พลิกวิกฤต..เพราะคิดบวช

ในชีวิตของมนุษย์นั้น ช่วงเวลาที่กล่าวได้ว่า เป็นวิฤตที่สุดของชีวิต ก็คือ ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต นั่นคือ ช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับความตาย ซึ่งทุกท่าน ๆ ทราบดีอยู่แล้วว่า ทุกท่านนั้นต้องเผชิญกับช่วงเวลาวิกฤตนี้อย่างแน่นอน https://dmc.tv/a20720

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 9 พ.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
พลิกวิกฤต..เพราะคิดบวช
 
โดยพระมหาทศพร ปุญฺญงฺกุโร

 
 
 

    ในชีวิตของมนุษย์นั้น ช่วงเวลาที่กล่าวได้ว่า เป็นวิฤตที่สุดของชีวิต ก็คือ ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต นั่นคือ ช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับความตาย ซึ่งทุกท่าน ๆ ทราบดีอยู่แล้วว่า ทุกท่านนั้นต้องเผชิญกับช่วงเวลาวิกฤตนี้อย่างแน่นอน และเมื่อช่วงเวลานั้นของแต่ละท่านมาถึง ซึ่งก็จะแตกต่างกันไป เช่น นอนป่วยอยู่บนเตียงผู้ป่วย หมดเรี่ยวหมดแรง, หรือเกิดอุบัติเหตุรถชนจนไม่มีเวลาตั้งตัว  เมื่อร่างกายของตนเองไม่อาจจะเป็นที่พึ่งได้ ที่พึ่งทางจิตใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ในช่วงเวลาเพียงเสียววินาที สำหรับผู้ที่ไม่มีที่พึ่งทางจิตใจมักจะเกิดความกลัวต่อความตาย ทุกข์ร้อนใจ เพราะไม่มีความรู้ว่า ชีวิตหลังความตายจะเป็นอย่างไร ตายแล้วจะไปไหน ก็ย่อมเกิดความกระสับกระส่ายไม่สงบใจ บางคนก็หาที่พึ่งที่ตนคิดว่าจะเป็นที่พึ่งได้


"มนุษย์เป็นอันมากแล ถูกภัยคุกคามแล้ว
ย่อมถึงภูเขาป่าไม้อารามและรุกขเจดีย์ว่า
เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่งนั้นไม่อุดม
เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้"
(มก.ไทย 25/34)

    แต่การอาศัยที่พึ่งที่ขาดความรู้ที่ถูกต้องนั้นย่อมไม่อาจทำให้พ้นจากวิฤตเหล่านั้นไปได้เลย นอกจากจะไม่พ้นวิกฤต หากที่พึ่งนั้นก่อให้เกิดโทษ ย่อมทำให้ชีวิตพบกับวิกฤตมากขึ้นไปอีก  คือช่วงใกล้จะละโลกอาศัยบาปกรรมที่ตนสร้างไว้เป็นที่พึ่ง เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยได้ เช่น การนึกถึงความสนุกเพลิดเพลินในชีวิต  สังสรรค์ในวงเหล้า เป็นต้น หากอาศัยบาปกรรมเหล่านั้นเป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั่นเองจะเป็นวิกฤตยิ่งกว่าเดิม เพราะบาปกรรมเหล่านั้นย่อมนำไปสู่การบังเกิดในนรก

       แต่การที่อาศัยที่พึ่งคือพระรัตนตรัย โดยการระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ย่อมทำให้จิตใจชุ่มเย็น เป็นบุญกุศล นึกถึงภาพแห่งกรรมดี ใจย่อมเป็นสุข แม้ในช่วงวิกฤตของชีวิตที่แม้ตัวเราเองไม่อาจจะควบคุมร่างกายของตนเองได้แล้ว แต่จิตใจนั้นมีที่พึ่ง จิตใจสงบเย็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตหลังความตายย่อมพลิกเป็นโอกาส และนำไปสู่สุคติโลกสวรรค์ และสามารถพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด
 


"ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อัน
ให้ถึงความสงบระงับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ ที่พึ่งนั้นแล เป็นที่พึ่งอันเกษม
ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" (มก.ไทย 25/34)

     เมื่อชีวิตของเรายังดำเนินไม่ถึงช่วงวิกฤตแห่งชีวิต เราก็ต้องรีบเตรียมพร้อมรับมือ กับวิกฤตที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยการหมั่นประกอบกรรมดี และหาที่พึ่งคือ พระรัตนตรัย ทั้งภายในตัวและภายนอกตัว
 

ออกบวช เพื่อพ้นวิกฤต

    ยังมีบุคคลผู้มีบารมีที่สั่งสมไว้ดีแล้ว เมื่อพบว่าแท้จริงแล้วชีวิตของเรานี้มีแต่วิกฤต ก็ได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ในการออกแสวงหาทางหลุดพ้นจากวิกฤตอย่างถาวร นั่นคือ การออกบวช เพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการออกบวชของพระสาวกพอเป็นตัวอย่างดังนี้
 

