อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ฟุ้ง

ฟุ้งไปในเรื่องราวต่าง ๆ นานา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เกี่ยวกับคนสัตว์สิ่งของ ทำให้ใจไม่หยุดนิ่ง https://dmc.tv/a25752

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สมาธิ
[ 28 ม.ค. 2563 ] - [ ผู้อ่าน : 18291 ]

อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ฟุ้ง

อุปสรรค วิธีแก้ไข ในการปฏิบัติธรรม จากประสบการณ์ของกลุ่มภิกษุชุดปฏิบัติธรรม

อาการ
     
     ฟุ้งไปในเรื่องราวต่าง ๆ นานา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เกี่ยวกับคนสัตว์สิ่งของ ทำให้ใจไม่หยุดนิ่ง

สาเหตุ
 
     เพราะไม่สำรวมอินทรีย์ พดู มาก พูดเพ้อเจ้อ ทำให้จิตหยาบ  ใจผูกพันกับคนสัตว์สิ่งของ ทำให้ความคิดวนเวียน หรือมีความกังวลกับเรื่องราวต่าง ๆ เช่น เรื่องงานที่ได้รับมอบหมาย เรื่องครอบครัว เรื่องเพื่อน สหธรรมิก  หรือเรื่องเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น หรือไม่ก็มัวแต่นึกถึงภาพเก่าๆ ในอดีตที่ ผ่านมาแล้ว
 
     หรือคิดเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง    ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่กำหนดองค์พระ หรือ ไม่ประคองใจที่ศูนย์กลางกาย
 
 
วิธีการแก้ไข

     ฟุ้งหยาบ ส่วนใหญ่มาจากนิวรณ์ ๕ เช่น เรื่องกาม เรื่องพยาบาท เป็นต้น หรือเรื่องาน ที่รับผิดชอบ  ทำให้ใจไม่ปลอดกังวล มีความคิดวนเข้ามาตลอดทั้งภาพและเสียง
   
     ในเบื้องต้น ต้องแก้โดยการนึกนิมิตที่เรา ชอบ ไม่ว่าจะเป็นองค์พระ ดวงแก้ว หรืออะไร ก็ได้ที่เรารู้สึกชอบ โดยไม่รู้สึกฝืน  ให้นึกเอาไว้ ที่กลางท้อง หรือตำแหน่งไหนก็ได้ที่เราสบาย
 
     แต่ถ้าฟุ้งเป็นเสียงขึ้นมา เช่น เสียงเพลง เสยีงดนตรี ก็ให้ภาวนา “สมัมา อะระหัง”  ไป เรื่อย ๆ จนกว่าจะหายฟุ้ง
 
     ถ้ายังมีความฟุ้งเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ จนไม่ สามารถควบคุมได้  ก็ค่อยๆ  ลืมตามาดูภาพที่ ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ ภาพที่ทำให้ใจเราสูงขึ้น เช่น ภาพมหาปูชนียาจารย์ หรือดูดวงแก้ว ดูองค์พระ ถ้าไม่มีอะไรให้ดูก็ดูต้นหมากรากไม้ ถ้ากลางคืนก็ดูความมืด พอใจสบายหายฟุ้งก็ ค่อยๆ หรี่ตาลงมา แล้วทำใจนิ่งๆ เริ่มต้นใหม่ อย่างสบายๆ มีสติ แต่ถ้าหลับตาแล้วยังไม่หาย ฟุ้ง ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถ ลุกไปดื่มน้ำา ไปดูวิว  ทิวทัศน์ ดูให้ใจสบาย พอใจสบายก็ค่อยกลับ มานั่งใหม่ด้วยใจที่ใสๆ   เบิกบาน   พร้อมที่จะ เริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เป็นสุข 
 
     ฟุ้งปานกลาง คือ ฟุ้งถึงกิจกรรมที่ทำมาอาจเป็นงานบุญหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่ไม่ทำให้ ใจขุ่นมัว และพอที่จะควบคุมได้ เมื่อมีความ คิดผ่านเข้ามาอย่ากังวล อย่าคิดต่อ ทำเหมือน เป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้แสดง ถ้าเราเข้าไปแสดงด้วย คือ ใช้ความคิดต่อเรื่องราวเหล่านั้น เรื่องฟุ้ง ก็จะยาว แต่ถ้าเราเป็นเพียงผู้ดู ดูเฉยๆ ไม่ใช้ ความคิด  เรื่องราวต่าง ๆ  จะหายไปเอง  เหลือ แต่ความโล่งว่าง เบาสบาย 
 
     ฟุ้งละเอียด เป็นฟุ้งเกี่ยวกับงานบุญกุศล เป็นได้ทั้งภาพและเสียง ให้ดูเฉยๆ ช่างมัน ไม่ ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น     มีอะไรให้ดูก็ดูไปโดยไม่คิดอะไรทั้งสิ้นปล่อยให้มันเป็นไป เดี๋ยวก็หยุดเอง
 
     ธรรมชาติของใจเราถูกสอนให้คิดตั้งแต่ เด็ก ดังนั้นเมื่อมีกระแสความคิดเข้ามาในใจ อย่ากังวลใจ ให้หัดปล่อยวาง เปรียบเสมือน การถือของหนักๆ เมื่อวางของนั้นลงเราจะรู้สึก เบาสบาย เช่นเดียวกับใจ เมื่อปล่อยวางได้  ใจ เราจะโปร่งเบาสบาย ให้หัดพิจารณาปล่อยวาง จากทุกสิ่ง โดยพิจารณาว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่สาระแก่นสาร จะต้องพลัดพราก จากกันไปในที่สุด  ทิ้งให้หมด  ปล่อยวาง  ให้มี เพียงลมหายใจและศูนย์กลางกาย  
 
