เป็น อยู่ คือ ... วิถีชาวไทย

ศาสนา ประเทศไทยให้เสรีในการนับถือศาสนา คนไทยจึงเลยเลือกถือศาสนาต่างๆได้ตามความสมัครใจ ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อการมาช้านาน จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ส่วนใหญ่ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน https://dmc.tv/a17988

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 12 พ.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18280 ]

เป็น  อยู่  คือ ...วิถีชาวไทย

 

        ประเทศไทยให้เสรีในการนับถือศาสนา  คนไทยจึงเลยเลือกถือศาสนาต่างๆได้ตามความสมัครใจ  ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ  ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อการมาช้านาน  จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ส่วนใหญ่  และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน

 

การนับถือศาสนา  ของประเทศไทย

 

        คนไทยประมาณร้อยละ  94  นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  และประมาณร้อยละ  5    นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง  ศาสนาคริสต์มีประมาณร้อยละ  0.7  นอกจากนี้ยังมีชาวซิกข์  ชาวฮินดูและอื่นๆ  เช่น  เต๋า  ขงจื๊อ  ยิว

เกร็ดความรู้

        พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย  ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 1826

      ประเทศไทยมีภาษาไทย  เป็นภาษาราชการ  มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  ส่วนในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่น  มีสำเนียงการพูดและการใช้คำศัพท์บางคำที่แตกต่างกันไป  แบ่งหลักๆได้เป็นภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคใต้  แต่เราใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ

      เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย  มีพยัญชนะ  44  รูป  (21  เสียง)  (32  เสียง)  วรรณยุกต์  4  รูป  (5  เสียง)พยัญชนะไทยจะเขียนเรียงตัวไปตามแนวนอน  จากซ้ายไปขวา  ส่วนสระจะอยู่หน้า  บน  ล่าง  และหลังพยัญชนะ 

ได้แก่

พยัญชนะ ไทย

 

เสียงสระและรูปวรรณยุกต์


สระและวรรณยุกต์ไทย

 

         ภาษาไทยมีตัวเลขไทยใช้เป็นของตัวเอง  แต่โดยทั่งไปนิยมใช้เลขอารบิก

 

ตัวเลขไทย

 

 

     สวัสดี  เป็นคำทักมายของคนไทย  เป็นวัฒนธรรมการทักทายเมื่อพบปะ  หรือเมื่อต้องการบอกล่า  คนไทยมักกล่าวคำ  สวัสดี  พร้อมๆกับการไหว้  ซึ่งเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน  นอกจากนี้การไหว้ยังใช้ประกอบเมื่อต้องการกล่าวคำว่า  “ขอบคุณ”  หรือ  “ขอโทษ”  ได้ด้วย

 

คำทักทาย ของชาวไทย

       การไหว้  เป็นการแสดงมิตรภาพ  มิตรไมตรีอันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย  เวลาไหว้เราก็ยกมือทั้งสองข้างขึ้นประนมให้นิ้วชิดกันและปลายนิ้วไม่แยกออกจากกัน

     การศึกษาของคนไทยในระบบมี  2  ระดับ  คือ  การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประกอบด้วย

     ระดับก่อนประถมศึกษา  สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  ใช้เวลา  3  ปี

     ระดับประถมศึกษา  ใช้เวลาเรียน  6  ปี

     ระดับมัธยมศึกษา  แบ่งเป็นตอนต้น  3  ปี  และตอนปลาย  3  ปี  ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีแยกประเภทเป็นสายสามัญเพื่อปูพื้นฐานการศึกษาต่อ  กับสายอาชีวศึกษาที่เน้นความรู้ด้านทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ

การศึกษาระดับอุดมศึกษา  มี  2  ระดับ  คือ  ต่ำกว่าปริญญา  (อนุปริญญา)  และระดับปริญญา

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวไทย
 

http://goo.gl/Vf4cbS


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related