อาเซียนในเวทีโลก

บทบาทของอาเซียนในเวทีโลก อาเซียนกับสหประชาชาติ อาเซียนกับประเทศต่างๆ อาเซียน+6=? https://dmc.tv/a16923

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 30 ต.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18314 ]

อาเซียน

อาเซียน 10 ประเทศ

บทบาทของอาเซียนในเวทีโลก

อาเซียน


นับตั้งแต่ก่อตั้งมา อาเซียนสถาปนาความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจากับประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเดียวกันและต่างทวีปหลายประเทศ ดังนี้คือ

     พ.ศ.2517 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศแรก
     พ.ศ.2518 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศนิวซีแลนด์
     พ.ศ.2520 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศญี่ปุ่นหลังจากมีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2516
     พ.ศ.2520 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
     พ.ศ.2534 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศจีนและเกาหลีใต้
     พ.ศ.2535 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศอินเดีย
     พ.ศ.2539 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศรัสเซีย

อาเซียนกับออสเตรเลีย

     ออสเตรเลียเป็นประเทศศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในฐานะประเทศคู่เจรจาเมื่อ พ.ศ.2517 และดำเนินความสัมพันธ์อย่างราบรื่นมาโดยตลอด มีความร่วมมือกันในหลายๆ ด้าน เช่น การลงนามในปฏิญญาร่วมอาเซียน-ออสเตรเลียเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN -Australia Joint Declaration for to Combat International Terrorism) เมื่อปี พ.ศ.2547 ความตกลงเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) เมื่อปี พ.ศ.2552 ออสเตรเลียเสนอให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2553 เพื่อยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

อาเซียนกับนิวซีแลนด์

      เดิมนิวซีแลนด์กับอาเซียนมีความสัมพันธ์ในฐานะผู้ให้และผู้รับ ต่อมาจึงสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่เจรจากับอาเซียนเป็นลำดับที่สองต่อจากประเทศออสเตรเลีย อาเซียนและนิวซีแลนด์ร่วมมือกันในหลายๆด้านเช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลีย เช่น การลงนามใน ปฏิญญาร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN-New Zealand Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) เมื่อปี พ.ศ.2548 ความตกลงเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) เมื่อปี พ.ศ.2552
 
    ประเทศไทยเสนอให้นิวซีแลนด์เข้ามามีบทบาทเรื่องการเชื่อมโยงในอาเซียนในด้านการเชื่อมโยงทางทะเล การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยนิวซีแลนด์เสนอโครงการสำคัญเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการให้ทุนนักศึกษาอาเซียน ปีละ 170 ทุน เป็นเวลา 5 ปี โครงการแลกเปลี่ยนนักธุรกิจรุ่นใหม่ โครงการจัดการภัยพิบัติ และโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการเกษตร

อาเซียนกับญี่ปุ่น


     ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 และสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.2520 ในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งและผู้ลงทุนอันดับสองของอาเซียน จึงได้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.2523

      พ.ศ.2546 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นสมัยพิเศษ (ASEAN-Japan Commemorative Summit) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียนกับญี่ปุ่น
 
     นอกจากความรว่มมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ญี่ปุ่นนยังให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก (Japan East Network of Students and Youths: JENESYS) โดยเชิญเยาวชนจากประเทศในเอเชียตะวันออกมาแลกเปลี้ยนที่ญี่ปุ่นปีละประมาณ 6,000 คน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ.2550-2555)

อาเซียนกับแคนาดา

     แม้ว่าอาเซียนและแคนาดาได้สถาปนาความสัมพันธ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ทว่าก็ประสบภาวะชะงักงันไปในปี พ.ศ.2540 เนื่องจากอาเซียนรับเมียนมาร์ (หรือชื่อเดิมในเวลานั้นคือพม่า) เข้าเป็นสมาชิก ซึ่งแคนาดาไม่เห็นด้วยและคว่ำบาตรพม่า เนื่องจากพม่าปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิเสธผลการเลือกตั้งที่พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะ รวมทั้งได้กักขังนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรค มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
 