     ในช่วงนั่งธรรมะให้ตัดเครื่องมือสื่อสาร ทั้งหมด ให้ตัดใจเหมือนตายจาก โดยคิดว่าทุก คนตายไปหมดแล้ว เหลือแต่เราเพียงคนเดียว
 
     ให้มีจิตเมตตาต่อทุกคนให้อภัย ไม่ผูก โกรธ จับแง่คิดให้เป็น ระมัดระวังไม่ไปกระทบ กระทั่งกับใคร ไม่ยินดียินร้ายในทุกเหตุการณ์ ทำใจเหมือนผู้เจนโลก วางเฉย แล้วประคองใจ ไว้ที่ศูนย์กลางกาย ติดกลางพระเดชพระคุณหลวงปู่และมหาปูชนียาจารย์ ทั้งในรอบและ นอกรอบ

คำสอนพ่อ
 
     ฟุ้งได้ฟุ้งไป ยามใดที่เราฟุ้งซ่านอย่าโมโห อย่ารำคาญตัวเอง เพราะเป็นคนต้องคิดอยู่แล้ว ความคิดเป็นกระบวนการหนึ่งของใจ ฟุ้งได้  ฟุ้งไป อย่าเก็บมาเป็นอารมณ์ อย่าต่อเติม อย่าต่อต้าน ให้ดูเรื่องราวนั้นผ่านไปเรื่อย ๆ เหมือนมองนกบินผ่านไป ดูเฉยๆ ไม่ต้องคิด อะไรทั้งสิ้น
 
     ถ้าฟุ้งแบบที่มีเสียงสอนธรรมะขึ้นมาแบบ นี้เรียกว่าฟุ้งละเอียด เป็นฟุ้งสีขาว ฟุ้งแบบนี้ ยังดีเพราะเป็นฟุ้งที่เป็นกุศล แต่ก็ยังจัดว่าเป็น ความฟุ้งอยู่ ดังนั้นวิธีแก้คือ ทำเฉยๆ นิ่งเข้า ไปเรื่อย ๆ ดูเหมือนว่าเราจะแจ่มแจ้งแตกฉาน ในหัวข้อธรรม แต่จริง ๆ แล้วเรายังไม่ค่อยจะรู้ เรื่อง ได้แค่รู้สึกปลื้มนิดๆ เป็นกุศลจิตภายใน เป็นฟุ้งละเอียด
 
     แต่ถ้าคิดว่าฟุ้งหรือเปล่า ชักสงสัย นี่ก็ไม่ ถึงระดับฟุ้งมาก แค่อยู่ในระดับวิจิกิจฉาสงสัย แต่ถ้าไม่ฟุ้งเลยจะมีความชัดใสสว่าง   มีความ สุขและความบริสุทธิ์เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
 
     ถ้าฟุ้งหยาบคือ คิดไปเรื่อยเปื่อย เราสู้ไม่ ไหวก็ให้ลืมตามาดูภาพพระเดชพระคุณหลวงปู่ พอหายฟุ้งก็ค่อยๆ หลับตาเบาๆ แค่ขนตาชน กันแล้วนึกถึงภาพท่านอย่างสบายๆ   ถ้านึกได้ บางส่วนก็นึกบางส่วน นึกได้ทั้งหมดก็นึก ทั้งหมด จะนึกเป็นโครงๆ ไปก่อนก็ได้ จะมืด ทั้งหมดหรือมืดบางส่วนก็ไม่เป็นไร พอใจเรา เริ่มคุ้นเคยและเริ่มหยุดนิ่งแล้ว ภาพท่านจะ เริ่มสว่าง   เริ่มจากสว่างทีละส่วนก่อน   พอใจ หยุดนิ่งได้มากขึ้นก็สว่างทั้งหมด
 
     มีสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ คือให้นึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้ได้ตลอดทั้งวัน เพราะ เมื่อใดที่เรานึกถึงท่าน ท่านก็จะนึกถึงเรา จะ ทำให้เราเข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆ ง่ายอย่างที่ เราคิดกันไม่ถึงทีเดียว

ต้องมีความสุข สุขเพราะนิ่ง
เฉยจึงสุข สุขจึงสว่าง
สว่างจึงเห็น สูตรเป็นอย่างนี้
มันต้องนิ่งอย่างเดียว ถ้าไม่นิ่งมันก็ไม่เห็น
ไม่นิ่งเพราะมันมีฟุ้งกับตั้งใจมากเป็นหลัก
ตั้งใจมากก็ไม่ได้ จิตมันหยาบ
ฟุ้งใจมันก็กระเจิง

๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

จากหนังสือ ทำง่าย...ทำได้  ทำได้...ได้ทำ





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย ในการสร้างสันติภาพโลกด้วยสมาธิ
      เพลงสอนสมาธิ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ง่วง-หลับ
      ปฏิบัติธรรมวันแม่ รวมสถานที่ปฏิบัติธรรมวันแม่ ของขวัญวันแม่ที่ดีที่สุด
      สถานที่ปฏิบัติธรรม ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
      สาเหตุหนึ่ง..ที่ทำให้ใจรวมยาก
      ทางลัด ในการเข้าถึงธรรม
      สมาธิ ตอนที่ 3 อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจ
      สมาธิ ตอนที่ 2 เริ่มต้นนั่งสมาธิ
      สมาธิ ตอนที่ 1 แนะนำเรื่องสมาธิ
      การนั่งสมาธิ ด้วยการฝีกสมาธิเบื้องต้น
      สมาธิคืออะไร?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related