ความต่อเนื่อง

การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ปฏิบัติกันได้ง่ายๆ แต่น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จ ตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่ง https://dmc.tv/a11539

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 12 ก.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]
 
 
ความต่อเนื่อง
 
 
 ความต่อเนื่องเปรียบเสมือนไม้ส่งผลัด
 
ความต่อเนื่องเปรียบเสมือนไม้ส่งผลัด
 
 
        การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ใครๆ  ก็ปฏิบัติกันได้ง่ายๆ  แต่น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จ  ตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่ง  ที่ทำให้นักปฏิบัติธรรมประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็คือ  “ความต่อเนื่อง”  เพราะคนส่วนมากมักละความเพียรไปกลางคัน  บ้างก็บอกว่าไม่มีเวลา  บ้างก็มีภาระหรืออ่อนเพลียจากการทำงาน  เป็นต้น  คนเหล่านี้แม้จะรักและต้องการเข้าถึงธรรมเพียงใด  ก็ย่อมไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง  ทั้งๆ ที่ใจก็รักที่จะเข้าถึงธรรมะภายใน  และธรรมะภายในก็มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน  แต่เพราะไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องนี้เอง  จึงทำให้ความรักในธรรมะต้องกลายเป็นหมันไปในที่สุด  ความต่อเนื่องนี้เอง  จึงทำให้ความสำคัญ  และมีผลต่อการเข้าถึงธรรมะภายใน  ดังโอวาทที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
 
         “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา  แม้จะพึงปรารถนาให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะก็จริง  แต่จิตก็ไม่สามารถหลุดพ้นได้  เหมือนแม่ไก่มีไข่  ๘  ฟอง  ๑๐  ฟอง  ๑๒  ฟอง  เมื่อแม่ไก่กกไข่ไม่ดี  ให้ความอบอุ่นไม่เพียงพอ  ฟักก็ไม่ดี  แม้แม่ไก่จะปรารถนาให้ลูกเจาะกระเปาะไข่ออกก็ทำไม่ได้
 
          เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา  แม้ไม่พึงปรารถนาของให้จิตหลุดพ้นก็จริง  แต่จิตก็หลุดพ้น  เหมือนแม่ไก่มีไข่  ๘  ฟอง  ๑๐  ฟอง  ๑๒  ฟอง  เมื่อแม่ไก่จะไม่ปรารถนาให้ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ออกมา  ลูกไก่ก็ออกมาได้โดยสวัสดี
 
 
เรือเดินมหาสมุทรแล่นไปตลอด 6 เดือน
 
เรือเดินมหาสมุทรแล่นไปตลอด 6 เดือน
 
 
          เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวายขันชะเนาะ  แล้วแล่นไปตลอด ๖ เดือน  ถึงฤดูหนาวก็เข็นขึ้นบกเครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้  เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ  ย่อมชำรุดเสียหาย  เป็นของเปื่อยไปดดยไม่ยากฉันใดดูก่อนภิกษทั้งหลาย ...  เมื่อภิกษุนั้นหมั่นเจริญภาวนาอยู่สังโยชน์ย่อมระงับไปโดยไม่ยาก  ฉันนั้น”
 
 
ถึงที่หมายเฉกเช่นการปฏิบัติธรรม
 
ถึงที่หมายเฉกเช่นการปฏิบัติธรรม
 
 
         จากรพะสูตรนี้  จะเห็นว่า  การปฏิบัติที่ไม่ต่อเนื่อง  แม้มีปรารถนาที่จะเข้าถึงธรรมมากเพียงใด  ก็ไม่อาจจะสมหวังได้  นักปฏิบัติธรรมที่ต้องการไปถึงจุดหมายปลายทางจึงต้องหมั่นประกอบเหตุไปเรื่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง  แล้วผลก็จะเกิดขึ้นโดยไม่ยากนัก  อย่ามัวแต่รอโอกาสหรือบ่นเพ้อรำพันว่า  เมื่อไหร่หนอจะถึงจุดหมายเสียที  ให้ทำตนเหมือนนักเดินทางผู้ฉลาด  เมื่อกำหนดทิศทางที่แน่นอนแล้ว  ก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางโดยไม่สนใจข้างทาง  หรืออุปสรรคความยากลำบาก  ไม่นานก็จะรู้สึกแปลกใจว่า  “เอ๊ะ ! ถึงที่หมายเสียแล้วหรือนี่”
 
 
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  207 - 209
 
 

http://goo.gl/w0bEj


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related