แข่งบุญแข่งบารมี

มีภาษิตกล่าวว่า “แข่งเรือแข่งพาย พอแข่งได้ แต่แข่งบุญแข่งบารมี แข่งกันไม่ได้” เป็นความหมาย ให้อ่อนน้อมถ่อมตน มิให้ตีตนเสมอผู้หลักผู้ใหญ่ https://dmc.tv/a11088

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 30 พ.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18266 ]
 
 
แข่งบุญแข่งบารมี
 
 
แข่งเรือแข่งพาย  พอแข่งได้  แต่แข่งบุญแข่งบารมี แข่งกันไม่ได้
  
 
          มีภาษิตกล่าวว่า “แข่งเรือแข่งพาย  พอแข่งได้  แต่แข่งบุญแข่งบารมี แข่งกันไม่ได้”  เป็นความหมาย  ให้อ่อนน้อมถ่อมตน  มิให้ตีตนเสมอผู้หลักผู้ใหญ่  แต่เป็นเหตุให้หลายคนเข้าใจผิดว่า  ไม่ควรแข่งสร้างบุญสร้างบารมีกับใครๆ  ซึ่งอันที่จริง  การแข่งกันสร้างความดี  หรือแข่งการสร้างบุญ  ให้เป็นบุญบันเทิง  เป็นประเพณีชาวพุทธมาแต่โบราณ  ดังเหตุการณ์การบังเกิดขึ้นของ “อสทิสทาน”  ในครั้งพุทธกาล
 
          ครั้งหนึ่ง  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐  เป็นบริวาร  เสด็จกลับจากจาริกมาสู่วัดพระเชตวันพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปวิหาร  ทูลนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น  ทรงตระเตรียมอาคันตุกทานแล้ว  ได้ตรัสเรียกชาวพระนครว่า “จงดูทานของเรา”
 
          ชาวพระนครมาเห็นทานของพระราชาแล้ว  ก็คิดจะสร้างบุญบ้าง  ในวันรุ่งขึ้น  ทูลนิมนต์พระศาสดา  ตระเตรียมทานแล้ว  ส่งข่าวไปกราบทูลแด่พระราชาว่า  “ขอพระองค์ผู้เป็นสมมติเทพ  จงทอดพระเนตรทานของพวกข้าพระองค์”
 
          พระราชาเสด็จไป  ทอดพระเนตรเห็นทานนั้นแล้ว  ในวันรุ่งขึ้น  ก็ตระเตรียมถวายทานอันยิ่งกว่าของพระราชา  ด้วยการแข่งกันสร้างบุญบารมีเช่นนี้  พระราชาและชาวพระนคร  ไม่อาจเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้
 
 
 
ชาวพระนครตระเตรียมทานเพิ่มขึ้นร้อยเท่าพันเท่า 
 
 
        ต่อมาในวาระที่ ๖  ชาวพระนครตระเตรียมทานเพิ่มขึ้นร้อยเท่าพันเท่า  โดยที่ใครๆ  ไม่อาจจะพูดได้ว่า “วัตถุทานชื่อนี้ไม่มีในทานของชาวพระนครเหล่านี้”  พระราชาทอดพระเนตรทานนั้นแล้ว  ทรงดำริว่า  “ถ้าเราไม่สามารถทำทานให้ยิ่งกว่าทานของชาวพระนครเหล่านั้น  มีประโยชน์อะไรที่จะอยู่ต่อไป”  ดังนี้แล้ว  ได้บรรทมดำริถึงอุบายอยู่
 
          เมื่อพระนางมัลลิกาเทวี  ผู้เป็นพระมเหสีทราบเหตุได้กราบทูลว่า  “ข้าแต่สมมติเทพ  พระองค์อย่าทรงปริวิตกไปเลยพระองค์เคยทอดพระเนตร  หรือเคยสดับแล้วที่ไหน?  ว่ามีพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพ่ายแพ้แก่ชาวพระนคร  หม่อมฉันจะจัดแจงแทนพระองค์”
 
           แล้วกราบทูลว่า  “ข้าแต่พระมหาราชเจ้า  ขอพระองค์จงรับสั่งให้เขาทำมณฑปสำหรับนั่งภายในเป็นวงเวียน  เพื่อภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ด้วยไม้เรียบที่ทำด้วยไม้สาละและไม้ขานางพวกภิกษุที่เหลือจักนั่งภายนอกวงเวียน
 
          ขอจงรับสั่งให้ทำเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน  ให้ช้างประมาณ ๕๐๐ เชือกผูกเศวตฉัตรเหล่านั้น  ยืนกั้นอยู่เบื้องบนแห่งภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
 
