ผู้อยู่ใกล้ตถาคต

ธรรมดาเมื่อเรารักใคร เคารพใคร ก็อยากอยู่ใกล้ผู้ที่เรารักเราเคารพนั้น ดังเช่น หลายท่านปรารภว่า เสียดายที่เราเกิดมาไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า https://dmc.tv/a11130

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 2 มิ.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]
 
 
ผู้อยู่ใกล้ตถาคต
 
 
ธรรมดาเมื่อเรารักใคร  เคารพใคร  ก็อยากอยู่ใกล้ผู้ที่เรารักเราเคารพ
ธรรมดาเมื่อเรารักใคร  เคารพใคร  ก็อยากอยู่ใกล้ผู้ที่เรารักเราเคารพ
  
 
 
          ธรรมดาเมื่อเรารักใคร  เคารพใคร  ก็อยากอยู่ใกล้ผู้ที่เรารักเราเคารพนั้น  ดังเช่น  หลายท่านปรารภว่า  เสียดายที่เราเกิดมาไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้แต่ศึกษาคำสอนของพระองค์ผ่านพระไตรปิฏก  หรือครูบาอาจารย์ที่รักษาสืบทอดต่อกันมา  การได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด  แต่ถึงจะทำเช่นนั้นไม่ทันเสียแล้วก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว  การใกล้ชิดนั้น  มีทั้งใกล้ชิดด้วยกายธรรมภายใน  ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า  ผู้มีใจตรงกันกับพระองค์ คือเป็นผู้ประพฤติธรรม  ได้ชื่อว่าอยู่ใกล้พระตถาคตอย่างแท้จริง  ดังปรากฏใน  สังฆาฏิสูตร  ว่า
 
          “ภิกษุทั้งหลาย  แม้ถ้าภิกษุจับชายผ้าสังฆาฏิแล้วเดินตามรอยเท้าเรา  ติดตามไปข้างหลัง  แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบกำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม  มีจิตพยาบาท  คิดประทุษร้าย  หลงลืมสติ  ไม่รู้สึกตัว  มีจิตไม่ตั้งมั่น  กระสับกระส่ายไม่สำรวมอินทรีย์  แท้จริงแล้ว  ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่า  อยู่ห่างไกลเรา  เราก็ห่างไกลภิกษุนั้น  นั่นเป็นเพราะเหตุไร  เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม  เมื่อไม่เห็นธรรม  ชื่อว่าไม่เห็นเรา
  
        ภิกษุทั้งหลาย  แม้ว่าภิกษุอยู่ไกลเราถึง 100 โยชน์  แต่ภิกษุนั้นไม่มีความละโมบ  ไม่กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม  มีจิตไม่พยาบาท  ไม่คิดประทุษร้ายมีสติตั้งมั่น  มีความรู้สึกตัว  มีจิตตั้งมั่น  แน่วแน่  สำรวมในอินทรีย์  แท้จริงแล้วภิกษุนั้น  นั่นเป็นเพราะเหตุไร  เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม  เมื่อเห็นธรรม  ชื่อว่าเห็นเรา” 
  
        และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เคยตรัสสอนเช่นนี้แก่ พระวักกลิ  ผู้ออกบวช  เพราะศรัทธาชื่มชนต่อความงามในสรีรกายของพระพุทธองค์อย่างยิ่ง  ได้ติดตามดูพระองค์อย่างไม่รู้เบื่อหน่าย  จึงคิดว่า  วิธีที่จะทำให้ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทุกวัน  คือ  การบรรพชาอุปสมบท  ครั้นเมื่อได้บวชแล้ว  เว้นจากเวลาฉันภัตตาหาร  ก็ติดตามดูพระพุทธเจ้าทุกเวลา
 
 
 
เพราะศรัทธาชื่มชนต่อความงามในสรีรกายของพระพุทธองค์อย่างยิ่ง
เพราะศรัทธาชื่มชนต่อความงามในสรีรกายของพระพุทธองค์อย่างยิ่ง 
 
 
 
