เพียงรักษาจิตเท่านั้น

“พระพุทธศาสนา” เป็นศาสนาของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งความรู้อันบริสุทธิ์มากมาย https://dmc.tv/a11072

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 28 พ.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
 
เพียงรักษาจิตเท่านั้น
 
 
 
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน 
 
 
           “พระพุทธศาสนา”  เป็นศาสนาของผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  อีกทั้งยังเป็นแหล่งความรู้อันบริสุทธิ์มากมาย  การที่เราจะศึกษาเรียนรู้ความรู้เหล่านั้นให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง  เพื่อนำมาใช้เป็นแม่บทในการฝึกฝนอบรมตนเอง  ให้สะอาดบริสุทธิ์ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งหลายนั้นเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะผู้ที่มีศรัทธา  แต่ไม่ค่อยมีเวลาหรือแม้มีเวลาแต่เป็นคนที่ไม่ชอบศึกษาเรียนรู้  แต่ก็มีใจอยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ตามพระพุทธองค์ไป  เมื่อเป็นเช่นนี้บางท่านที่เริ่มศึกษาใหม่ๆ  เมื่อไม่สามารถตรองคำสอนได้  จึงเริ่มเบื่อหน่ายหมดกำลังใจที่จะศึกษาธรรมมะไปเลยก็มี
 
         ในเรื่องนี้  พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทรงเคยแนะนำภิกษุรูปหนึ่ง  ผู้ซึ่งเกิดความเบื่อหน่ายในเพศพรหมจรรย์  เพราะหมดกำลังใจในการที่จะศึกษาเรียนรู้ธรรมะที่มีมากมายเหล่านั้น  โดยพระพุทธองค์ทรงแนะนำเทคนิคพิเศษ  เพื่อให้เหมาะกับอัธยาศัยของภิกษุรูปนั้น  โดยมีเรื่องราวดังต่อไปนี้
 
          ในสมัยพุทธกาล  มีบุตรเศรษฐีท่านหนึ่งเรียกว่า  “อนุปุพพเศรษฐี”  อาศัยกรุงสาวัตถี  เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา  อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ชอบขวนขวายในการสั่งสมบุญอยู่เสมอ  วันหนึ่งท่านพิจารณาเห็นว่า  ชีวิตของผู้ครองเรือนมีความวุ่นวาย  สับสน  มีปัญหาสารพัดไม่รู้จบสิ้น  ประกอบไปด้วยทุกข์  จึงได้ตัดสินใจออกบวชในพระพุทธศาสนา  โดยมีพระภิกษุผู้ทรงพระวินัยเป็นพระอุปัชฌาย์    และพระภิกษุผู้ทรงอภิธรรมเป็นอาจารย์
 
          ภายหลังบวชแล้ว  ท่านถูกเรียกว่า “อุกกัณฐิตภิกษุ”  ฝ่ายอาจารย์ได้กล่าวสอนปัญหาในพระอภิธรรมหมวดต่างๆ ให้อย่างมากมาย  ส่วนพระอุปัชฌาย์ก็กล่าวข้อควรปฏิบัติในพระวินัยว่า  “ในพระธรรมวินัย  ภิกษุควรทำสิ่งนี้  ไม่ควรทำสิ่งนี้  สิ่งนี้เหมาะ  สิ่งนี้ไม่เหมาะ  ภิกษุควรนั่งอย่างนี้  ควรเดินอย่างนี้  เป็นต้น”
 
         อุกกัณฐิตภิกษุ  เมื่อได้รับการถ่ายทอดหัวข้ออภิธรรมและได้เรียนรู้ข้อปฏิบัติในพระวินัยมากเข้าๆ  นานวันเข้าจึงเกิดความคิดขึ้นว่า  “โอ...เราใคร่จะพ้นจากทุกข์  พ้นจากความสับสนวุ่นวายในทางโลก  จึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบ  แต่เมื่อบวชแล้วกลับรู้สึกว่า  ข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุในพระพุทธศาสนามีมากนัก  ทั้งยังมีกิจกรรมอันยุ่งยากวุ่นวาย  ราวกับว่าจะเหยียดแขนเหยียดขาไม่ได้เลย  เมื่อเป็นเช่นนี้...เรากลับไปครองเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้  เราควรสึกไปเป็นคฤหัสถ์ดีกว่า”
 
          ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เกิดความกระสันอยากสึก  หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์  ไม่ทำการสาธารยายธรรม  ไม่เล่าเรียนพระปาฏิโมกข์  กินไม่ได้นอนไม่หลับจนร่างกายผ่ายผอม  ซูบซีด  เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นถูกความเกียจคร้านครอบงำ  หมดความเพียร  ไม่ยอมทำกิจกรรมใดๆ  ปล่อยร่างกายให้สกปรกเศร้าหมอง
 
 
 
 เหล่าเพื่อนภิกษุและสามเณรเห็นจึงพากันไปบอกพระอาจารย์
  
 
         เหล่าเพื่อนภิกษุและสามเณรเห็นดังนั้น  จึงพากันไปบอกพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านทราบเรื่องทั้งหมดแล้วจึงพาอุกกัณฐิตภิกษุไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
 
          เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว  จึงตรัสถามว่า “ภิกษุ  ถ้าเธอรักษาเพียงสิ่งเดียวได้  แล้วสิ่งอื่นไม่ต้องรักษาอีกเลย เธอจะทำได้ไหม?”
 
          “อะไร?  พระเจ้าข้า”
          “เธอจะรักษาจิตของเธอ  ได้ไหม”
          “อาจรักษาได้  พระเจ้าข้า”
          พระศาสดาจึงประทานโอวาทว่า “ถ้าอย่างนั้น  เธอจงรักษาจิตของเธอไว้  เธออาจพ้นจากทุกข์ได้”  แล้วพระองค์ตรัสเป็นคาถาว่า
 
          “ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก  ละเอียดยิ่งนัก  มักตกไปสู่อารมณ์ใคร่  จิตที่คุ้มครองไว้ได้  ย่อมนำสุขมาให้
          ภายหลังจบพระธรรมเทศนา  อุกกัณฐิตภิกษุได้มีดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล  และชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก  ก็ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล  มีพระโสดาบัน  เป็นต้น ณ  ที่ตรงนั้นเอง
 
 
คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์ 
 
 
           จากเรื่องนี้  จะเห็นได้ว่า  คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  แท้จริงแล้วมารวมอยู่ที่ความสำรวมระวังรักษาใจของตนนั่นเอง  เพราะเมื่อเรารักษาใจไว้ดีแล้วก็ย่อมสามารถควบคุมกาย  วาจา  และตรองตามคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมดโดยปริยาย  และเมื่อเกิดความเข้าใจ  ก็ย่อมมองเห็นหนทางที่จะฝึกฝนตนเองให้บริสุทธิ์  สะอาด  จนกระทั่งเข้าถึงธรรมะภายในได้ในที่สุด
 
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  37 - 40
 

http://goo.gl/RU7jM


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related