เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวพม่า

ประชากร พม่าเป็นประเทศที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไว้มากถึง 135 กลุ่ม ประกอบด้วยเชื้อชาติหลักซึ่งมีจำนวนประชากรค่อนข้างมากและมีความเป็นมาทางชาติพันธุ์เด่นชัด 8 กลุ่ม ได้แก่ พม่า ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ยะไข่ จีน มอญ อินเดีย กะฉิ่น แต่ละกลุ่มมีเอกลักษณ์ด้านภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกันไป https://dmc.tv/a18139

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 9 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18295 ]

เป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวพม่า


ประชากร เผ่าต่างๆ  ประเทศพม่า

     พม่าเป็นประเทศที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไว้มากถึง  135  กลุ่ม  ประกอบด้วยเชื้อชาติหลักซึ่งมีจำนวนประชากรค่อนข้างมากและมีความเป็นมาทางชาติพันธุ์เด่นชัด  8  กลุ่ม  ได้แก่  พม่า  ไทใหญ่  กะเหรี่ยง  ยะไข่  จีน  มอญ  อินเดีย  กะฉิ่น  แต่ละกลุ่มมีเอกลักษณ์ด้านภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกันไป

มอญ  

มอญ

     เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณประเทศพม่า  และมีประวัติศาสตร์ร่วมกันพม่ามายาวนานจนยากจะแยกออก  ชาวมอญพัฒนาศิลปวัฒนธรรมขึ้นจนเจริญรุ่งเรือนและมีระเบียบแบบแผนเป็นของตัวเอง  แม้เมื่อพม่าเข้ายึดครองสำเร็จ  ก็ได้รับเอาภาษาและศิลปวัฒนธรรมมอญไปจนกลายเป็นของตัวเอง  ปัจจุบันชาวมอญในพม่ามีจำนวนไม่มากนัก  คนรุ่นหลังจำนวนมากหันมาใช้ภาษาพม่า  และคิดว่าตนเป็นชาวพม่าแล้ว

 


กะเหรี่ยง

กะเหรี่ยง

     เป็นกลุ่มเชื่อชาติที่มีมากเป็นอับดับ  3  ในพม่า  แยกย่อยออกเป็นหลายกลุ่มซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง  นับถือผีและศาสนาพุทธเป็นหลัก  อีกบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์

 

ยะไข่

ยะไข่

     ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่สืบเชื้อสายเดียวกันชาวพม่า  ใช้ภาษาเดียวกัน  ต่างเพียงสำเนียง  แต่อาจเพราะอยู่ติดบังกลาเทศและอินเดียชาวพม่าจึงมองว่ามีนิสัยออกไปทางแขกมากกว่า  ชาวยะไข่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  แต่ก็มีบางส่วนเป็นมุสลิม  เรียกว่า  โรฮิงยา

 

ไทใหญ่  หรือชาน

     เป็นกลุ่มเชื้อชาติที่มีประชากรมากเป็นอับดับที่ 2  รองจากชาวพม่า  ชาวไทใหญ่มีภาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง  มีศรัทธาลึกซึ้งต่อพระพุทธศาสนา  และใจบุญสุนทานชาวไทใหญ่ในพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐชานซึ่งเดิมทีเป็นรัฐอิสระแต่ถูกผนวกรวมเข้ากับพม่าในสมัยอาณานิคม  ปัจจุบันชาวไทใหญ่มีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง  เพื่อรักษาผลประโยชน์และพัฒนารัฐชานให้รุ่งเรือง

วัดศรีชุม  อยู่ในจำหวัดลำปาง

     วัดพม่าในไทย  มีอยู่  31  แห่ง  วัดที่ใหญ่ที่สุด  คือ  วัดศรีชุม  อยู่ในจำหวัดลำปาง  ได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถาน  เมื่อปี  พ.ศ. 2524