          กาลต่อมา  เมื่ออินทรีย์ของพระวักกลิแก่รอบแล้ว  พระพุทธองค์จึงตรัสอย่างนี้ว่า
 
          “วักกลิ  ท่านจะได้ประโยชน์อะไร  ด้วยการมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้  วักกลิ  ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราตถาคต  ผู้ใดเห็นเราตถาคต  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม  วักกลิ  เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา”
 
          พระพุทธองค์แม้ทรงประทานโอวาทอย่างนี้  พระเถระก็ไม่อาจละการติดตามดูสรีรกายพระพุทธเจ้าได้  ดังนั้นจึงทรงดำริว่า “ภิกษุนี้หากไม่ได้ความสังเวช  จักไม่ตรัสรู้”  เมื่อใกล้เข้าพรรษา  จึงทรงประกาศขับไล่พระเถระนั้นว่า  “วักกลิ  จงหลีกไป”
 
          ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใครๆ  มิอาจบิดพลิ้วได้  เพราะฉะนั้น  พระเถระจึงไม่อาจมาปรากฎตัวต่อหน้าพระพุทธองค์ได้อีก  คิดน้อยใจว่า  “บัดนี้เราจะทำอย่างไรได้  เราถูกพระตถาคตประณามเสียแล้ว  เมื่อไม่ได้เห็นพระองค์ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเรา”  จึงขึ้นสู่หน้าผาที่เขาคิชฌกูฎเพื่อจะฆ่าตัวตาย
 
          พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น  ทรงดำริว่า  ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้ความปลอบใจจากเรา  ก็จะพึงทำลายอุปนิสัยแห่งมรรคผลเสีย  จึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์อยู่ท่ามกลางอากาศ  ครั้งนั้นเมื่อพระวักกลินั้นเห็นพระศาสดา  ก็ละความโศกศัลย์ในทันที
 
          พระศาสดาเพื่อจะให้พระวักกลิเถระเกิดปีติโสมนัสแรงขึ้น  เหมือนหลั่งกระแสน้ำลงในสระแห้ง  จึงตรัสว่า “ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์  เลื่อมใสพระพุทธศาสนา  จะพึงบรรลุสันตบท (นิพพาน)  อันเป็นที่ระงับสังขาร  เป็นสุข”
 
          แล้วพระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ประทานแก่พระวักกลิเถระว่า “มาเถิด  วักกลิ”  พระเถระบังเกิดปีติอย่างแรงกล้าว่า  เราเห็นพระทศพลแล้วยังได้รับพระดำรัสตรัสเรียกว่า  “มาเถิด  วักกลิ”  ลืมสิ้นว่า  ตนอยู่ในที่ใด  จึงโลดแล่นไปในอากาศต่อพระพักตร์พระทศพล  แล้วขณะที่เท้ายังไม่พ้นภูเขา  นึกถึงพระดำรัสที่พระศาสดาตรัสแล้ว  ข่มปีติในอากาศนั่นเอง  บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฎิสัมภิทา  ลงมาถวายบังคมพระตถาคต
 
          ภายหลัง  พระศาสดาทรงสถาปนาพระวักกลิเถระ  ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ  เป็นยอดเหล่าภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา
 
 
 
แม้กายอยู่ห่างไกล  แต่หัวใจตรงกัน
แม้กายอยู่ห่างไกล  แต่หัวใจตรงกัน 
 
 
          การได้เห็น  ได้อยู่ใกล้  ครูบาจารย์เพียงกายหยาบ  ยังไม่ได้ชื่อว่า  อยู่ใกล้ที่แท้จริง  แต่การตั้งใจปฎิบัติตามคำสอนของท่าน  จึงจะได้ชื่อว่า  ใกล้ชิดท่าน  แม้กายอยู่ห่างไกล  แต่หัวใจตรงกัน  และหากยิ่งปฎิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในด้วยแล้ว  มิเพียงแค่ใกล้ชิด  แต่ได้ชื่อว่า  ได้เข้าถึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับครูบาจารย์  และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทีเดียว
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  59 - 62
 
 
 

http://goo.gl/H2LgH


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related