อยู่ในสังคมโดยที่ไม่กวนใจใคร

คำถาม : เจริญพร วันนี้มีคำถามจากคุณโยมท่านหนึ่งถามเข้ามาว่า ทำอย่างไร เราจะอยู่ในสังคมโดยที่ไม่กวนใจใครและไม่มีใครมากวนครับ https://dmc.tv/a17868

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 24 เม.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]

ธรรมะสอนใจ

อยู่ในสังคมโดยที่ไม่กวนใจใคร
 
 
 
     คำถาม : เจริญพร วันนี้มีคำถามจากคุณโยมท่านหนึ่งถามเข้ามาว่า ทำอย่างไร เราจะอยู่ในสังคมโดยที่ไม่กวนใจใครและไม่มีใครมากวนครับ

     พระอาจารย์ : เป็นอย่างนี้นะคุณโยม ถ้าต้องการให้ได้อย่างนี้แล้วล่ะก็ ขอให้ยึดหลักสัปปุริสธรรมเจ็ดประการ ของพระสัมสัมพุทธเจ้าคือ หนึ่งต้องเป็นผู้รู้จักเหตุ ได้แก่เมื่อเห็นอะไรแล้ว สามารถสาวย้อนไปหาเหตุที่เกิดขึ้นเพราะอะไร เนอะไร สามารถวินิจฉัยออก เป็นเพราะเหตุนั้นนั่นเอง ซึ่งจะได้อย่างนี้เราจะต้องศึกษาหลักการเรื่องต่างๆอย่างดี เห็นฝนตกก็รู้ว่า น้ำในแม่น้ำ มหาสมุทร ลำคลองระเหยขึ้นไปเป็นเมฆนะ กระทบความเย็นและตกมาเป็นฝน เห็นของราคาขึ้นก็รู้ว่าดีมานมันเยอะ ซัพพลายมันน้อย ของก็ขึ้นราคา เข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ เราก็จะรู้เรื่องอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาอีก ยิ่งเข้าใจหลักการมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสาวไปหาเหตุชัดขึ้นเท่านั้น
 
       สองคือ เป็นผู้รู้จักผล เห็นอะไรแล้วล่ะก็สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อันนี้เหตุกับผลสองอย่างจะล้อกันน้า แต่ว่าจะรู้จักผลได้ มันยากกว่านะ อนาคตพยากรณ์ไปได้จะยากกว่า ก็จะต้องเข้าใจเรื่องหลักการต่างๆอย่างละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คนในโลกจะพยายามมุ่งอยู่สองข้อคือ รู้จักเหตุกับผล แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่พอ ต้องมีอีกห้าข้อนะ คือสามเป็นผู้รู้จักตน ได้แก่รู้จักตัวเอง เชื่อหรือไม่ว่า คนในโลกไม่รู้จักตัวเอง คือรู้ยังดีไม่พอ มองกระจกอยู่ทุกวันก็ตาม รู้ยังดีไม่พอ จริงเหรอ บอกจริง ถามคนจะเกษียณอายุ ถามจริงๆเถอะตัวเองถนัดอะไร ยังไม่รู้เลย ทำอาชีพนี้เพราะอะไร บอกว่าก็ เรียนหนังสืออยู่ ม.ปลายจะสอบเอ็นทรานซ์ เขาบอกว่าเข้าคณะนี้แล้วหางานง่ายก็เลือกหลายคณะ พอเลือกมาสอบติดคณะนี้ก็เลยเรียนมา พอจบแล้วก็ไปทำงานบริษัทนี้ พอได้ก็รู้สึกมั่นคงดี อยู่มาเรื่อยๆ จนตลอดชีวิตเนี่ย จนจะเกษียณ จริงๆ ยังไม่รู้เลยว่า ตัวเองถนัดอะไร อย่างนี้ก็มี
 
       งั้นตัวเราต้องฝึกให้รู้จักตัวเองให้ได้ ข้อที่สี่ รู้จักประมาณ ถ้ารู้จักตัวเองแล้วล่ะก็ เราจะประมาณออก ไม่ต้องอื่นใด ตอนหิว ไปร้านบุฟเฟ่ต์ ตักอาหาร บางทียังทานเหลือเลยนะ เราทานข้าววันสองมื้อบ้างสามมื้อบ้าง ปีนึงก็เป็นพันมื้อ ยี่สิบปี ก็หลายหมื่นมื้อ เรายังกะท้องตัวเองไม่ออกเลย งั้นจะทำอะไรมันก็เลยไม่ค่อยพอดี ถ้าเกิดว่าตั้งใจสังเกต ตั้งใจฝึกใหรู้จักประมาณ เราจะทำอะไรได้อย่างพอดีๆ ถูกดี ข้อที่ห้าคือเป็นผู้รู้จักกาล รู้จักแบ่งเวลาตัวเอง แล้วก็รู้จักทามมิ่งในการจัดการเรื่องต่างๆ ข้อที่หก รู้จักชุมชน คืออยู่ในสังคมหมู่ชนใดเนี่ย ก็รู้ว่าที่นั่น เค้ามีวัฒนธรรมองค์กรยังไง มีแนวคิดยังไง เราจะได้ทำได้สอดคล้อง แล้วก็อยู่ได้อย่างมีความสุข เขาก็รู้สึกว่าเราไม่ไปกวนเค้า
 
       แล้วอันที่เจ็ดก็คือ รู้จักบุคคล จะต้องติดต่อสัมพันธ์กับใคร ศึกษาว่าจริตอัธยาศัยเค้าเป็นอย่างไร เราจะได้ปฏิบัติพอดีๆ ต่อตัวเค้า ศึกษาฝึกฝนเจ็ดข้อนี้ได้แล้วล่ะก็ เราจะอยู่ในสังคมโดยไม่กวนใจใคร และก็ไม่มีใครมากวนเราด้วย ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะมีความสุขความสำเร็จในชีวิต เจ็ดข้อนี้แหละ คือการบริหารเชิงพุทธ จะบริหารตน บริหารงานได้สำเร็จทั้งหมดเลย อันนี้โดยย่อนะ ส่วนรายละเอียดขอให้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เจริญพร
 

http://goo.gl/Tu6h11


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related