปัลลวะรัฐเคดาห์ มาเลเซีย พุทธศตวรรษที่ ๑๒
ที่มา http://www.photodharma.net/Malaysia/Bujang-Valley-Museum/Bujang-Valley-Museum.htm

     ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศนอร์เวย์และสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งที่มหาวิทยาลัยออสโลและมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งทั้งสองสถาบันเป็นแหล่งที่มี ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ของคัมภีร์พุทธโบราณอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นจำนวนมาก ที่ค้นพบในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง ดังนั้นในฉบับนี้จึงขอนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง

ศิลาจารึกมนต์ในพุทธศาสนามหายาน อักษรปัลลวะภาษาปรากฤต เกาะมัลดีฟ พุทธศตวรรษที่ ๑๒
(สันนิษฐานว่าเป็นศิลาฤกษ์ใช้ในการก่อสร้างสถานที่สำคัญ)
ที่มา https://www.tamilnet.com

     ขอกล่าวย้อนกลับมาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ หลังการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชราว ๓๐๐ ปี พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นผู้ปกครองอาณาจักรกุษาณะ และมีพระเดชานุภาพด้านการทหารและการปกครองทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ และทรงเป็นผู้กำหนดการใช้มหาศักราชขึ้นพระราชอาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นคันธาระและแผ่ขยายเข้าไปถึงเมืองทูรฟาน1 ในเขตแอ่งทาริมของเอเชียกลาง จนถึงเมืองปาฏลีบุตรในตอนเหนือของชมพูทวีป ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปชวาร์ในประเทศปากีสถานปัจจุบันทรงอุปถัมภ์ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกของนิกายสรวาสติวาท ซึ่งมีการบันทึกพระธรรมคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษรในครั้งนี้ด้วยพระพุทธศาสนาจึงเผยแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็วตามเส้นทางการค้าขายทางบก ซึ่งต่อมาอีกหลายศตวรรษ พระพุทธศาสนาก็เผยแผ่ไปตามเส้นทางการค้าทางทะเล วรรณคดีพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในยุคนี้ ในด้านพุทธศิลป์คันธาระก็มีความเจริญถึงขีดสุดในยุคของพระองค์เช่นกัน
 

เหรียญกษาปณ์ พระเจ้ากนิษกะ พ.ศ. ๖๒๑-๖๔๔ (127-151 A.D.) อาณาจักรกุษาณะ
ที่มา http://humshehri.org


ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พุทธศตวรรษที่ ๗
ที่มา http://www.thefridaytimes.com

     หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญของยุคนี้ คือ ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขุดพบที่มหาสถูปพระเจ้ากนิษกะนอกกรุงเปชวาร์ ประเทศปากีสถาน ฝาผอบเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับบนดอกบัวพร้อมเทวดา ๒ องค์ จารึกที่ผอบเป็นอักษรขโรษฐีมีใจความว่า “ทาสชื่ออคิสาเลาผู้ควบคุมงานที่วิหารกนิษกะในอารามของมหาเสนา” ปัจจุบันผอบเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์เปชวาร์ ส่วนพระบรมสารีริกธาตุนั้นรัฐบาลอังกฤษอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓


แคว้นคันธาระ เมืองเปชวาร์ แคว้นแบกเทรีย และบริเวณใกล้เคียง อันเป็นประตูเส้นทางการค้าขายโบราณไปสู่แอ่งทาริมและจีนทางตะวันออก
ที่มา http://pro.geo.univie.ac.at/

     ร่องรอยอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองสำคัญ ๆ ของคันธาระและแบกเทรีย ได้แก่ เมืองบาช บามิยัน ฮัดดา ในอัฟกานิสถานปัจจุบัน และในแถบสวาด เมืองเปชวาร์ ตักสิลา ของปากีสถาน
 

ด้านข้างผอบดุน เป็นรูปกษัตริย์ในราชวงศ์กุษาณะสองข้างเป็นเทพดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในศาสนาของอิหร่าน
ที่มา http://tongiaovadantoc.com/

ในดินแดนที่ได้รับพระพุทธศาสนาไว้นี้ พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกเก็บรักษาไว้ในรูปคัมภีร์โบราณ ซึ่งทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เปลือกไม้เบิร์ชและกระดาษ สำหรับอักษรที่ใช้ในการจารคัมภีร์ คืออักษรขโรษฐี ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาปรากฤตและภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาคานธารี คัมภีร์ที่ยังคงเหลือมาถึงปัจจุบันมักพบซุกซ่อนอยู่ในเขตโบราณสถานและตามถ้ำบนภูเขา นับเป็นเอกสารทางพระพุทธศาสนาที่จารึกพระธรรมคำสอนที่เก่าแก่ที่สุด ตัวคัมภีร์เปราะบางและพร้อมที่จะสลายตัวเป็นฝุ่นผงเมื่อถูกจับต้อง จึงต้องใช้กระบวนการพิเศษในการคลี่ม้วนคัมภีร์เพื่อการอ่านศึกษา ซึ่งการเข้าถึงคัมภีร์โบราณเหล่านี้เปิดให้เฉพาะนักวิชาการที่มีหน้าที่เท่านั้น ปัจจุบันคัมภีร์ดังกล่าวส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ในสถาบันวิชาการระดับโลก เช่นห้องสมุดแห่งชาติอังกฤษ3 สถาบันสเคอเยน4 ประเทศนอร์เวย์ เป็นต้น
 
 

พระพุทธรูปใหญ่ที่บามิยัน อัฟกานิสถานถูกทำลายโดยกลุ่มตอลิบาน (ฏอลิบาน)
ที่มา http://www.fravahr.org


(ซ้าย) คัมภีร์เปลือกไม้เบิร์ช อักษรขโรษฐีภาษาคานธารี พุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ที่มา http://jayarava.blogspot.com
(ขวา) คัมภีร์มหายานสูตร พบที่บาจัวร์ ปากีสถานเปลือกไม้เบิร์ช อักษรขโรษฐี ภาษาคานธารี

     นับว่าเป็นบุญวาสนาของพวกเราชาวพุทธ และด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย ที่ปัจจุบันนี้ยังมีผู้อนุรักษ์เก็บรักษาและสนับสนุนให้คณะนักวิจัยของสถาบันดีรีมีโอกาสทำการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง จากข้อมูลปฐมภูมิเหล่านั้น ซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิม ทั้งนี้เพื่อทำความจริงให้ปรากฏแก่ชาวโลก (โปรดติดตามฉบับต่อไป)

1
Turfan
2 Hadda
3 British Library
4 Schøyen
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related