เราเป็นกัลยาณมิตรที่ดีพอหรือยัง ?

หากเราเข้าวัดปฏิบัติธรรมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับตนเอง เราจะเกิดความรู้สึกอยากเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนที่เรารักให้มาปฏิบัติธรรมบ้าง แต่การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว คือ ชวนคนทำความดีแล้วเขาไม่ทำหรือไม่เชื่อ ซึ่งหากเป็นดังนี้ เราควรมาสำรวจตัวเองดูว่า...เรามีคุณสมบัติของการเป็นกัลยาณมิตรมากน้อยเพียงใด ดังนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ดังนี้... https://dmc.tv/a21894

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 27 ก.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
เราเป็นกัลยาณมิตรที่ดีพอหรือยัง ?

จากคอลัมภ์ท้ายเล่มวารสารอยู่ในบุญ ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


     หากเราเข้าวัดปฏิบัติธรรมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับตนเอง เราจะเกิดความรู้สึกอยากเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนที่เรารักให้มาปฏิบัติธรรมบ้าง แต่การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว คือ ชวนคนทำความดีแล้วเขาไม่ทำหรือไม่เชื่อ ซึ่งหากเป็นดังนี้ เราควรมาสำรวจตัวเองดูว่า...เรามีคุณสมบัติของการเป็นกัลยาณมิตรมากน้อยเพียงใด ดังนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ดังนี้...

     1. ปิโย คือ มาดูว่าราเป็นคนมีนิสัยน่ารักหรือไม่ เพราะถ้าเราเป็นคนมีบุคคลิกที่ใครเห็นใครก็รัก ดูแล้วชวนให้สบายใจ น่าเข้าใกล้ เราก็จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้คนอื่นได้ไม่ยาก

     2. ครุ คือ เราเป็นคนน่าเคารพหรือไม่ ซึ่งการทำตัวให้น่าเคารพก็คือ เราต้องเป็นคนมีความประพฤติดี ให้คนที่เข้ามาอยู่ใกล้เราไม่รู้สึกว่าเราอันตราย แต่กลับรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย พึ่งได้ เชื่อถือได้

     3. ภาวนีโย คือ เราเป็นคนน่าสรรเสริญหรือไม่ ซึ่งการที่เขาจะสรรเสริญเราได้ ก็ต่อเมื่อเราต้องเป็นผู้มีภูมิรู้ภูมิธรรม ดังนั้นต้องหมั่นศึกษาธรรมะและหาความรู้จนเก่งทั้งทางโลกและทางธรรม

     4. วตฺตา คือ เป็นคนฉลาดพูด ฉลาดในการแนะนำสั่งสอน ฉลาดในการเตือนสติ ฉลาดในการให้กำลังใจ ฉลาดในการชักชวนโน้มน้าวให้แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ โดยผู้ฟังคำพูดจากเราไม่รู้สึกโกรธ แต่กลับอยากทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

     5. วจนกฺขโม คือ เป็นคนอดทนต่อถ้วยคำ ไม่ว่าใครจะพูดไม่ดีแค่ไหน ก็สามารถสงบนิ่ง เยือกเย็น ไม่ขุ่นเคือง ไม่โกรธได้

     6. คมฺภีรญฺจ กถฺ กตฺตา คือ สามารถอธิบายธรรมได้ลึกซึ้งจนผุ้ฟังสามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้องทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่งถ้าเราจะสามารถทำตรงนี้ได้ ก็ต้องหมั่นศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมให้มากๆ

     7. โน จฏฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี หรือไม่แนะนเขาให้ดำเนินชีวิตด้วยความประมาท

     หากเราฝึกฝนอบรมตนเองให้มีคุณสมบัติครบทั้ง 7 ข้อได้ เราก็จะประสบความสำเร็จในการชวนคนมาทำความดีได้อย่างง่ายๆ และในที่สุดแล้ว เราจะเห็นว่า...การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น คนที่ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดก็คือตัวเราเอง เพราะเราจะได้ฝึกฝนอบรมตัวเองให้มีคุณธรรมทั้ง 7 ประการเกิดขึ้นกับตัวเราด้วย




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related