ภิกษุผู้ยังป่าให้งาม

พร้อมพระสาวกเถระทั้งหลาย พระสารีบุตรถามพระอานนท์ พระเรวตะ พระอนุรุทธะ พระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ ว่าป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร https://dmc.tv/a14588

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 3 พ.ย. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
ณ ป่าประดู่ลาย
 
 
เกิด เกิด เกิด ....



     อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิดเดียรฉาน ที่สุดแสนจะทนได้ อาตมภาพก็อยู่มานานมากมายหลายประการและภาพของมนุษย์ อาตมาภาพก็ได้ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็นคราว อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง อสัญญีภพบ้าง เนวสัญญีนาสัญญีภพบาง ภาพทั้งหลายอาตมาภาพรู้ชัดแล้วว่าไม่มีแก่นสารอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความแตกหัก ทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็นของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติ บรรลุสันติธรรมแล้ว
 
โคตเถรคาถา เล่ม 51 หน้า 313

 
รีบทำก่อน
(ภาษิตของพระหาริตเถระ)

     ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำในภายหลังผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความสุขและย่อมเดือดร้อนในภายหลังงานใดควรทำ ก็พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิดงานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูดถึงงานนั้น คนไม่ทำ มีแต่พูด บัญฑิตทั้งหลายก็รู้ทันพระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้วเป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีคือกิเลสเป็นธรรมเกษม เป็นที่ดับทุกข์
 
หาริตเถรคาถา เล่ม 51 หน้า 319
 

 
ภิกษุผู้ยังป่าให้งา
(ครั้งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าดคสิงคสาลวัน)

     พร้อมพระสาวกเถระทั้งหลาย พระสารีบุตรถามพระอานนท์ พระเรวตะ พระอนุรุทธะ พระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ ว่าป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร
 
     ซึ่งแต่ละองค์ต่างตอบตามความเชี่ยวชาญของตน เช่น พระอานนท์ตอบว่างามด้วยพระผู้พหูสูตพระอนุรุทธะว่างามด้วยพระผู้มีทิพพจักขุฯ พระสารีบุตรจึงชวนทั้งหมดมาทูลถาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำของใครเป็นสุภาษิต
 
     ดูก่อนสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา ถามว่าป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้นเราตอบว่า
 
     ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้วนั้งขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้
 
     ดูก่อนสารีบุตร ปาโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล
 
มหาโคสิงคสาลสูตร เล่ม 19 หน้า 35

 
พืชแม้มากที่บุคคลหว่านลงในนาดอน
ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ชาวนาเองก็ไม่ปลื้มใจ ฉันใด
ทานแม้มีมากที่บุคคลให้แล้วในผู้ทุศีล
ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทายกก็ไม่ปลื้มใจ ฉันนั้น
ส่วนพืชแม้น้อยที่หว่านแล้วในนาดี
ย่อมมีผลไพบูลย์ ชาวนาก็ปลาบปลื้ม ฉันใด
ทานเล็กน้อยที่บุคคลทำในเขตบุญ
ในท่านผู้มีศีลมีคุณธรรมที่มั่นคง
ย่อมอำนวยผลไพบูลย์ ยังผู้ให้ให้ชื่นชมยินดี ฉันนั้น


ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค 
 

http://goo.gl/EajRI


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related