หนีน้ำอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีสติ

คลิปปลาวาฬ ตอนที่ 5 รู้สู้ Flood วิธีการ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ ในการอพยพ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวออกจากบ้าน การเดินทาง ไปจนถึงการเข้า 'Check-in' ที่ศูนย์อพยพอย่างปลอดภัย เพื่อให้คุณสามารถเตรียมการเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และเป็นผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด https://dmc.tv/a12529

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 2 พ.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18264 ]
อพยพอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีสติ
 
ใจเย็นยามอพยพ
 
หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆเริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว
 
หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆเริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว

วิธีการ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ ในการอพยพหนีน้ำท่วม 

        หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆ เริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว บางครอบครัวเริ่มทยอยอพยพออกกันบ้างแล้ว บางครอบครัวก็ยังอยู่กับบ้านตามปกติสำหรับใครที่ยังอยู่กับบ้านต้องพิจารณา 3 สิ่งที่ต้องสังเกต  เช็คระดับน้ำทั้งบ้านเราเองและใกล้เคียง สุขภาพของคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วย คนชรา และดูความพร้อมที่เตรียมไว้หากวันนี้สถานการณ์ของคุณอยู่ในกรณีที่คุณคิดว่าควรอพยพเราจะพาคุณไปเตรียมตัวกัน
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
        ขั้นตอนการเตรียมตัวอพยพถ้าจะจดจำให้ง่ายก็เหมือนกับการไปเที่ยวเริ่มจากคำว่าไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
จะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ
 
จะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่?
 
        การอพยพส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความหมายของคุณว่าจะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ ไปต่างจังหวัด ไปต่างประเทศ หรือไปที่ศูนย์อพยพ การเตรียมของที่จำเป็นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณว่างแผนอพยพ 5 วัน 7 วัน 2 อาทิตย์ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่อพยพ พร้อมกับคุณด้วยทั้งนี้ควรเตรียมของทุกอย่างใส่กระเป๋าล่วงหน้าเอาไว้ถ้ารวมเป็นใบเดียวได้ก็จะดีที่สุดเมื่อถึงยามฉุกเฉิน จริงๆ เพียงคุณคว้ากระเป๋าใบนี้คุก็จะสามารถออกจากบ้านได้เลยทันที
 
สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ
 
สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ
 
เอาอะไรไปบ้าง ?
 
        สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ของความช่วยเหลือ เสื้อชูชีพ อย่าลืมว่าควรเตรียมแต่พอดีไม่ให้หนักเกินไปจนเป็นภาระ เมื่อเตรียมของเสร็จก็เป็นขั้นตอนการปิดบ้าน

ขั้นตอนการปิดบ้านหนีน้ำท่วม

        ยกของสำคัญขึ้นสูง
        ตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมด
        ปิดแก๊ส
        อุดช่องน้ำ
        จดบันทึกรายการทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อไว้ตรวจสอบให้ครบตอนกลับมาแล้วอย่างลืม
        ล็อกบ้านให้เรียบร้อยค่ะ

        ศูนย์อพยพส่วนใหญ่จะแยกส่วนระหว่างผู้ประสบภัยกับสัตว์เลี้ยง เพื่อควบคุมการจัดการและความสะอาด ดังนั้น เพื่อความสบายใจของคนรักสัตว์ ลองติดต่อหาศูนย์อพยพสัตว์ เพื่อนำสัตว์เลี้ยงของคุณไปฝากไว้ระหว่างช่วงอพยพ 

        ถ่ายภาพบ้านของคุณที่ถูกน้ำท่วมเอาไว้ และควรถ่ายให้เห็นบ้านเลขที่ด้วยสำหรับใช้เป็นหลักฐานการเบิกประกันหรือค่าชดเชยต่างๆ ภายหลัง จดบันทึกหรือพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ ติดตัวไว้ หากจดจำหมายเลขที่สำคัญได้จะดีที่สุด

 
ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม
 
ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม
 
จะไปอย่างไร?
 
        หากคุณตัดสินใจที่จะอพยพ ควรจะทำตั้งแต่น้ำยังไม่มา หรือไม่สูงมาก ออกเดินทางได้สะดวก ถ้าหากน้ำสูงแล้วการอพยพจะเป็นไปได้อยากกว่าที่คุณคิด ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม และควรนัดหมายจุดนัดพบกับสมาชิกทั้งหมดให้พร้อม เผื่อกรณีพัดหลง

        ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ กรณีที่ต้องเดินลุยน้ำ ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในน้ำก่อนทุกครั้ง และหลีกเลียงการเดินใกล้แห่งกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิด หากเส้นทางที่คุณอพยพเริ่มมีน้ำมาบ้างไม่ควรเดินตามเส้นทางน้ำไหล เพราะน้ำตื้นก็ทำให้เราเสียหลักได้ การเดินลุยน้ำจะเดินยากกว่าปกติ

        ควรพกขนมประเภทแป้งหรือน้ำตาลเพื่อเพิ่มพลังงาน และควรพกไม้ขนาดยาวเพื่อนำทางป้องกันการตกหลุมที่เรามองไม่เห็น หากพบเจอจระเข้ หรือ งู ในขณะที่เรายังเดินลุยน้ำอย่าตกใจแล้ววิ่ง เพราะยิ่งเป็นอันตราย ให้ยืนเฉยๆ จนกว่าจระเข้จะผ่านไป

        แต่ในกรณีที่จระเข้จะทำร้ายให้ยื่นไม้เข้าปาก เพราะธรรมชาติการกินเหยื่อของจระเข้จะงับ และลากเหยื่อไปกินในน้ำ ระหว่างที่จระเข้งับไม้นั้นให้เราวิ่งไปอย่าระมัดระวัง

        เมื่อถึงที่หมาย ที่นี้เราขอยกตัวอย่างที่ศูนย์อพยพ ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดก่อนจะเข้าไปที่หมายของคุณ สิ่งที่ต้องใช้แน่ๆ เพื่อลงทะเบียนเข้าศูนย์อพยพ คือ หลักฐานยืนยันการเป็นตัวตนของคุณ เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง ควรเตรียมมาจากบ้านให้พร้อม
 
คิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน
 
คิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน
 
        ขั้นตอนต่างๆขึ้นอยู่กับศูนย์อพยพ โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อไปอยู่กับผู้ประสบภัยคนอื่นๆไม่ควรเก็บอาหารสดไว้กินข้ามมือเพราะอาหารอาจบูดและเกิดโรคได้ หากพบอาหารบูดไม่เพียงทิ้งอาจแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อระงับการแจกอาหารนั้นให้ผู้อื่น ล้างมือก่อนและหลังรับประท่านอาหาร ปิดปากทุกครั้งที่ไอ หรือจาม คำนึงถึงความสะอาดส่วนรวม ในการรักษาความสะอาดของตัวเองให้ดีที่สุด หากเจ็บป่วย หรือส่งสัยว่าจะมีโรค ให้รีบพบหน่วยแพทย์ทันที่ ป้องกันเชื่อโรคแพร่กระจาย ขอให้คิดอยู่เสมอว่าในศูนย์อพยพไม่ได้มีแต่เราผู้เดียว ยังมีคนอื่นอีกมาก ทั้งผู้ประสบภัยด้วนกัน อาสาสมัคร หรือเจ้าหน้าที่ ถ้าเราคิดถึงแต่ตัวเอง ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยผู้ประสบภัย แต่หากเราคิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
 
 
คลิกชมวิดีโอ
ใจเย็นยามอพยพ


http://goo.gl/zTCfK


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related