คนที่ใช่ในเวลาที่ถูก

ปัจจัยที่ทำให้สามารถเป็นต่อในการแข่งขันคือคนและการบริหารทรัพยากรบุคคล ถ้าองค์กรใดมีการจัดกำลังการบริหารบุคลากรได้อย่างดี จะยิ่งได้เปรียบ https://dmc.tv/a24579

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทันโลกทันธรรม
[ 26 ก.พ. 2562 ] - [ ผู้อ่าน : 18266 ]
คนที่ใช่ในเวลาที่ถูก
 
เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง GBN

 
          ในสภาวะที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเข้มข้นนั้น แต่ละองค์กรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและปัจจัยที่ทำให้สามารถเป็นต่อได้ในการแข่งขันคือคนและการบริหารทรัพยากรบุคคล ถ้าองค์กรใดมีการจัดกำลังการบริหารบุคลากรได้อย่างดี สามารถจัดวางกำลังคนเลือกคนที่มีอยู่และคนที่เข้ามาใหม่ให้กลายเป็นคนที่ใช่สำหรับองค์กร ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตจะยิ่งได้เปรียบ 
          การวางแผนกำลังคนเป็นความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งแผนกที่ดูแลนี้ เรียกว่าแผนกบุคลากร Human Resource หรือ HR คือการวางแผนบุคลากรมีความสำคัญกับองค์กรมากที่สุด เพราะบุคลากรทำให้องค์กรเจริญ ถ้าเราได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมในจุดที่ถูกต้องจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ การวางแผนกำลังคนเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ใช้กำหนดความต้องการและลำดับความสำคัญของกำลังคนในองค์กร เพื่อเป้าหมายขององค์กรที่จะได้บรรลุถึงตามเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง ระยะปลาย นั่นเอง

HR จะต้องดูภาพรวมขององค์กรทั้งปัจจุบันและอนาคต วิธีวางแผนอัตรากำลังคนมีเรื่องอะไรบ้าง?
 

          Workforce Planning เป็นการวางแผนกำลังคนในภาพใหญ่ ทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณของคนทั้งหมดในองค์กร โดยใช้ข้อมูลจากทั้งในองค์กรและจากทั้งภายนอกองค์กร เพื่อวางแผน 3 สามระดับ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยมองตั้งแต่โครงสร้างองค์กร ศักยภาพของคนตำแหน่งบทบาท จำนวนที่ใช่ รวมไปถึงต้นทุน และเวลา เวลาที่เหมาะสมจะเป็นช่วงไหน จะมีบุคลากรด้านไหน เข้ามาในช่วงเวลาใดจะสอดคล้องและสนับสนุนทิศทางที่กำหนดเอาไว้ โดยเป็นเรื่องของการกำหนดชนิด การกำหนดจำนวน และเป็นเรื่องความรู้ทักษะที่ต้องการ ซึ่งอาจจะแยกเป็น 2 ระดับ 2 ช่วงเวลา คือช่วงเวลาในระดับปฏิบัติการหรือ Workforce planning ในระดับ operastional หรือระดับปฏิบัติการจะอยู่ที่ประมาณ 12 -18 เดือน และในระดับยุทธศาสตร์ หรือที่ไกลออกไปประมาณ 3-5 ปีนั่นเอง
 
วิธีการเป็นขั้นเป็นตอน ต้องทำอย่างไรบ้าง?

 
          ทาง HRM หรือ Human Resource Management สามารถจะทำจุดนี้ได้ จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของแผนและกลยุทธ์ ขององค์กรทั้งหมด รู้ว่าเป้าหมายระยะสั้นขององค์กร เป้าหมายระยะกลาง และระยะยาว  แล้วมีความเข้าใจในธุรกิจ หรือเข้าใจในรูปแบบขององค์กร อย่างชัดเจนถ่องแท้ และวิเคราะห์ออกว่าจะเดินหน้าไปทางไหน การขยายตัวจะขยายตรงไหน และการลดธุรกิจบางอย่างออกไป หรือตัดธุรกิจบางอย่างออกไปจะเกิดขึ้นที่จุดไหน เพราะฉะนั้นหลายหลายองค์กร ทางฝ่ายบุคลากรไม่สามารถที่จะทำเรื่องนี้ได้ เพราะไม่เห็นภาพรวมของเป้าหมายนั่นเอง จึงไม่สามารถวิเคราะห์ออกมาได้ว่าต้องการคนแบบไหน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ HRM ที่จะต้องมีเวลาในการพูดคุยกับฝ่ายบริหารและเจ้าของบริษัทรวมทั้งกรรมการบริหารบริษัท เพื่อที่จะได้ทราบว่าองค์กรจะไปในทิศไหน เพื่อจะได้วางแผนบุคลากรให้สอดคล้อง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร 
 
ขั้นที่ 2 ต่อจากการเข้าใจยุทธศาสตร์มีอะไรอีกบ้าง?
 

