เลิกนิสัยขี้เกรงใจผู้อื่น

จะทำอย่างไรถึงจะรักษาความเกรงใจให้สมดุล https://dmc.tv/a24946

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทันโลกทันธรรม
[ 11 มิ.ย. 2562 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
เลิกนิสัยขี้เกรงใจผู้อื่น
จะทำอย่างไรถึงจะรักษาความเกรงใจให้สมดุล
 
เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง GBN
 

คนที่เกรงใจมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียอะไรบ้าง?

          มีบ้างไหมมีของเต็มบ้านเลย เพราะเพื่อนมาขายของแล้วเราก็เกรงใจซื้อไปอย่างนั้นไม่ได้เอาไปใช้ เป็นความเกรงใจที่ก่อให้เกิดผลเสียกับตัวเราและอาจก่อให้เกิดผลเสียกับเพื่อนของเราด้วย คือทำให้เราเสียทรัพย์หรือเสียเวลา บางครั้งเสียความเป็นตัวของตัวเอง อยากจะทำอะไรแต่เกรงใจเลยไม่ทำ หรือทำตามทั้งที่ใจไม่อยากทำ
 
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเกรงใจกัน?
 

          มี 2 สาเหตุหลัก คือ love กับ Fear love เกิดจากการที่เรารักคนอื่น รักเพื่อนที่มาชวนก็เลยไม่อยากปฏิเสธไม่อยากให้เสียใจ อยากให้เขามีความสุข เหตุผลข้อสองคือความกลัว กลัวว่าเพื่อนไม่รักเรา หรือกลัวว่าเพื่อนจะตำหนิ จะเกลียด จะทอดทิ้งเรา จึงกลัวไม่กล้าปฏิเสธ
         
          หากเราทำให้เขารักเราน่าจะมีความสุข แต่บางครั้งกลับก่อให้เกิดผลเสียกับเขาได้ เช่นเพื่อนขอลอกการบ้านแล้วรู้สึกรักเพื่อน กลัวเพื่อนส่งงานไม่ทัน ให้เพื่อนลอกการบ้านไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลเสียกับเพื่อนได้ เพราะเพื่อนไม่ได้เรียนรู้อะไร 
 
หลักการที่ตัดสินใจว่าควรจะเกรงใจเพื่อนมีอะไรบ้าง?
 

          มีหลักอยู่ 3 ข้อ คือ 1.ดูว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด เช่น ในกรณีที่เราสุขภาพไม่ดีแล้วคุณหมอห้ามดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อนมาชวนไปกินเหล้าแล้วเราเกรงใจจึงไปกับเพื่อน กรณีนี้เป็นความเกรงใจที่ไม่ถูกต้อง บนพื้นฐานสุขภาพตัวเองเพราะเอาสุขภาพตัวไปเสี่ยง ดังนั้นกรณีนี้ควรจะปฏิเสธ
          2.เป็นการก่อประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ เช่น มีเพื่อนเป็นเซลล์ชวนซื้ออาหารเสริม และเป็นช่วงที่เราสุขภาพไม่ค่อยดี ต้องการวิตามินหรืออาหารเสริม เป็นจังหวะทีดี ที่ควรอุดหนุนเพื่อน แต่หากเราแข็งแรงไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ และเพื่อนมาคะยั้นคะยอให้เราซื้อ เราต้องซื้อเพราะความเกรงใจก็เป็นสิ่งที่ไม่ควร ก็ต้องกล้าหาญไม่เกรงใจเพื่อน ต้องปฏิเสธเพื่อนไป 
 
 
          3.ก่อให้เกิดโทษกับใครหรือไม่ เช่น เรื่องการขอลอกข้อสอบซึ่งบางครั้งอาจจะมีเพื่อนขอลอกข้อสอบ แล้วคนให้ลอก ด้วยความเห็นใจเพื่อนว่าอ่านหนังสือไม่ทันจึงให้ลอก กรณีนี้จะก่อให้เกิดโทษทั้ง ผู้ให้ลอกแล้วก็พูดลอก ถ้าโดนจับได้
 
          จะตัดสินใจว่าจะเกรงใจหรือไม่เกรงใจ ต้องอยู่บนหลักการว่า เรื่องที่ทำนั้นต้องเย็นทั้งเขาเย็นทั้งเรา เกิดประโยชน์เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย แล้วก็ไม่เกิดผลเสียไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
 
จะฝึกอย่างไรถึงจะเป็นคนที่รักษาสมดุลแห่งความเกรงใจได้พอดี?

