ตาบอดคลำช้าง

นินทาและสรรเสริญ เป็นโลกธรรม ที่อยู่คู่มนุษยชาติมาตลอด เพราะในโลกนี้ “นักพูด” มีมากกว่า “นักทำ” ผู้ที่มีปกติชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์ เยาะเย้ยถากถางผู้อื่น มักเป็นผู้ไม่รู้จริงในสิ่งที่พูด https://dmc.tv/a11157

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 4 มิ.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
 
 
ตาบอดคลำช้าง
 
 
  
เพราะในโลกนี้ “นักพูด”  มีมากกว่า “นักทำ”
เพราะในโลกนี้ “นักพูด”  มีมากกว่า “นักทำ” 
 
 
 
        นินทาและสรรเสริญ  เป็นโลกธรรม  ที่อยู่คู่มนุษยชาติมาตลอด  เพราะในโลกนี้ “นักพูด”  มีมากกว่า “นักทำ”  ผู้ที่มีปกติชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์  เยาะเย้ยถากถางผู้อื่น  มักเป็นผู้ไม่รู้จริงในสิ่งที่พูด  เพราะธรรมดาว่า  กระบอกไม้ไผ่ที่ปราศจากน้ำย่อมดีดัง  โบราณเปรียบผู้ไม่รู้  ไม่เห็นจริง  แต่ชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์ไปตามความเข้าใจที่ผิดๆ  ของตน  ด้วยคำพังเพยว่า  “ตาบอด คลำช้าง”  ซึ่งมีที่มาจาก  คำสอนเชิงอุปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน  ปฐมกิรสูตร  ว่า
 
          สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตะวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี  สมัยนั้น  มีสมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก  ผู้มีลัทธิคำสอนแตกต่างกัน  อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี...   สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน  ทะเลาะวิวาทกัน  ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า  “อย่างนี้เป็นธรรม  อย่างนี้มิใช่ธรรม  ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้  ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
 
          พระภิกษุที่เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี  ได้ทราบข่าวนั้น  จึงกราบทูลเล่าเหตุการณ์นี้  แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอดไม่มีจักษุ  จึงไม่รู้ประโยชน์  ไม่รู้สิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์  ไม่รู้ธรรม  ไม่รู้สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม  เมื่อไม่รู้ ฯลฯ  ก็เกิดการบาดหมางกัน  ทะเลาะวิวาทกัน  ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
 
         ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องเคยมีมาแล้ว  ในกรุงสาวัตถีนี้เอง  มีพระราชาพระองค์หนึ่งรับสั่งบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า “พ่อหนุ่ม  เจ้าจงไป  จงบอกให้คนตาบอดทั้งหมดในกรุงสาวัตถีมาประชุมร่วมกัน”  บุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว  พาคนตาบอดทั้งหมดในกรุงสาวัตถีเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า “ขอเดชะ  คนตาบอดทั้งหลายในกรุงสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว  พระเจ้าข้า”
 
          พระราชาตรัสว่า “พ่อหนุ่ม  ถ้าอย่างนั้น  เจ้าจงแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลายเถิด “บุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลาย คือ
 
          แสดง  หัวช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  หูช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  งาช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  งวงช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  ตัวช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  เท้าช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  ระหว่างขาอ่อนช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  หางช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          แสดง  ขนหางช้าง  แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง  บอกว่า “ท่านทั้งหลาย  ช้างเป็นอย่างนี้”
 
          ภิกษุทั้งหลาย  บุรุษนั้นครั้นแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลายแล้ว  ได้เข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้นถึงที่ประทับแล้ว  กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ  คนตาบอดทั้งหลายเห็นช้างแล้วพระเจ้าข้า  ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
 
          ภิกษุทั้งหลาย  บุรุษนั้นครั้นแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลายแล้ว  ได้เข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้นถึงที่ประทับแล้ว  กราบทูลดังนี้ว่า  “ขอเดชะ  คนตาบอดทั้งหลายเห็นช้างแล้วพระเจ้าข้า  ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
 
           ภิกษุทั้งหลาย  ลำดับนั้น  พระราชาพระองค์นั้นได้เสด็จไปหาคนตาบอดเหล่านั้น  ได้ตรัสกับคนตาบอดทั้งหลายดังนี้ว่า  “ท่านทั้งหลาย  พวกท่านเห็นช้างแล้วหรือ”  คนตาบอดเหล่านั้นกราบทูลว่า “ขอเดชะ  ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นแล้วพระเจ้า”
 
 
ช้างเป็นอย่างไร
ช้างเป็นอย่างไร
     
        
 
        พระราชาตรัสว่า  “ท่านทั้งหลาย พวกท่านกล่าวว่า  “ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นช้างแล้ว  ช้างเป็นอย่างไร”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนหม้อ  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนกระด้ง  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนตอไม้  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนงอนไถ  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนยุ้งข้าว  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนเสา  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนครก  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนสากตำข้าว  พระเจ้าข้า”
 
         คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง  กราบทูลอย่างนี้ว่า “ช้างมีรูปร่างเหมือนไม้กวาด  พระเจ้าข้า”
   
          ภิกษุทั้งหลาย  คนตาบอดเหล่านั้นต่างกำหมัดทุ่มถียงกันว่า  “อย่างนี้คือช้าง  อย่างนี้มิใช่ช้าง  ช้างต้องไม่เป็นอย่างนี้  ช้างต้องเป็นอย่างนี้”  ภิกษุทั้งหลาย  พระราชาพระองค์นั้น  จึงทรงพอพระทัย  ด้วยเหตุนั้น
 
          ภิกษุทั้งหลาย  อัญเดียร์ถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด  ไม่มีจักษุ  จึงไม่รู้ประโยชน์  ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม  เมื่อไม่รู้ฯลฯ  ก็เกิดบาดหมางกัน  ทะเลาะวิวาทกัน  ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า  “อย่างนี้เป็นธรรม  อย่างนี้มิใช่ธรรม  ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้  ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
 
 
 
 
ปิดตา  เปิดใจ  รวมจิตให้หยุดนิ่งเป็นหนึ่งที่ศูนย์กลางกาย
ปิดตา  เปิดใจ  รวมจิตให้หยุดนิ่งเป็นหนึ่งที่ศูนย์กลางกาย
 
 
         มนุษย์ผู้มีตาดีทั้งหลายในโลกนี้  ส่วนมากก็เป็นเช่น “คนตาบอด”  ในวัฏสงสาร  เพราะถูกอวิชชา  ความไม่รู้  ปิดบังไว้  ดังนั้น  เราท่านอาจเป็นหนึ่งในพวก  “ตาบอดคลำช้าง”  โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้  หนทางสว่างที่จะพ้นจากความเป็นคนบอดได้คือ  “ปิดตา  เปิดใจ  รวมจิตให้หยุดนิ่งเป็นหนึ่งที่ศูนย์กลางกาย”  เมื่อใจบริสุทธิ์  ย่อมเกิดความสว่างไสว  ทำลายความมืดบอดให้สิ้นไปได้  เมื่อนั้นเราจึงจะได้เป็น “คนตาดี”  อย่างแท้จริง
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  71 - 75
 

http://goo.gl/7y80i


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related