          ขั้นต่อมาคือวิเคราะห์กำลังคนในปัจจุบัน คือต้องมองให้เห็นว่า ปัจจุบันกำลังคนในการศึกษาประสบการณ์เป็นอย่างไร ทักษะแต่ละคน ใครโดดเด่นด้านไหน รวมไปถึงสถิติที่สำคัญ เช่น อัตราการลาออกของพนักงานแต่ละระดับ การเกษียณอายุใน 3 ปี 5 ปี 7 ปี 8 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไรบ้าง คือวิเคราะห์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพขององค์กรในปัจจุบัน
          ขั้นที่ 3 สำคัญมาก คือการวิเคราะห์กำลังคนในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ความก้าวหน้าต่างๆกำลังคนมันจะใช้น้อยลง หรือจะใช้เพิ่มขึ้นในบางจุด ถ้าไม่รีบหาไว้ก่อนจะส่งผลให้คู่แข่งเขาเอาไปหมดแล้ว ซึ่งใช้ได้กับทุกองค์กรไม่เฉพาะองค์กรธุรกิจ องค์กรไม่แสวงผลกำไรเอง หากว่าต้องการ การเจริญเติบโตอย่างก้าวหน้าก็ต้องมองจุดนี้ ด้วยเหมือนกันว่า องค์กรจะไปทิศต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้านไหน โลกที่เปลี่ยนไปในอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ต้องวิเคราะห์ และนึกให้ออกว่าแล้วเราจะเพิ่มบุคลากรด้านไหน เพราะฉะนั้นการวางแผนด้านการสรรหา การคัดเลือกคุณสมบัติต่างๆการวิเคราะห์ความรู้ความสามารถตลอดจนการวางแผนฝึกอบรมไว้ในอนาคตเลย และผู้สืบทอด ตามผังลำดับโครงสร้างองค์กรได้เตรียมคนไว้ หรือยังถ้าเกิดคนๆนั้นไม่อยู่แล้วจะเกิดอะไรขึ้น จึงต้องมีการสร้างผู้สืบทอด เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คือการวางแผนในระดับยุทธศาสตร์
 
ขั้นตอนที่ 4 จะต้องทำอย่างไรบ้าง?

 
          ขั้นตอนที่ 4  เรียกว่า Gap Analysis คือการประเมินว่าช่วงห่างระหว่างปัจจุบันกับอนาคต จะเป็นอย่างไร หมายถึงมีบางหน่วยงาน จะต้องลดกำลังลง บางหน่วยงานจะต้องเพิ่มกำลังขึ้น คือการรู้อนาคตด้วยว่าทิศทางจะไปทางไหน รวมไปถึงการขยายตัวขององค์กรว่าหากประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้วถึงเวลานั้นแล้วบุคลากรในอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไง ทักษะอะไรที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นหรือต้องลดลงด้านไหน  ก็จะมาวิเคราะห์ได้ว่า ปัจจุบันกับอนาคตแตกต่างกันอย่างไร เรียกว่า Gap Analysis จะได้วางแผนได้ว่า จะเอาคนเข้าได้อย่างเหมาะสม หรือเปลี่ยนแปลงโยกย้าย บางงานที่อาจจะเริ่ม เรียกว่าทยอยความสำคัญลดลงไปตามสภาพของโลกในยุคปัจจุบัน อาจต้องมีการฝึกอบรมพนักงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้ทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นต้น
ขั้นตอนถัดไปคือการทำแผน (workforce plan) เป็นการทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าจะต้องสรรหาพนักงานจากตรงไหนบ้าง อาจเอาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามคุณสมบัติที่ต้องการ คือการวางแผนในอนาคตว่าต้องการคนแบบไหนในเวลาไหนนั่นเอง
 
ปัจจุบันมีแนวโน้มใหม่ที่ว่า “ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นคนที่ใช่ด้วย” แล้วคนที่ใช่ เป็นอย่างไร?
 

          บุคลากรที่เป็นที่ต้องการประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรกคือมีคุณสมบัติเหมาะกับงาน หมายถึงสามารถที่มองเห็นความต้องการขององค์กร และสร้างสรรค์งานแล้วทำให้เกิดความเจริญเติบโตในองค์กร ในขณะเดียวกันก็ต้องการบุคลากรประเภทหนึ่งที่เป็นเหมือนผู้ที่สามารถรวบรวมคนเก่งคนดีเหล่านี้ไว้แล้วทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “มือประสาน 10 ทิศ” เป็นผู้ที่สามารถเชื่อมโยงบุคคลต่างๆได้ และสามารถบริหารจัดการคนเก่งได้ จึงต้องวางแผนว่า องค์กรต้องการบุคลากรแบบไหนนั่นเอง
 