    อาเซียนและแคนาดารื้อฟื้นความสัมพันธ์อีกครั้งในปี พ.ศ.2547 จนกระทั่งมีการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับแคนาดา [ASEAN Post Ministerial Conference (PMC)+1] ในปี พ.ศ.2552 โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบ ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา (Joint Declaration on the ASEAN-Canada Enhanced Partnership) ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการดำเนินความสัมพันธืกันในอนาคต โดยประเทศไทยรับหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ.2552-2554)

     ปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยจึงเป็นผู้ประสานงานเป้นเจ้าภาพจัดประชุมหารือระหว่างอาเซียนและแดนาดา (ASEAN-Canada Dialogue) ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ

อาเซียนกับสหรัฐอเมริกา

     อาเซียนสหรัญอเมริกามีความสัมพันธ์เป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกสหรัฐอเมริกาเน้นการหารือและส่งเสริมด้านการเมืองและความมั่นคงกับอาเซียน ในขณะที่อาเซียนต้องการความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังคงให้ความสำคัญกับอาเซียนในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ โดยมีการแถลงวิสัยทัศน์ว่าด้วยความเป้นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2548

     ระหว่างที่ไทยทำหน้าที่ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกาอาเซียนและสหรัฐอเมริกาได้จัดทำ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-สหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (ASEAN-United States of America Joint Declaration for Cooperetion to Combat International Terrorism) ในปี พ.ศ.2545 รวมทั้งร่วมลงนามในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจใน กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน (ASEAN-US Trade and Investment Framework Arrangement-TIFA) ในปี พ.ศ.2549

     อาเซียนและสหรัฐอเมริกาจัดให้มีการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2552 ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นในฐานะหุ้นส่วนในการเผชิญและร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ

อาเซียนกับสหภาพยุโรป

     สหภาพยุโรปถือเป็นคู่เจรจาอย่างไม่เป็นทางการของอาเซียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันในทุกด้านและเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียน ทั้งสองฝ่ายจึงจัดให้มีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Commemorative Summit) เมื่อปี พ.ศ.2550 ที่สิงคโปร์

     ปัจจุบันสหภพาพยุโรปให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น โดยในปี พ.ศ.2550 ทั้งสองฝ่ายได้รับรอง ปฏิญญานูเรมเบิร์กว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน (Nuremberg Declaration on an EU-ASEAN Enhanced Partnership) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมในอนาคต

อาเซียนกับจีน

       อาเซียนกับจีนเริ่มมีความสัมพันธ์กันเมื่อปี พ.ศ.2534 และยกสถานะเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2549 มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิอในทุกด้านโดยเมื่อปี พ.ศ.2546 จีนเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประเทศแรกที่แสดงความพร้อมในการลงนาม พิธีสารต่อสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Protocol to the Treaty on Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone)

     ในด้านเศรษฐกิจ จีนก็เป็นประเทศแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียน ซึ่งมีผลสมบูรณ์ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2553 (เฉพาะประเทศสิงคโปร์ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บูรไน และไทย) และจีนเป็นแระเทศที่ 3 ที่ร่วมลงนามจัดตั้งศูนย์อาเซียนในประเทศของตน
 
     นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ.2553 อาเซียนกับจีนยังได้ลงนามในแผนพัฒนาร่วมกันในอนาคต โดยประเทศไทยได้เสนอแนะในเรื่องสำคัญ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ภัยพิบัติ เป็นต้น

อาเซียนกับเกาหลีใต้

     หลังจากสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2534 อาเซียนและเกาหลีใต้ได้ร่วมลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือที่รอบด้าน

     ต่อมาในปี พ.ศ.2552 อาเซียนและเกาหลีใต้ได้ลงนามจัดตั้งศูนย์อาเซียนเกาหลี ที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้ารการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน

     ในปี พ.ศ.2553 อาเซียเกาหลีใต้ได้ยกระดับความสัมพันธ์ด้วยการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน-เกาหลีใต้ในอนาคต

อาเซียนกับอินเดีย

      อาเซียนกับอินเดียมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2535 โดยมี เอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดียเพื่อสันติภาพความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (ASEAN-India Partnership for Peace, Progress and Shared Prosperity) ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนการปฏิบัติการ พ.ศ.2553-2558 โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน-อินเดียและได้ตั้งเป้าหมายขยายการค้าเป็น 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2555 อีกด้วย.
 
