ธรรมะกับพระบาลี

    ธรรมะกับพระบาลี

  บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะกับพระบาลี

  มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ) - ผู้อ่าน 18267
กามคุณ ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ยมโลก และเทวโลก - ผู้อ่าน 18264
ยมโลก คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น นิรยะ ยมโลก มฤตยูโลก ฯลฯ เทวโลก คือ โลกของเทวดา หมายถึงสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทวดา อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  จิตที่ฝึกฝนผิดทาง - ผู้อ่าน 18268
จิต คือนามธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ในตัวเรา มีหน้าที่คิดตามสิ่งที่มากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ วิญญาณจะรับรู้ จิตก็จะทำหน้าที่คิดตามสิ่งนั้น ๆ จิตจะคิดผิดหรือคิดถูก ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้น จิตถูกปัญญา หรือกิเลสครอบงำ จิตก็จะคิดตามอำนาจของกิเลส หรือปัญญา อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
   ปราศจากวิญญาณ - ผู้อ่าน 18259
วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผี แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณ คือ จิต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือ จิตจึงมีหลายประเภทเช่น จักขุวิญญาณ หรือ จิตเห็น โสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน ดังนั้นเมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น(จักขุ วิญญาณจิต) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  มีสติ ด้วยปัญญา - ผู้อ่าน 18274
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ผู้มีสติ - ผู้อ่าน 18265
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อตา มองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ หูได้ยินเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ ลิ้นได้รสก็เป็น ธรรมะ ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น ฉะนั้น ผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน มันมี อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ผู้มีจิตไม่มั่นคง - ผู้อ่าน 18263
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่านก็ทำอย่างนี้ คือสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิต ดังนั้นเราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือการทำใจให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะไปสู่อายตนนิพพาน ได้เข้าถึงบรมสุขอันเป็นนิรันดร์ อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
   จิตอยู่ในกาย - ผู้อ่าน 18264
พระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
   การควบคุมจิตด้วยปัญญา - ผู้อ่าน 18266
ถ้าเรามีจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ก็เรียกว่า เรามีจิตเป็นพุทธะขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมาทันที รู้อะไรถูกต้องขึ้นมาแล้วก็เป็นตัวเองอย่างแท้จริง สภาพมันอยู่คงที่หน้าตาของมันดั้งเดิม ของมันปรากฏอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกฉาบไปด้วยกิเลส เรียกว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง สภาพจิตมันเป็นอย่างนั้น... อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  จิต - ผู้อ่าน 18265
คำว่า " จิต " ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง สภาพรู้ อาการรู้ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และคำว่า จิตนี้ยังมีชื่อที่ใช้แทนคำว่าจิตในบางแห่งอีกมาก เช่น ใจ มโน มานัส ปัณฑระ หทัย วิญญาณวิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันของเรา จะทราบได้ว่าผู้ที่ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีจิตเกิดดับต่อเนื่องไปจนกว่าจะตาย ฉะนั้น จิตคือ สภาพรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ปราสาทคือปัญญา - ผู้อ่าน 18263
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท - ผู้อ่าน 18265
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คือไม่มัวเมาในวัย ในอายุ และไม่มัวเมาในชีวิต ไม่เลินเล่อ ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น ในเมื่อบุคคลอื่นประมาท คือมัวเมาในวัยในอายุ และมัวเมาในชีวิต ทำให้เกิดความสะเพร่าเลินเล่อ ขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรก็ผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประมาทนั้น ย่อมประสบแต่ความพินาศ แต่บุคคลผู้มีปัญญาดีนั้นไม่ประมาท ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ในเมื่อผู้อื่นประมาทและหลับอยู่ ย่อมละทิ้งบุคคลผู้โง่นั้นไป เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ย่อมวิ่งไปได้เร็ว ละทิ้งม้าตัวที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  กามคุณ - ผู้อ่าน 18271
กามคุณ หมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ความไม่ประมาท - ผู้อ่าน 18276
ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ดับกิเลส - ผู้อ่าน 18268
กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้าย อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  คนพาล - ผู้อ่าน 18270
คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ความขยันหมั่นเพียร - ผู้อ่าน 18274
ความขยันหมั่นเพียร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในชีวิต คนขยันหมั่นเพียรย่อมพึ่งตนเองและครองตนได้ อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  การสั่งสมบุญ - ผู้อ่าน 18276
การสั่งสมบุญไว้ ซึ่งถ้าหากได้ทำบุญอย่างต่อเนื่อง แน่นอน บุญที่ทำก็จะส่งผลให้ชีวิต มีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิต และมีแต่ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม - ผู้อ่าน 18265
ศีล...เป็นบรรไดขั้นแรก แห่งการปฏิบัติธรรมทั้งปวงเพราะเป็นของมองเห็นได้ง่ายถ้ากาย วาจา ใจสงบแล้วการปฏิบัติธรรมก็จะสะดวกยิ่งขึ้น อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ผู้มีปัญญา - ผู้อ่าน 18288
ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ความอดทน - ผู้อ่าน 18271
ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ไม่ผูกอาฆาตพยาบาท - ผู้อ่าน 18268
ไม่ผูกอาฆาตพยาบาท รู้จักให้อภัย จะส่งผลให้เราเป็นบุคคลผู้มีใจสงบเยือกเย็น ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ใจเป็นผู้นำ - ผู้อ่าน 18265
ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง ใจเป็นใหญ่กว่าสรรพสิ่ง สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์ ความสุขย่อมติดตามเขา เหมือนเงาติดตามตน อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  ทาสแห่งความสวยงาม - ผู้อ่าน 18266
มาร Mara - แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ให้ตาย" ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า มารเป็นเทวดาจำพวกหนึ่งมีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 
  การจองเวร - ผู้อ่าน 18281
ธรรมะกับพระบาลี ข้อคิดดีดี...เพื่อชีวิต เรื่องการจองเวร น่าอ่านครบถ้วนทั้งภาษาบาลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ . . . อ่านเรื่องธรรมะกับพระบาลีต่อ 


   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม