อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ง่วง-หลับ

ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า ทำให้นั่งหลับ นั่งโยกเยก รู้สึกมึนงง ง่วงซึม อยากนอน หาว บ่อย ตาลอย ลืมตาไม่ขึ้น คอตก หายใจแรง กรน ไม่สามารถประคองสติได้ตลอดเวลา https://dmc.tv/a25787

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สมาธิ
[ 4 ก.พ. 2563 ] - [ ผู้อ่าน : 18290 ]

อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ง่วง-หลับ

อุปสรรค วิธีแก้ไข ในการปฏิบัติธรรม จากประสบการณ์ของกลุ่มภิกษุชุดปฏิบัติธรรม

 
 
อาการ

     ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า ทำให้นั่งหลับ นั่งโยกเยก รู้สึกมึนงง ง่วงซึม อยากนอน หาว บ่อย ตาลอย ลืมตาไม่ขึ้น คอตก หายใจแรง กรน ไม่สามารถประคองสติได้ตลอดเวลา

สาเหตุ
 
     พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สติหย่อน
   
     ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกาย มากเกินไป หรืออบสมุนไพรเป็นเวลานาน เกินไป
 
     ป่วย  ร่างกายไม่แข็งแรงต้องการพักผ่อน หรือมีโรคประจำตัว
 
     รับประทานอาหารมากเกินพอดี เคี้ยว ไม่ละเอียด ทำให้กระเพาะทำงานหนัก อาหาร จึงไม่ย่อย หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะ กับตัวเอง
 
     นั่งท่าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น นั่งพิงผนัง นั่งกอดอาสนะ นั่งในท่าที่สบายเกินไป ปล่อย ใจให้เคลิบเคลิ้ม ง่วงหลับจนติดนิสัย ฟุ้งจนสติ หย่อนแล้วเผลอหลับ ไม่ได้ประคองสติ หรือไม่ นึกนิมิตอะไรเลย ฟุ้งมาก วางใจเบาเกินไปจน เผลอสติ
 
วิธีการแก้ไข
 
     พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมี กำลังและรู้สึกสดชื่น การนั่งเนสัชฯ*  ในขณะที่ กายและใจยังไม่พร้อมมักจะทำให้ใจหลุดเผลอ หลับ และอ่อนเพลียช่วงกลางวัน ควรพักผ่อน ให้เพียงพอ จะทำให้นั่งในรอบปกติได้ดีกว่า
 
     ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหมจน เกินไป  เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนล้า  ควร รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการยืดเส้นหรือ เล่นโยคะอย่างสม่ำเสมอ  และใช้เวลาอบสมุนไพรแต่พอดีๆ
 
     หากรู้สึกไม่สบาย ต้องรีบรักษาสุขภาพ ให้หายโดยเร็ว อย่าดูเบา หากจำเป็นควร ปรึกษาแพทย์
 
     รู้จักประมาณในการรับประทาน อาหาร รับประทานแต่พอดี ควรทานอาหาร ที่มีประโยชน์ ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อย ยาก และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
 
     ขณะปฏิบัติธรรมให้ประคองสติให้ดี อย่าเผลอหลับ กำหนดนิมิตที่ศูนย์กลางกาย กำหนดแสงสว่าง วางใจเบาๆ พอสบายๆ โดย หาจุดพอดีสำหรับตัวเอง เพิ่มสติขึ้นอีกนิดด้วย การสูดลมหายใจลึกๆ จนสุดลมหายใจเข้าหรือ อาจจะขยับเนื้อขยับตัวเล็กน้อย  เพื่อให้ตื่นจาก อาการเคลิ้มง่วง
 
     ถ้ายังไม่หายก็ให้ลืมตาขึ้น  บีบเนื้อบีบตัว แล้วค่อยๆ   หลับตาทำสมาธิต่อ
 
     ถ้ายังรู้สึกง่วงให้ลุกไปดื่มน้ำ ล้างหน้า ล้างตาให้สดชื่น แล้วจึงกลับมานั่งใหม่ หรือ ปล่อยให้หลับไปก่อน      เมื่อรู้สึกสดชื่นแล้วจึง ค่อยเริ่มต้นใหม่อย่างสบายๆ
 
     ควรนั่งในท่ามาตรฐาน ตั้งกายให้ตรง อย่างสบายๆ หลังพิงอากาศ ไม่หมอบกับพื้น ไม่นั่งพิงผนัง เพราะจะทำให้รู้สึกสบายเกิน พอดีและหลับได้
 
คำสอนพ่อ
 
เราต้องมาสังเกตว่าที่เราง่วงเป็นเพราะ เราพักผ่อนน้อยหรือเปล่า เหนื่อยมากหรือ เปล่า ถ้าพักผ่อนน้อยเราก็ควรปล่อยให้หลับ ไปก่อน   แต่ถ้าหากว่าเป็นที่ใจ คือเราก็พักผ่อน เต็มที่ เหนื่อยก็ไม่เหนื่อย อย่างนี้ต้องเปลี่ยน อิริยาบถ หรือนึกนิมิตแสงสว่าง เช่น นึกนิมิต เป็นดวงอาทิตย์ไว้กลางท้องแล้วดูไปเรื่อย ๆ ตา จะได้สว่าง แล้วก็ตั้งสติของเรา เอาชนะความ ง่วงให้ได้
 
วิธีการที่เป็นแม่บท
คือ หยุด นิ่ง เบาสบาย
และมีความสุขมากขึ้นๆ
เรียนไปแบบไร้แรงโน้มถ่วง
ไร้แรงกดดัน
เหมือนนั่งอยู่ในอวกาศ

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
 
จากหนังสือ ทำง่าย...ทำได้  ทำได้...ได้ทำ





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย ในการสร้างสันติภาพโลกด้วยสมาธิ
      เพลงสอนสมาธิ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ฟุ้ง
      ปฏิบัติธรรมวันแม่ รวมสถานที่ปฏิบัติธรรมวันแม่ ของขวัญวันแม่ที่ดีที่สุด
      สถานที่ปฏิบัติธรรม ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
      สาเหตุหนึ่ง..ที่ทำให้ใจรวมยาก
      ทางลัด ในการเข้าถึงธรรม
      สมาธิ ตอนที่ 3 อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจ
      สมาธิ ตอนที่ 2 เริ่มต้นนั่งสมาธิ
      สมาธิ ตอนที่ 1 แนะนำเรื่องสมาธิ
      การนั่งสมาธิ ด้วยการฝีกสมาธิเบื้องต้น
      สมาธิคืออะไร?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related