     นอกจากนี้อินเดียยังแสดงความพร้อมในการสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างกันด้วยการขยายทางหลวงสามฝ่ายคือ ไทย-พม่า-อินเดีย ไปยังลาวและกัมพูชา รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 100 ทุน เป็นระยะเวลา 5 ปีอีกด้วย

อาเซียนกับรัสเซีย

     อาเซียนและรัสเวียสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือ (Consultative Ralations) กับอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2534 และพัฒนามาเป็นคู่เจรจาเมื่อปี พ.ศ.2539 มีความร่วมมือกันในหลายๆด้าน เช่น ปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Joint Declaration of the Foreign Ministers of the Russian Federation and the Association of Southeast nations on Partnership for peace and Security, Prosperrity and Devolpment in the Asia-Pacific Region) ในปี พ.ศ.2546 แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN-Russia Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) นอกจากนั้นรัสเซียยังได้มอบเงินประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งกองทุน ASEAN-Russia Dialogue Partnership Financial Fund: DPFF เพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่างๆอีกด้วย

อาเซียนกับสหประชาชาติ

     อาเซียนกับสหประชาชาติเริ่มต้นความสัมพันธ์กันเมื่อปี พ.ศ.2513 โดยเป็นความร่วมมือด้านวิชาการ ต่อมาสหประชาชาติพยายามส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรระดับภูมิภาคทั่วโลก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาค

     อาเซียนและสหประชาชาติเคยจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดเมื่อปี พ.ศ.2553 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนา โดยเฉพาะการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา และสิทธิมนุษยชน การป้องกันปัญหาอาชญากรข้ามชาติ การก่อการร้าย และยาเสพติด การเสริมสร้างศักยภาพประเทศสมาชิกอาเซียนในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพและการบริหารจัดการภัยพิบัติ

อาเซียน+3=?

     เมื่อปี พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทางการเงินขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีการประชุมผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนกับผู้นำของอีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนับแต่นั้นเป้นต้นมา จึงจัดประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three) ในเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี

อาเซียน+6=?

     ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน+3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 ญี่ปุ่นเสนอให้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ (Comprehensive Economic Partnership in East Asia:CEPEA) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อาเซียนมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ เมืองเซบู แระเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2550 โดยจัดให้มีการประชุมครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง 15-16 มิถุนายน พ.ศ.2550

คำนี้น่ารู้

     คว่ำบาตร (boycott) แปลว่า การที่ประเทศหนึ่งยุติการติดต่อกับอีกประเทศในด้านนใดด้านหนึ่ง เช่น การค้าการเมือง เพื่อเป็นการลงโทษ ต่อรอง ตักเตือน หรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่อแนวทางหรือนโยบายของประเทศที่ถูกคว่ำบาตรนั้น

      ในภาษาอังกฤษ "Boycott" มีที่มาจากชื่อของ กัปตันชาร์ลล์ คันนิงแฮม บอยคอต เจ้าของที่ดินชาวไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นคนแรกในโลกที่ถูกคว่ำบาตร เนื่องจากเขาไล่ผู้เช่าที่ดินทำกินออกไปอย่างไร้เมตตา ชาวบ้านจึงรวมตัวกันประท้วงไม่ยอมทำงานให้และไม่คบหาสมาคมกับครอบครัวนี้ ชื่่อของเขาจึงถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะจนถึงทุกวันนี้

      ส่วนคำว่า "คว่ำบาตร" ในภาษาไทยที่มาจากศาสนพุทธ ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถมีมติลงโทษคว่ำบาตรอุบาสกอุบาสิกาได้ เพื่อให้มีสติสำนึกในความผิดที่กระทำต่อศาสนา การคว่ำบาตรในทางพระวินัยจึงถือเป็นการตักเตือนด้วยความปรารถดี โดยพระสงฆ์จะทำการคว่ำบาตรได้เฉพาะกับชาวพุทธเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

 
คัดลอกจากหนังสือประชาคมอาเซียน โดย พัชรา โพธิ์กลาง

----- พบกันใหม่ในตอนต่อไป -----


http://goo.gl/DsTbua


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related