 
          มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ถามตัวเองก่อนว่าเราเกรงใจเขาเพราะอะไร เพราะเรารักเขา หรือเพราะเรากลัวว่าเขาจะไม่รักเรา หากตอบคำถามนี้ได้จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น กรณีเพื่อนขอลอกข้อสอบ ก็ถามตัวเองว่าเราควรจะเกรงใจเขาเพราะอะไร เพราะเรารักเขาหรือ ถ้าเรารักเขาจริง เราก็ไม่ควรให้เขาลอก เพราะกลัวเขาจะโกรธหรือ ก็ไม่ควรกลัว เนื่องจากเป็นความผิดของเขาเพราะเขามาขอลอกข้อสอบแล้วเราไม่ให้เขาลอก จึงไม่ต้องกลัวเขาโกรธ ดังนั้นถ้าถามตัวเองแล้วตอบได้อย่างชัดเจน ก็จะตัดสินใจได้ว่า ควรจะเกรงใจหรือไม่เกรงใจเพื่อน 

 
          2.รู้จักการปฏิเสธอย่างถนอมน้ำใจ เช่น เพื่อนชวนไปดูคอนเสิร์ต เขาอยากดูคอนเสิร์ตนี้มากแต่ช่วงนั้นเราจะยุ่งมาก ก็ต้องรู้จักวิธีปฏิเสธอย่างนุ่มนวลว่าช่วงนี้ต้องดูแลครอบครัว หรือมีงานเยอะจะต้องสะสางงาน เพราะฉะนั้นควรรู้จักปฏิเสธ รู้จักรักษามิตรภาพ ไม่ควรจะปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย

 
          3.หากบางเรื่องปฏิเสธไม่ได้ ก็ควรมีการยื่นข้อเสนอหรือต่อรอง เช่นเพื่อนสนิทที่มาก เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ตอนนี้เขาลำบากมาขอยืมเงินเรา เราก็ควรช่วยเหลือเขาเท่าที่เราช่วยได้เขาอาจจะมาขอยืมเป็น 100,000 แต่เราอาจจะมีความสามารถจะช่วยได้แค่หลักหมื่น ก็ต้องต่อรองยื่นข้อเสนอว่า ไม่สามารถให้ได้เต็มแต่ให้ได้ระดับนี้ เกรงใจเขาระดับหนึ่งคือให้เขาไประดับหนึ่ง ในระดับที่เราช่วยเหลือเขาได้


          4.เลิกกลัวว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเรา เช่น มีเพื่อนเรามาชวนลงทุน แต่เรารู้สึกว่ามีความเสี่ยงมาก สมัยนี้มีพวกแชร์ลูกโซ่ แต่เขาไม่ได้บอกเราว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ หากไม่มั่นใจก็ปฏิเสธไปเลยไม่ต้องเกรงใจว่าเพื่อนมาด้วยความหวังดี 
 
          5.ดูให้รู้ว่าใครคบเราเพราะผลประโยชน์หรือไม่ บางทีเขาหวังให้เราเกรงใจเขาอย่างเดียว เขาไม่เกรงใจเราเลย เช่น ให้เราซื้อของซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้ แต่เขานั่งแค่นอยู่ 2-3 ชั่วโมง เราควรจะรู้สึกแล้วว่าเขาไม่เกรงใจเรา เพราะเราควรมีเวลาส่วนตัวบ้าง หากเจอคนแบบนี้บ่อยๆ อาจต้องถอยระยะห่างออกมาพอสมควร เพราะเราจะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์เสมอไป

 
          หากจำไม่ได้ก็มีหลักการสั้นๆ ว่าต้องมีจุดยืน 3 ข้อ คือ
1. ดูว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี 
2.เรื่องนั้นมีประโยชน์ไม่มีประโยชน์ ถ้ามีประโยชน์กับเราและเพื่อนก็ควรเกรงใจ แต่ถ้าไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลย ก็ไม่ต้องเกรงใจให้ปฏิเสธ
3.เรื่องนั้นทำให้เกิดโทษหรือไม่ ก่อให้เป็นความเสียหายหรือเปล่า ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายก็ควรปฏิเสธไปโดยไม่ต้องเกรงใจ
 
ทันธรรม...โดยพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ 
 

          มีบทเพลงหนึ่งกล่าวว่า “ความเกรงใจเป็นสมบัติของคนดี ตรองดูสิทุกคนก็มีหัวใจเกิดเป็นคน ถ้าหากไม่เกรงใจใครคนนั้นไซร้ไร้คุณธรรมประจำตน” หมายถึงกรณีที่เราไปรบกวนคนอื่น แล้วไม่เกรงใจเขาเลยไปรบกวนทำให้เขาเดือดร้อน ถ้าอย่างนี้แล้วก็ขาดคุณสมบัติของผู้ดี เราต้องรู้จักเกรงใจไม่รบกวนคนอื่น 

 
          เมื่อคนอื่นเขามารบกวนเรา เราจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ของตะวันตกวัฒนธรรมค่อนข้างชัดเจนคือพูดตรงๆ ได้ไม่ได้คุยกันชัดเจนแต่พอจบก็จบ แม้แต่หัวหน้ากับลูกน้อง อาจารย์กับลูกศิษย์ แต่ของไทยเมื่อมีใครขอร้องอะไรมา จะปฏิเสธก็เกรงใจเลยเออๆ ออๆ ไปก่อน แต่ในใจไม่เต็มใจ แล้วทำแบบฝืนๆ ตัวเองก็ทุกข์ สิ่งที่ทำก็ไม่เต็มที่

