เอลนีโญ "นาซา" เตือนเอเชียอาจเผชิญ "เอลนีโญ" รุนแรงสุดในประวัติศาสตร์

นายบิล แพตเซิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ ประจำสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) ได้ออกมาเตือนประชาชนในภูมิภาคเอเชียว่า ประชาชนทั่วพื้นที่เอเชียควรเตรียมรับมือกับการกลับมาของปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ที่อาจเกิดขึ้นภายในปีนี้ https://dmc.tv/a18211

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 19 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]

เอลนีโญ  (EI Nino)

เอลนีโญ "นาซา" เตือนเอเชียอาจเผชิญ
"เอลนีโญ" รุนแรงสุดในประวัติศาสตร์
 
18 มิ.ย. 2557

เอลนีโญ  (EI Nino)
ผลจากเอลนีโญในนิคารากัว
 
      ซายน์แอ่นส์ เดลี่ รายงานว่า นายบิล แพตเซิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ ประจำสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) ได้ออกมาเตือนประชาชนในภูมิภาคเอเชียว่า ประชาชนทั่วพื้นที่เอเชียควรเตรียมรับมือกับการกลับมาของปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ที่อาจเกิดขึ้นภายในปีนี้ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นเมื่อ 17 ปีก่อนแล้ว พร้อมทั้งเตือนว่า ปรากฎการณ์ครั้งนี้อาจรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้

     นอกจากนี้ นายบิลกล่าวต่อว่า จากข้อมูลดาวเทียมเจสัน - 2 ที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวมหาสมุทรตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่าอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรในบริเวณนอกชายฝั่งประเทศเปรูมีระดับที่สูงกว่าปกติ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของปรากฏการณ์เอลนีโญ ด้วยความเลวร้ายที่พัดพาสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างสุดขั้ว รวมถึงภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ อาทิ น้ำท่วมหนัก หรือภาวะแล้งจัด ที่สร้างหายนะต่อการเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตรมาแล้ว รวมถึงส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย

       ทั้งนี้ รายงานจากบันทึกดังกล่าวยังระบุชัดเจนว่า แนวโน้มการเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญในภูมิภาคเอเชียในปีนี้ มากถึง 70% ขณะที่ด้านสำนักงานสภาพอากาศของสหรัฐมีการประกาศเตือนถึงชาวเอเชียเช่นเดียวกัน

เอลนีโญ  (EI Nino) คือ

     เอลนีโญ  (EI Nino) คือการที่ผิวน้ำทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นขึ้น และแผ่ขยายกว้างไกลออกไป เป็นเวลานานถึง 3 ฤดูกาลหรือมากกว่า ในทางกลับกันถ้าผิวน้ำทะเลบริเวณนี้เย็นลงจะเรียกว่า ลานีญา

ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation) หมายถึงอะไร

      ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ หมายถึงปรากฎการณ์ที่ความกดอากาศด้านตะวันตก ของมหามุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศอินโดนีเซีย กับตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน มักจะมีลักษณะตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่อความกดอากาศบริเวณประเทศอินโดนีเซียมีค่าสูง ความกดอากาศบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกมักจะมีค่าต่ำ

ปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบด้านภูมิอากาศอย่าางไร

      ในช่วงที่เกิดเอลนีโญ สภาพภูมิอากาศบางบริเวณจะผันแปรไปจากปกติ กล่าวคือบริเวณที่เคยมีฝนชุกจะกลับแห้งแล้ง และบริเวณที่เคยแห้งแล้งจะมีฝนชุก เช่น ประเทศอินโดนีเซีย จะเกิดความแห้งแล้งผิดปกติจากฤดูกาลที่เคยมีฝนชุก ในขณะที่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งปกติแห้งแล้งกลับมีฝนชุกกว่าปกติ

ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญามีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

      เมื่อเกิดเอลนีโญขนาดรุนแรงขึ้นเมื่อใด ปริมาณฝนของประเทศไทยมักมีค่าต่ำกว่าปกติ และอุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เช่นเอลนีโญขนาดรุนแรง ปี พ.ศ. 2540 - 2541 ประเทศไทยประสบกับสภาวะความแห้งแล้ง มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติทั่วประเทศ ส่วนผลกระทบจากลานีญาจะตรงข้ามกับเอลนีโญ เช่นลานีญาที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2542 - 2543 ประเทศไทยมีฝนชุกกว่าปกติ และอุณหภูมิในฤดูหนาวลดลงทำลายสถิติหลายจังหวัดในเดือนธันวาคม 2542

หากต้องการทราบข้อมูลและการพยากรณ์ภูมิอากาศจะสามารถค้นหาได้จากแหล่งใด

       กรมอุตุนิยมวิทยามีงานบริการข้อมูลที่ให้บริการด้านสถิติภูมิอากาศและข้อมูลต่างๆ โดยตรง และมีฝ่ายวิเคราะห์และพยากรณ์ระยะนาน ที่ให้บริการด้านพยากรณ์อากาศระยะนานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป หรืออาจเข้าชมที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th ในหน้าพยากรณ์และสถิติภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศหรือภูมิอากาศมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างไร

       ลมฟ้าอากาศ หรือภูมิอากาศมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกเสื้อผ้าให้สวมใส่สบาย ต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ การทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิอากาศ จะมีส่วนช่วยเหลือผู้ที่เป็นเกษตรกร ในการเลือกชนิดหรือพันธ์พืชที่ต้องการปลูกให้ได้ผลผลิตดี การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ทิศทางลม หรือทิศทางที่ได้รับแสงอาทิตย์ จะช่วยให้อยู่อาศัยได้สบายขึ้น เป็นการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย การทราบสภาพลมฟ้าอากาศล่วงหน้าก่อนออกไปทำงาน หรือออกเดินทางจะช่วยให้สะดวกสบาย และสามารถเตรียมความพร้อมได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการทำการค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยว เป็นต้น

พื้นที่บริเวณใดของประเทศที่มีฝนมาก

      และบริเวณใดมีฝนน้อยบริเวณที่มีฝนมาก มักเป็นบริเวณที่อยู่ด้านหน้าภูเขาหรือที่เรียกว่าเป็นด้านรับลม เช่น ในช่วงฤดูฝนซึ่งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย มรสุมนี้จะพัดพาความชื้นจากทะเลมาปะทะแนวเขา อากาศชื้นจะยกตัวขึ้นตามลาดเขา และกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนด้านหน้าเขา ส่วนด้านหลังเขาซึ่งเป็นด้านปลายลม จะมีฝนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น บริเวณที่เป็นด้านรับลมหน้าทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรี ได้แก่ พื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของจังหวัดตากและกาญจนบุรีจะมีฝนมาก และพื้นที่ซึ่งเป็นด้านปลายลมหลังทิวเขาตะนาวศรี ได้แก่ บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์จะมีฝนน้อย / ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tmd.go.th
 

http://goo.gl/fcSWqM


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related