     ประเทศพม่าได้รับอิทธิพลด้านศาสนาจากอินเดีย  โดยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  มีประชากรนับถือราวร้อยละ  90  ประเพณีของพม่าจำนวนมากเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา  และผู้คนยังปฏิบัติตามธรรมเนียมอย่างเคร่งครัดเมื่อเข้าวัด  เช่น  ไม่สวมกางเกงหรือกระโปรงสั้น  และไม่สวมรองเท้า

     นอกจากศาสนาพุทธแล้ว  ชาวพม่าบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์  อิสลาม  และฮินดู

     กระทรวงศึกษาธิการของพม่ามีหน้าที่รับผิดชอบด้านบริการศึกษาส่วนรัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียน  ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (ก่อนประถมศึกษา  ประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา)  นักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

     พม่าใช้ระบบการศึกษาแบบ  5: 4 :2  จึงแบ่งระดับชั้นเรียนไม่เหมือนประเทศไทย  คือ

     - ประถมศึกษา  5  ปี  (อนุบาล  1  ปี  และประถม  4  ปี)

    -  มัธยมศึกษาตอนต้น  4  ปี

    - มัธยมศึกษาตอนปลาย  2  ปี

    - อาชีวศึกษา  1 – 3  ปี

    - อุดมศึกษา  4 – 6  ปี

     พม่ามีภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ  นอกจากนั้น  เนื่องจากมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย  จึงยังมีภาษาหลักๆ ที่ใช้งานในประเทศอีกถึง  18  ภาษา  เช่น  ภาษามอญ  ภาษาอาข่า  ภาษาไทใหญ่  ภาษาม้ง  เป็นต้น

     อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ  33  ตัว  สระลอย  11  ตัว  สระจม  12  รูป  และวรรณยุกต์  4  ตัว  โดยเขียนจากซ้ายไปขวาเช่นเดียวกับอักษรไทย

     สระลอย  คือ  สระที่ไม่ต้องมีพยัญชนะต้นก็สามารถประสมเป็นคำได้สระลอยในภาษาไทย  ได้แก่  ฤ  ฤา  ฦ  ฦา

     สระจม    คือ  สระที่ต้องมีพยัญชนะต้นจึงสามารถประสมเป็นคำได้  สระจมในภาษาไทย  เช่น   -ะ    −า    −ิ    −ี

 

     ตัวอักษรพม่ามีลักษณะเป็นตัวกลมๆ  เพื่อให้ง่ายตอการจารลงบนในลานในสมัยโบราณนั่นเอง

สวัสดี                    มิงกะลาบา

ราตรีสวัสดิ์             เอ็ก แมต กอง บ่า เซ่

ลาก่อน                  ตุ้ย  บ่า  โอง  แหม

ขอบคุณ                เจ ซู ติน บา แด

สบายดีไหม           เน เก้า บ่า ตะลา

สบายดี                 เน  เก๊า  บ่า  แด

       1           -    ติ๊

       2            -   นิ

       3            -   โตง

       4            -   เล 

       5            -   งา

       6            -   ชัก

       7            -   คูนิ 

       8            -   ชิท 

       9            -   โก

     10            -   ตะแส่

   100            -   ติทยาร์

1,000            -  ติทถ่อง

          คำทักทายว่า  “สวัสดี”  ในภาษาพม่าไม่แบ่งช่วงเวลา  เจอใครตอนไหนก็ใช้คำเดียวเลยว่า  “มิงกะลาบา”

          ชาวพม่าเรียนเด็กผู้ชายและคนหนุ่มโสดว่า  หม่อง  เรียกเด็กผู้หญิงและสาวโสดว่า  ม่ะ  เรียกคนไทยว่า  โยเดีย

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวพม่า

 

อาเซียน 10 ประเทศ
เมียนมาร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน 
ทำเลที่ตั้ง ประเทศเมียนมาร์
ปกบ้านครองเมือง  ประเทศเมียนมาร์
ทำมาค้าขาย  ประเทศเมียนมาร์


http://goo.gl/621dzr


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related