 
          ในการประชุมของฝรั่งเขาถือว่าถ้าอยู่ในที่ประชุมแล้วไม่พูดจะมาอยู่ในที่ประชุมทำไม แค่มานั่งรับฟังว่าเขาคุยอะไรกัน มาในฐานะอะไร เป็นตัวแทนหน่วยงานไหน เมื่อมาแล้วมีความเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องก็ต้องแสดงความเห็น จะได้เกิดประโยชน์ต่อที่ประชุม แต่คนไทยอยู่ในที่ประชุมไม่ค่อยชอบพูด หากพูดแล้วไม่ถูกหูผู้ใหญ่ก็จะเดือดร้อน เป็นผู้น้อยต้องรู้จักสงบเสงี่ยมเจียมตัว เพราะสังคมไทยกึ่งๆ เป็นสังคมอุปถัมภ์อยู่ สืบทอดมาจากสังคมศักดินา จะเติบโตได้ต้องอาศัยผู้ใหญ่อุ้มชู เป็นหลัก ทำตัวให้น่ารักในสายตาผู้ใหญ่ จะเจริญก้าวหน้าแต่คนไหนแสดงความเห็นมาก เป็นตัวของตัวเองมาก ผู้ใหญ่จะหมั่นไส้ต่อให้เก่ง ทำงานแทบตายก้าวหน้าสู่คนใกล้ชิดผู้ใหญ่และความประจบประแจงไม่ได้ จึงทำให้สังคมไทยออกเป็นเชิงนี้ ทำให้การพัฒนาก้าวหน้าเป็นไปได้ยาก 

 
          เพราะฉะนั้นในยุคนี้ การทำงานมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทุกอย่างต้องศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ในยุคนี้ยิ่งต้องเค้นเอาศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้อย่างเต็มที่ เลิกคำว่า ขี้เกรงใจประเภทที่มีความรู้ไม่กล้าพูดไม่กล้าแสดงออก ต้องรู้จักการพูด การแสดงออกตามความคิดที่แท้จริงของเรา กล้าพูดตรง แต่มีมารยาทมีศิลปะ ให้เกียรติคนอื่น แต่ชัดเจนในตัวเอง ใช่คือใช่  ไม่คือไม่ หากมีคนมาขอร้องให้เราทำในสิ่งที่เราไม่อยากทำ แล้วจะเดือดร้อน เราก็ตอบตรงๆ ว่าไม่ได้ ด้วยเหตุด้วยผลที่ดี ด้วยท่าทีที่นอบน้อม

 
          แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเลยว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคตจะไม่ทำกับเธออย่างทะนุถนอมเหมือนช่างปั้นหม้อ ที่ทำกับหม้อดินที่ยังดิบอยู่ แต่เราจักกระหนาบแล้วกระหนาบอีก ชี้โทษแล้วชี้โทษอีก ผู้มีมรรคผลเป็นแก่นสารเท่านั้น จึงจักทนอยู่ได้” วัตถุประสงค์ของการบวชคือจะมาฝึกตัวเอง พระองค์ไม่มานั่งเอาอกเอาใจ แต่หากพระป่วยพระองค์ไปดูแล เช็ดเนื้อเช็ดตัวให้ ด้วยตัวพระองค์เอง ใครที่ปรารถนาอุปัฏฐากดูแลพระองค์ ให้มาดูแลภิกษุไข้จะได้อานิสงส์มาก แต่หากทำไม่ถูกพระองค์จะชี้โทษและชี้โทษอีกไม่มีหยุดจะกระหนาบและจากกระหนาบอีกไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลนิพพานเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจึงจะทนเราได้ พระพุทธเจ้ามีหลักอย่างนี้ ให้นำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานของเรา แล้วจะประสบความสำเร็จ สบายใจทั้งตัวเองทั้งหน่วยงานแล้วก็สังคมโดยรวม
 
 

รับชมคลิปวิดีโอเลิกนิสัยขี้เกรงใจผู้อื่น : ทันโลกทันธรรม
ชมวิดีโอเลิกนิสัยขี้เกรงใจผู้อื่น : ทันโลกทันธรรม   Download ธรรมะเลิกนิสัยขี้เกรงใจผู้อื่น : ทันโลกทันธรรม






พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ให้ใจอย่าให้เจ็บ
      คนพันธุ์ Possible
      แบกให้สมวัย
      รักแท้ที่แม่ปลื้ม
      หนึ่งคนกับตัวตนย่อย
      พิษจากองศาอารมณ์ร้อน
      พฤติกรรมลดเสน่ห์
      ความเป็นส่วนตัวบนพื้นที่ส่วนรวม
      วิกฤติมารยาท
      ธรรมชาติลงโทษ
      สุขภาพดีแม้ทำงานหนัก
      เรื่องกินเรื่องใหญ่
      คนในความลับ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related