กิเลส เพื่อนซี้ที่ไม่รู้จัก

กิเลส เป็นศัพท์เฉพาะ มีอยู่ในพระไตรปิฎกเท่านั้น ผู้ที่เห็นกิเลสเป็นท่านแรก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า https://dmc.tv/a18017

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 17 พ.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]

ธรรมะสอนใจ

กิเลส เพื่อนซี้ที่ไม่รู้จัก
 
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/Dhammavipulo
 
 
 
       กิเลส เป็นศัพท์เฉพาะ มีอยู่ในพระไตรปิฎกเท่านั้น ผู้ที่เห็นกิเลสเป็นท่านแรก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     ในยามปลายของคืนวันตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงบรรลุอาสวักขยญาณ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องกำจัดอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     กิเลส คือ ธาตุละเอียดที่สกปรก นอนเนื่องอยู่ในใจของสรรพชีวิตมานาน


     พระบรมศาสดาตรัสแยกแยะกิเลสไว้ 3 ตระกูล คือ


     1. ราคะ หรือโลภะ
     2. โทสะ
     3. โมหะ

     กิเลส แม้มีอยู่ แต่ตาภายนอกมองไม่เห็น เห็นได้ด้วยตาภายใน ตาภายนอกเห็นได้แต่อาการ อุปมาเหมือนกระแสไฟฟ้า แม้มีอยู่ ปลอกเปลือกสายไฟออก ก็มองไม่เห็นกระแสไฟ เห็นได้แต่อาการของกระแสไฟ เช่น กระแสไฟเข้าไปในหลอดไฟ หลอดไฟก็สว่าง ความสว่างไม่ใช่กระแสไฟ เป็นอาการของกระแสไฟ ที่เข้าไปในหลอดไฟ

     พระบรมศาสดาทรงอธิบายถึงความแตกต่างของกิเลสไว้ว่า


     ราคะ มีโทษน้อย คลายตัวช้า
     ราคะ เกิดขึ้นแล้ว จะมีอาการอยากได้มาเป็นของตน
     คลายตัวช้า คือ ถ้าผูกพันมากก็ติดข้ามชาติไปได้ เช่น บุพเพสันนิวาส เป็นต้น

     โทสะ มีโทษมาก คลายตัวเร็ว เกิดขึ้นแล้ว จะมีอาการอยากทำลายประโยชน์ และความสุขของคนอื่น เช่น ด่า ทำลาย ทำร้าย เป็นต้น

     โมหะ มีโทษมาก คลายตัวช้า เกิดขึ้นแล้ว ทำให้หลงผิด หลงไหล หลงลืม เป็นต้น ติดตามตัวเป็นจริต อัธยาศัยข้ามชาติ

     โทสะมักจะออกอาการในวัยเด็ก สังเกตุเด็กๆ ถ้าเกิดอาการขัดใจ ไม่ได้ดังใจ ก็จะแสดงอาการไม่พอใจในทันที คือ ไม่สามารถทนทานต่อความขัดใจได้ เช่น กรีดร้อง ทุบ ทำลาย ทำร้าย กรีดร้อง ด่า เป็นต้น

     ราคะมักจะออกอาการในวัยหนุ่มสาว ชีวิตของชาวโลกอยู่ในกามภพ คือ ภพของสัตว์ผู้มีใจข้องในกามคุณ หมายถึง ชอบรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ประณีต ที่ชอบใจ
ดังนั้น พอเริ่มเข้าวัยหนุ่มสาว ก็จะแสวงหาคน สัตว์ สิ่งของที่ประณีต ที่ชอบใจ

      ส่วนโมหะมักจะออกอาการในบั้นปลายของชีวิต คือ ถ้าตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุ้นเคยกับความคิดผิดๆ คำพูดผิดๆ หรือการกระทำที่ผิดๆ ไม่ถูกต้อง ไม่สมควร ถึงปั้นปลายชีวิต จะหาทางแก้ไข เป็นเรื่องที่ยากมาก

     เพราะจะหาคนที่มองข้อบกพร่องออกก็ยาก เพราะต้องอยู่ใกล้ชิด ต้องคุ้นเคย รู้แล้วจะกล้าบอกก็ยาก เพราะกลัวเขาโกรธ บอกแล้วจะยอมรับก็ยาก ยอมรับแล้ว รู้วิธีจะแก้ไขก็ยาก รู้วิธีแก้ไขแล้ว จะมีแรงบันดาลใจ ที่จะแก้ไขก็ยากอีก

     เรื่องไม่ดีอย่างเดียวกัน ถ้าเป็นเด็ก หรือวัยรุ่น จะแก้ไขได้ง่ายกว่าผู้สูงวัย เพราะยังติดเป็นนิสัยไม่หนาแน่น นี่แหละผู้สูงวัย โมหะออกอาการได้มากกว่าวัยอื่น มีโทษมาก คลายตัวช้า

     กิเลสจะตามเราไป ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ภายในภพ คอยบังคับให้สรรพชีวิตทำกรรม มีผลของกรรม คือ วิบาก ทำให้วนเวียนทุกข์ทรมานอยู่ในวัฎสงสาร

     ที่ว่ากิเลส เป็นเพื่อนซี้ คือ ตายแล้วก็ยังติดตามไปทุกภพทุกชาติ ถ้าไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ไม่ได้ใช้โยนิโสมนสิการ ก็จะไม่รู้จัก ถึงรู้จักก็ไม่เคยเห็น จะเห็นกิเลสได้ต้องเจริญสมาธิภาวนา จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

      นี่แหละ... กิเลส เพื่อนซี้ที่ไม่รู้จัก


http://goo.gl/YJuoDx

     
Tag : หลงลืม  สมาธิ  ปัญญา  ธรรมะ  ทุกข์  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related