อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม

ย้อนไปนานนับพันปี บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ตลอดจนเขตสิบสองปันนาของจีนและบางส่วนของพม่าและลาว ผู้คนในถิ่นนี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง อักษรที่นิยมใช้เขียนวรรณคดีทางโลก คือ อักษรฝักขาม ส่วนอักษรที่นิยมใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ อักษรธรรม จึงเรียกอักษรธรรมที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาว่า “อักษรธรรมล้านนา” https://dmc.tv/a21410

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 9 พ.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18401 ]
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
 
เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙
 

     ย้อนไปนานนับพันปี บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ตลอดจนเขตสิบสองปันนาของจีนและบางส่วนของพม่าและลาว ผู้คนในถิ่นนี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง อักษรที่นิยมใช้เขียนวรรณคดีทางโลก คือ อักษรฝักขาม ส่วนอักษรที่นิยมใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ อักษรธรรม จึงเรียกอักษรธรรมที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาว่า “อักษรธรรมล้านนา”

     สมัยพระเจ้าติโลกราช พระมหากษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ ๙ ถือเป็นยุคทองของภาษาและวรรณกรรมล้านนาทั้งยังเป็นยุคที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง เนื่องด้วยพระองค์ทรงส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีและทรงสนับสนุนให้พระภิกษุ-สามเณรปฏิบัติตามหลักพระวินัยอย่างเคร่งครัดจึงทำให้คณะสงฆ์มีความเชี่ยวชาญและแตกฉานในพระไตรปิฎก จนสามารถจัดสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินไทยในปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) แล้วใช้อักษรธรรมล้านนาจารึกพระไตรปิฎกบาลีลงในคัมภีร์ใบลาน และได้แจกจ่ายเผยแผ่ไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองสิบสองปันนา เมืองหลวงพระบาง และหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านนา ถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของพระพุทธศาสนาในล้านนาสืบต่อมาอีกหลายยุคสมัย
พยัญชนะตัวเต็ม ๓๓ ตัว จัดแบ่งวรรค ตามการแบ่งพยัญชนะในภาษาบาลี


การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรธรรม

     ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหาเถระผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและรวบรวมคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา ผู้เป็นที่เคารพรักและนับถือของสาธุชนตลอดจนเจ้าผู้ครองนคร คือครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถรหรือครูบามหาเถร ผู้แตกฉานในอรรถบาลีและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีพื้นเพเดิมอยู่ที่เมืองแพร่ (จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน) ได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาอักขระล้านนาตั้งแต่เยาว์วัย ณ วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ เมื่อครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า “กัญจนภิกขุ” ด้วยความสนใจในวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านจึงเดินทางไปเมืองเชียงใหม่เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนาธุระเพิ่มเติมและเนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนามากมาย ท่านจึงได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา
 

     ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (จ.ศ. ๑๑๘๘) เจ้าหลวงแผ่นดินเย็นพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีพระราชศรัทธาจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้จีรังยั่งยืนในแว่นแคว้น ทรงปรารถนาจะเจริญรอยตามพระพุทธโฆษาจารย์ พระภิกษุชาวอินเดีย ที่เดินทางไปรวบรวมคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกที่เกาะลังกา เพื่อนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนชมพูทวีปอีกครั้ง จึงทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์สนับสนุนครูบากัญจน-อรัญญวาสี พระมหาราชครู และพระมหาเถระผู้ทรงคุณวุฒิแห่งเมืองเชียงใหม่ ให้ร่วมกันตรวจสอบและรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกโดยเฉพาะคัมภีร์พระวินัยและอรรถกถาที่ยังขาดตกบกพร่อง แล้วเขียนเป็นหมวดหมู่ขึ้น เมื่อแล้วเสร็จได้ทำการฉลองธรรมที่วัดพระสิงห์ต่อเนื่องกัน ๗ วัน ๗ คืน
 

วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

     หลังจากที่ครูบากัญจนอรัญญวาสีได้รวบรวมคัมภีร์ในเมืองเชียงใหม่ ท่านได้รับอาราธนาจากเจ้าหลวงอินทรวิชัยราชา เจ้าผู้ครองเมืองแพร่ ให้อัญเชิญคัมภีร์อักษรธรรมจากเชียงใหม่มาประดิษฐาน ณ วัดสูงเม่น เมืองแพร่ ตลอดเส้นทางจากเมืองเชียงใหม่สู่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองนครและสาธุชนในเมืองที่ท่านเดินทางผ่านต่างให้การต้อนรับด้วยความเคารพ แสดงให้เห็นว่าเจ้าผู้ครองนครและพุทธศาสนิกชนในสมัยก่อนให้ความเคารพในพระธรรม และให้ความสำคัญต่องานของพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
 

ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ศิลปะล้านนาประยุกต์ซึ่งเจ้าหลวงเมืองแพร่และพระชายาสร้างถวายวัดสูงเม่น

     แม้ครูบากัญจนอรัญญวาสีจะเดินทางกลับมาเมืองแพร่อันเป็นพื้นเพเดิมของท่านแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังเดินหน้ารวบรวมและสร้างสรรค์คัมภีร์ใบลานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งท่านเขียนตำรามูลกัมมัฏฐานขึ้นที่เมืองแพร่และออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา อาทิ ไปถึงเมืองน่านเพื่อร่วมตรวจชำระคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ธรรมที่วัดช้างค้ำ และไปเมืองหลวงพระบางเพื่อสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกที่วัดวิชุนราช โดยมีเจ้าหลวงชื่อมังธาเป็นศาสนูปถัมภก
 

ห่อผ้าบรรจุคัมภีร์ใบลาน ณ วัดช้างคำ จังหวัดเชียงใหม่

     หากศึกษาตัวอย่างคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสูงเม่น ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จะพบข้อมูลที่น่าสนใจเกีย่วกบัการสร้างคัมภีร์ตังแต่ชื่อผู้สร้างปีที่สร้าง จำนวนแผ่นลาน จารจารึกไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะข้อมูลของสถานที่ที่จารคัมภีร์ฉบับนั้น ๆ ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญในการศึกษาภาษาบาลี ประวัติศาสตร์ และพระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทย
 
 

     ใบลานพระไตรปิฎกบาลีสีลขันธวรรค ทีฆนิกาย อักษรธรรมล้านนา จากวัดสูงเม่น จาร เมื่อจุลศักราช ๑๑๙๘ (พ.ศ. ๒๓๗๙) สร้างที่เมืองน่าน หนึ่งมัดมี ๑๑ ผูก รวม ๒๘๖ แผ่น ปรากฏชื่อผู้จาร ปีที่จาร ลานหน้าสุดท้ายของผูกแรกจารข้อความว่า ข้าน้อยแสนไชยลาบ จารคัมภีร์ผูกนี้เสร็จในเดือน ๙ ปีรวายสัน (ปีตามปฏิทินล้านนา) จุลศักราช ๑๑๙๘ พร้อมระบุคำอธิษฐานจิตขอให้เหตุแห่งการสร้างคัมภีร์ฉบับนี้ (ผลบุญที่ทำ) เป็นปัจจัยส่งให้ถึงพระนิพพาน
 

     แผ่นลานจารพระไตรปิฎกบาลีสีลขันธวรรค ทีฆนิกาย อักษรธรรมล้านนา จากวัดสูงเม่น จารเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๘ (พ.ศ. ๒๓๗๙) สร้างที่เมืองแพร่ หนึ่งมัดมี ๑๓ ผูก รวม ๓๕๘ แผ่น หน้าสุดท้ายของผูกแรกจารข้อความว่า คัมภีร์ฉบับนี้สร้างโดยพระมหาเถรเจ้ากัญจนอรัญญวาสี และสานุศิษย์แห่งเมืองแพร่ โดยราชวงศ์แห่งเมืองหลวงพระบางมีศรัทธาพร้อมกันสร้างขึ้น
 
 

     เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ว่าครูบากัญจนอรัญญวาสมี หาเถรเดนิทางไป ณ ที่แห่งใด ท่านจะมีส่วนสำคัญในการตรวจชำระและสร้างคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมไปถึงศาสนสถานสำคัญ ณ ที่แห่งนั้นให้เจริญรุ่งเรือง ในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชิญคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นจากดินแดนต่าง ๆ ในล้านนากลับมาประดิษฐานรวบรวมไว้ ณ หอไตร วัดสูงเม่นจังหวัดแพร่ จำนวนหลายพันมัด ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาขยายออกไปในวงกว้างนับเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด อีกทั้งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสาธุชน ผู้ปกครองบ้านเมือง และคณะสงฆ์ในแต่ละท้องถิ่นให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง จึงทำให้ผลงานอันล้ำค่า คือ คัมภีร์ใบลานตกทอดมาถึงชาวพุทธในปัจจุบัน ดังนั้นจึงถือเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกันสานต่อมโนปณิธานในอันที่จะดูแลปกป้องคำสอนของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยเฉกเช่นเดียวกับบรรพบุรุษไทยในกาลก่อนที่ทุ่มเทกายและใจรักษาไว้อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related