คำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท

มีข้อสังเกตเรื่องคำสอนที่ชาวพุทธเถรวาทเราควรตระหนักรู้ก็คือ https://dmc.tv/a21789

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 25 ส.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]
คำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท

โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 
 

มีข้อสังเกตเรื่องคำสอนที่ชาวพุทธเถรวาทเราควรตระหนักรู้ก็คือ

     1. แม้พระอรหันต์ 500 รูปก็ยังมีความเห็นในประเด็นพระธรรมวินัยบางข้อไม่ตรงกัน

     ในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค ปัญจสติกขันธกะ ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา  ว่าด้วยสิกขาบทเล็กน้อย  ( พระไตรปิฎกแปลฉบับ มจร. เล่ม 7 ข้อ 441 หน้า 382 )  ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ 1 พระอานนท์ได้กล่าวกับพระอรหันต์ทั้งหลายว่า “ ในเวลาจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า  อานนท์ เมื่อเราล่วงไป  สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ”
 
     พระอรหันต์ทั้งหลายถามว่า  “ ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่า  ‘ พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ท่านพระอานนท์ตอบ “ ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า  ‘ พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหน ที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า  “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท อนิยต 2 ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า  “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท  สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท อนิยต 2

     นิสสัคคิยปาจิตตีย์  30 สิกขาบท ปาจิตตีย์  92 สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า  “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท  สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท อนิยต 2

     นิสสัคคิยปาจิตตีย์  30 สิกขาบท ปาจิตตีย์  92 สิกขาบท  ปาฏิเทสนียะ 4 สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”

     เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลายมีความเห็นไม่ตรงกัน สุดท้ายพระมหากัสสปะจึงเสนอ ญัตติว่า จะไม่เพิกถอนสิกขาบทข้อใดๆ และได้รับการรับรองจากพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นเอกฉันท์

     ลองคิดดูว่าหากพระอรหันต์แต่ละกลุ่มยืนกรานความเห็นของตน ไม่ยอมรับความเห็นต่างของพระอรหันต์กลุ่มอื่น คณะสงฆ์ก็มีโอกาสแตกออกเป็น 5 กลุ่มตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วระดับพระอรหันต์และไม่ใช่พระอรหันต์ธรรมดา

     แต่เป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการคัดเลือกมาทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาในปัจจุบัน มีพระอสีติมหาสาวกหลายรูป อาทิ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี พระอานนท์ เป็นต้น ก็ยังมีความเห็นบางประเด็นไม่ตรงกัน

     แล้วชาวพุทธปัจจุบันที่ยืนกรานความเห็นของตนหรือเชื่อตามความเห็นของพระภิกษุนักวิชาการบางรูปว่าถูกต้อง ปฏิเสธและโจมตีผู้ที่เห็นต่างจากตนอย่างรุนแรง ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาหรือยัง เก่งกว่าพระอสีติมหาสาวกหรือเปล่า การโจมตีผู้เห็นต่างจากตนมีแต่จะนำมาซึ่งความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธ  ผิดแนวทางปฏิปทาของพระอรหันต์ทั้งหลายในอดีต

     2. การศึกษาและเผยแผ่ธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสอนหลายระดับ

     พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นแม่บทคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท
 
     - มีคัมภีร์อรรถกถาเรียบเรียงโดยพระอรรถกถาจารย์ในยุคหลังพุทธกาลราว 900 ปีเศษ   เป็นคู่มืออธิบายทำความเข้าใจพระไตรปิฎก

     - มีคัมภีร์ฎีกาเป็นคู่มืออธิบายเนื้อหาในคัมภีร์อรรถกถาหรืออธิบายพระไตรปิฎกบางครั้งอธิบายในแง่มุมที่แย้งกับที่คัมภีร์อรรถกถาอธิบายไว้

     - มีคัมภีร์อนุฎีกา เป็นคู่มืออธิบายเนื้อหาในคัมภีร์ฎีกาหรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถาหรืออธิบายพระไตรปิฎก

     - มีคำสอนของพระเถระทั้งในรูปคำเทศน์สอน หรือเขียนเป็นหนังสือธรรมะ

     อธิบายขยายความคำสอนในพระพุทธศาสนาให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น คำสอนของท่านพุทธทาส หลวงปู่ หลวงตา พระเถระต่างๆ หรือแม้ฆราวาสบางท่านที่มีความรู้ดี

     มีบางคนคิดว่าคำสอนที่ถูกต้องจะต้องเป็นคำสอนที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเท่านั้น ผู้ที่มีความเห็นเช่นนี้ จะนำไปสู่แนวโน้มที่จะปฏิเสธคำสอนระดับอื่นๆทั้งหมดเริ่มตั้งแต่ปฏิเสธคำเทศนาธรรมของพระเถระ  ปฏิเสธอนุฎีกา ปฏิเสธฎีกา  ปฏิเสธอรรถกถา และเลยเถิดไปจนถึงปฏิเสธเนื้อหาพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นคำกล่าวของพระอรหันต์เช่น

     พระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น  ยอมรับเฉพาะพุทธวจนะเท่านั้น และยังมีแนวโน้มจะปฏิเสธแม้พุทธวจนะในส่วนที่ไม่ตรงกับความเชื่อของตน เช่นส่วนที่มีการกล่าวถึง นรก สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิ เทวดา นางฟ้า ยักษ์ เป็นต้น

     หากทำตามความเชื่อของคนกลุ่มนี้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะทำได้โดยนำพระไตรปิฎกมาอ่านให้ฟัง  ห้ามอธิบายเพิ่มเติมตามความเห็นของตน ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นจริงพระพุทธศาสนาคงสาบสูญไปจากโลกนี้นานแล้ว เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง

     ความจริงการจะวินิจฉัยว่าคำสอนใดถูกต้องเป็นประโยชน์หรือไม่ต้องดูที่ความสอดคล้องกับหลักคำสอนในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ดูที่ว่าต้องมีอยู่ในพระไตรปิฎก คำสอนของพระเถระทั้งหลายแม้ไม่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่หากสอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎก คำสอนนั้นก็เป็นคำสอนที่ดี มีประโยชน์ ควรศึกษา

     ดังนั้นคำสอนของพระเถระทั้งหลายที่เทศนาสั่งสอนประชาชนมาแต่โบราณกาล  เขียนหนังสือธรรมะอธิบายหลักธรรมให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ คือสิ่งดีมีประโยชน์

     เปรียบเหมือนกฎหมาย รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายแม่บท แต่การวินิจฉัยว่ากฎหมายต่างๆถูกต้องหรือไม่ ไม่ใช่ใช้วิธีดูว่าเนื้อหาในกฎหมายเหล่านั้นมีในรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ให้ดูเพียงว่าเนื้อหาของกฎหมายนั้นไม่ขัดรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นกฎหมายที่ใช้ได้

     3. คำสอนในพระไตรปิฎกส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
 
     ในส่วนเนื้อหาหลักธรรมเช่นอริยมรรคมีองค์ 8 มักกล่าวไว้เพียงสั้นๆ เช่นสัมมาสมาธิ(Meditation)เกือบทั้งหมดก็กล่าวไว้เพียงว่า หมายถึง รูปฌาน 4 แต่ไม่มีการอธิบายว่าจะฝึกให้ได้รูปฌาน 4 ต้องปฏิบัติอย่างไร สายปฏิบัติใหญ่ๆในประเทศไทยล้วนอิงหลักการจากพระไตรปิฎกแล้วมาอธิบายขยายความเพิ่มเติมถึงวิธีการปฏิบัติเองทั้งสิ้น อาทิ สายสัมมาอะระหัง อิงหลักสติปัฏฐาน 4 จากพระไตรปิฎก คือ การตามเห็นกายในกาย ตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต  ตามเห็นธรรมในธรรม  แต่ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีการกล่าวถึงกายภายในที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ จนถึงธรรมกาย
 
     สายพองหนอยุบหนอ อิงหลักสติปัฏฐาน 4 เช่นเดียวกัน แต่ในพระไตรปิฎกไม่มีการกล่าวถึงการก้าวหนอ ยกหนอ เหยียบหนอใดๆ เลย
 
     สายพุทโธ อิงหลักอานาปานสติ จากพระไตรปิฎก แต่วิธีการปฏิบัติที่สอนกันอยู่ก็ไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
 
     หากจะเอาเฉพาะคำสอนที่มีในพระไตรปิฎกเท่านั้น ก็ต้องเลิกการปฏิบัติธรรมทุกสายในประเทศไทยทั้งหมด

     ซึ่งมีแต่นำความเสื่อมมาสู่พระพุทธศาสนาและสังคมไทย
 
     โดยสรุป หลักการวินิจฉัยคำสอนที่ดี คือ ดูความสอดคล้องกับหลักการในพระไตรปิฎก  ไม่ใช่การดูว่าคำสอนนั้นมีในพระไตรปิฎกหรือไม่  และอย่าเอาความเห็นความเชื่อของตนไปโจมตีผู้ที่เห็นต่าง

     เพราะแม้แต่พระอรหันต์ 500 รูป  ที่เป็นผู้รวบรวมเรียบเรียงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎกให้เราศึกษา  ก็ยังมีความเห็นในบางประเด็นที่ต่างกัน

     ถ้าเป็นคำสอนไปในทางอกุศล เช่น สอนให้ดื่มเหล้า  จมในอบายมุข อย่างนี้ผิดจากหลักการในพระไตรปิฎกชัดเจน  เป็นคำสอนที่ผิด  แต่ถ้าเป็นประเด็นคำสอนที่เป็นไปในทางกุศล เช่น คำสอนด้านธรรมปฏิบัติ  ที่อาจตีความได้หลายแง่มุม  ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตน

     อย่างนี้ไม่ควรจะยึดมั่นในความคิดของตนแล้วโจมตีผู้ที่เห็นต่าง  ตั้งใจปฏิบัติแบบที่ตนเชื่อและชอบไปดีกว่า

     โดยรวมคำสอนที่สอนให้ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผ่องใส สอนให้ประชาชนรักการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา คือคำสอนที่ดี สอดคล้องกับหลักการในพระไตรปิฎก
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related