ทันธรรม โดยพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ 

 
          เมื่อใดก็ตามที่องค์กรต้องการคน เพื่อมารองรับงานจะมีคนที่เหมาะสมกับหน้าที่นั้นมาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือได้คนที่ใช่มาในเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งถ้าได้อย่างนี้ องค์กรจะเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งสภาวะแวดล้อมในการทำงานสำคัญมาก คนที่ขยันหากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ดี กลายเป็นคนเฉื่อยได้ ส่วนคนที่เฉื่อย สภาวะแวดล้อมเอื้อทำให้กลายเป็นคนขยันขึ้นมาได้เหมือนกัน     

 
          บริษัทที่เจริญก้าวหน้า จะพยายามสร้างเงื่อนไขที่ดึงดูดให้คนมาทำงานให้แรงจูงใจคนเก่งอยากจะมาอยู่ด้วย ให้สภาวะแวดล้อมเอื้อให้ทำงานได้คล่องตัวที่สุดให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ปลดปล่อยมามากที่สุดเลย ซึ่งบริษัทไหนทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นมาได้บริษัทนั้นจะเจริญ ไม่ต้องไปคิดเอาคนใหม่เข้ามา เอาคนเก่าก่อนทำอย่างไรจะปลุกคนเดิมให้ตื่นขึ้นมาได้ ตัวอย่างประเทศจีนมีประชากร 1000 กว่าล้านคน เฉื่อยมาหลาย 10 ปี จนกลายเป็นคนขี้เกียจเฉื่อยชาทั้งประเทศ แต่เติ้งเสี่ยวผิง ปรับระบบเอาระบบการตลาดเข้ามาใช้ จึงทำให้ประเทศจีนโตขึ้นมาได้เพราะฉะนั้นจะเล็กจะใหญ่ ไม่เหลือวิสัยขอให้ตั้งใจปรับระบบให้คนอยากจะทำงานกระตือรือร้นมีไฟแล้ววิ่งไปข้างหน้า พัฒนาทั้งคนเก่า แล้วก็ดึงคนใหม่เข้ามาพอทั้งองค์กรเคลื่อนไป อาจมีบางคนที่ตามไม่ทัน ก็จะออกไปเองจะปรับตัวไปโดยธรรมชาติแต่ทิศทางในองค์กรก็จะได้คนที่กระตือรือร้นมีความสามารถทั้งคนเก่า แล้วก็ดูดเอาคนใหม่เข้ามาด้วยองค์กรก็จะพุ่งไปข้างหน้า อย่าไปตำหนิที่พนักงาน แต่ให้มองที่ผู้บริหารว่าจะวางทิศทางการทำงานอย่างไรให้รู้สึกว่าทุ่มลงไปแล้วผลลัพธ์ที่ได้กลับมามันคุ้มค่า 
         

 
          ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ไม่ได้จูงใจด้วยเงิน แต่จูงใจด้วยเป้าหมายชีวิตผู้ จะมาบวชพระองค์เปิดกว้างจากทุกชั้นวรรณะ แม้กระทั่ง ศูทร จัณฑาล ก็มาบวชได้ แต่บวชแล้ว จะต้องฝึกตัวเองอย่างเข้มข้น คัดกรองคนด้วยเป้าหมายชีวิต จะบวชต้องเปล่ง คำว่า สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานนะ สัจฉิกะระณัตถายะ ข้าพเจ้าขอออกบวชเพื่อสลัดกองทุกข์ และทำพระนิพพานให้แจ้ง เปล่งว่าจาอย่างนี้ถึงหกรอบ ตอกย้ำว่าไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี พระราชา คนธรรมดา หรือยาจกก็ตาม เมื่อมาบวชด้วยเป้าหมายนี้แล้วมาอยู่รวมกัน เป็นลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกันแล้วก็ฝึกตัวอย่างเข้มข้น แรงจูงใจก็คือเป้าหมายชีวิตนี้ แล้วก็หนุนให้ฝึกตัวเองจริงๆพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะเหตุนี้ เราสามารถเอาเรื่องนี้มาปรับได้ แต่ทางโลกอาจจะจูงใจด้วยผลตอบแทนที่เป็นธรรมสุดท้ายจะสำเร็จ


รับชมคลิปวิดีโอคนที่ใช่ในเวลาที่ถูก : ทันโลกทันธรรม
ชมวิดีโอคนที่ใช่ในเวลาที่ถูก : ทันโลกทันธรรม   Download ธรรมะคนที่ใช่ในเวลาที่ถูก : ทันโลกทันธรรม






พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ให้ใจอย่าให้เจ็บ
      คนพันธุ์ Possible
      แบกให้สมวัย
      รักแท้ที่แม่ปลื้ม
      หนึ่งคนกับตัวตนย่อย
      พิษจากองศาอารมณ์ร้อน
      พฤติกรรมลดเสน่ห์
      ความเป็นส่วนตัวบนพื้นที่ส่วนรวม
      วิกฤติมารยาท
      ธรรมชาติลงโทษ
      สุขภาพดีแม้ทำงานหนัก
      เรื่องกินเรื่องใหญ่
      คนในความลับ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related