          ขอจงรับสั่งให้ทำเรือด้วยทองคำอันมีสีสุก สัก ๘ ลำ หรือ ๑๐ ลำ  เรือเหล่านั้นตั้งอยู่ท่ามกลางมณฑป  เจ้าหญิงองค์หนึ่งๆ ให้นั่งบดของหอม  อยู่ในระหว่างภิกษุ ๒ รูปใดๆ เจ้าหญิงองค์หนึ่งๆ  ให้ถือพัดยืนพัดภิกษุ ๒ รูปๆ  เจ้าหญิงที่เหลือในนำของหอมที่บดแล้ว  มาใส่ในเรือทองคำทั้งหมด  บรรดาเจ้าหญิงเหล่านั้น  เจ้าหญิงบางพวกให้ถือกำดอกอุบลเขียว  เคล้าของหอมที่ใส่ไว้ในเรือทองคำแล้ว  ให้ภิกษุได้รับกลิ่นไอของหอม
 
          ชาวพระนครจักพ่ายแพ้ด้วยเหตุเหล่านี้  เพราะชาวพระนครไม่มีเจ้าหญิง  เศวตฉัตรก็ไม่มี  ช้างก็ไม่มี  ข้าแต่มหาราช  ขอพระองค์จงรับสั่งให้ทำอย่างนี้เถิด
 
          พระราชาทรงชมเชยพระนางมัลลิกา  แล้วจึงรับสั่งให้ทำตามที่พระนางกราบทูล  แต่เมื่อคัดช้างแล้วได้ ๔๙๙ เชือก ขาดไป ๑ เชือก  นอกนั้นเป็นช้างดุร้าย  พระนางมัลลิกา  จึงแนะนำให้นำลูกช้างดุร้ายเชือกหนึ่ง  ไปประจำตำแหน่งของพระองคุลีมาล  เมื่อพระราชารับสั่งให้ราชบุรุษทำตามนั้น  ลูกช้างดุร้ายนั้นสอดหางเข้าในระหว่างขา  หรุบหูทั้งสอง  หลับตายืนนิ่งอยู่  มหาชนแลดูด้วยความอัศจรรย์ในอานุภาพของพระเถระ
 
 
 
กัปปิยภัณฑ์(ของที่ควรแก่สมณะ) 
 
 
          พระราชาทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารอันประณีต  แล้วถวายบังคมพระศาสดา  กราบทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  สิ่งใดเป็นกัปปิยภัณฑ์(ของที่ควรแก่สมณะ)  หรือเป็นอกัปปิยภัณฑ์(ของที่ไม่ควรให้แก่สมณะ)  ในโรงทานนี้  หม่อมฉันจักถวายสิ่งนั้นทั้งหมดแด่พระองค์
 
          ในทานนั้นสิ้นทรัพย์๑๔ โกฏิ ซึ่งพระราชาทรงบริจาคในวันเดียวเท่านั้น  วัตถุทานนั้นมีของหาค่ามิได้ ๔ อย่าง คือเศวตฉัตร ๑, บัลลังก์ สำหรับนั่ง ๑, เชิงบาตร ๑, ตั่งสำหรับเช็ดเท้า ๑,
 
          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  “ทานนี้ ชื่อว่า อสทิสทาน(ทานอันหาที่เปรียบไม่ได้)  ใครๆก็สามารถถวายแด่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  ได้ครั้งเดียวเท่านั้น  ธรรมดาทานเห็นปานนี้  เป็นของยากที่บุคคลจะถวายอีก”
  
        การแข่งกันสร้างความดีของพระราชา  และชาวพระนครนี้  แม้จะเจือด้วยความ “แข่งดี”  กันอยู่บ้าง  แต่ก็เป็นการแข่งขันกันสร้างความดี  ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป  เข้าหลักวิชาว่า “เอาตัณหาละตัณหา”  ซึ่งที่สุดทุกคนก็ Win-Win  ต่างได้บุญบารมีกันไปเต็มที่ทุกคน  ฉะนั้นเมื่อใครทำคุณงามความดี  ก็ให้เกิดเป็นกำลังใจที่จะทำให้ได้บ้าง  หรือทำให้ยิ่งกว่านั้น  ก็จะเป็นการส่งเสริมผู้มาในภายหลัง  ให้เกิดเป็นกำลังใจในการสร้างความดี  ดังเช่นที่เราได้จากการศึกษาเรื่อง  อสทิสทาน  ในสมัยพุทธกาล
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  41 - 45
 
 
 

http://goo.gl/ndbJe


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related