การออกบวชของพระยสะ

    ยสกุลบุตรซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีมีความเพียบพร้อมเพลิดเพลินในทางโลกทุกด้าน คืนวันหนึ่งได้เห็นเหล่านางบริวารนอนเกลื่อนกลาดอยู่บนเรือนประกอบไปด้วยกิริยาอันไม่น่าดู บ้างนอนเปลือย ขาไปทาง หัวไปทาง น้ำลายยืดน่าเกลียดเหมือนซากศพในป่าช้าทำให้ยสกุลบุตรเกิดความเบื่อหน่ายและสลดใจเป็นอย่างยิ่ง เปล่งอุทานว่า"ที่นี่วุ่นวายหนอผู้เจริญทั้งหลายที่นี่ขัดข้องหนอ"  ด้วยบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาไว้ดีแล้ว ทำให้ยสกุลบุตรเดินเข้าไปในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้พบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ออกบวช

    พระยสะได้เห็นความไม่งามของชีวิต แม้ตนเองจะมีชีวิตที่สุขสบายมาโดยตลอด แต่เมื่อพบกับความไม่งามเช่นนี้ ก็พบว่าชีวิตเป็นทุกข์จริงหนอ ด้วยบุญเก่าที่ได้ส่ังสมมาไว้ดีแล้ว จึงทำให้พระยสะคิดออกบวช และเมื่อบวชแล้วก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามารถพ้นวิฤตชีวิตได้อย่างถาวร

 

 ผู้มีบุญมาก เพียงเมื่อเห็นว่าชีวิตมีวิกฤต ด้วยบุญเก่าที่สั่งสมไว้ดีแล้ว
จึงทำให้ได้ออกบวชและพ้นวิกฤตชีวิตได้อย่างถาวร

การออกบวชของพระอนุรุทธะ

    พระอนุรุทธะเกิดในตระกูลของเข้าศากยะ มีพี่ชายชื่อ มหานามศากยะ ได้คุยกันกับอนุรุทธศากยะผู้เป็นน้อง ว่า บัดนี้ ศากยะกุมารอันมากได้ออกผนวชตามเสด็จ แต่ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช”

     อนุรุทธราชกุมารจึงทูลถามว่า “การบวชนี้เป็นอย่างไร ? ”

     เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “ผู้บวช ก็ต้องโกนผมและหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือบนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่ นี้ชื่อว่าการบวช”

     เจ้าอนุรุทธศากยะจึงทูลว่า “เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้”

     เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น ทรงเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า“ไม่มี ” ก็ไม่เคยได้ยิน  เพราะชีวิตมีความสุขมากมายเช่นนี้ ยังไม่ได้พบว่าชีวิตมีวิกฤต ชีวิตเป็นทุกข์ จึงไม่ยินดีในการบวช

     เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “อย่างนั้น ท่านจงเรียนรู้การงานสำหรับอยู่เป็นฆราวาสเถิด”เจ้ามหานามศากยะ จึงสอนเรื่องการครองเรือนแก่อนุรุทธกุมารผู้น้องว่า "ผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สงฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้อีก เป็นอย่างนี้ทุกปี"

     อนุรุทธศากยะ ตรัสถามว่า "การงานเหล่านี้จะสิ้นสุดเมื่อไร"

     มหานามะฝ่ายพี่ชาย ตอบว่า "ไม่มีที่สิ้นสุด ต้องทำเช่นนี้ทุกปี"

     ครั้นอนุรุทธกุมารได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำเป็นประจำทุกปีเช่นนั้น เพียงแค่ได้ฟังเท่านั้น ด้วยบุญบารมีที่สั่งสมไว้ดีแล้ว และด้วยปัญญา ทรงมองไม่เห็นว่า นี้คือวิกฤตของชีวิต การงานสำหรับเพศฆราวาสทั้งหลายจะมีที่สิ้นสุดเมื่อไรหนอ จึงทูลว่า "ถ้าเช่นนั้น ขอพี่จงอยู่ครองเรือน กระผมจักบวช"

     นี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของผู้เห็นวิกฤตในชีวิตว่า การครองเรือนนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ต้องประกอบกิจการงานตลอดชีวิต ไม่มีเวลาที่จะหันดูวิฤตในชีวิต ไม่อาจที่จะทำชีวิตให้พ้นวิกฤตได้เลย ควรที่เราจะออกบวชเพื่อการพ้นวิกฤตชีวิตอย่างถาวร และพระอนุรุทธะก็ออกบวชและได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
 

เห็นทุกข์จึงออกบวช

    จากเรื่องที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่า การจะออกบวชนั้นมีหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทุกสาเหตุล้วนมีทุกข์เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตของชีวิต และมีความปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์นั้น กุลบุตรทั้งหลายจึงพากันสละเรือน ออกบวช ดั่งพุทธพจน์ในมหาสาโรปมสูตร ว่า


" ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว
ถูกความทุกข์ครอบงํา มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทําอย่างไร
การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ท้ังสิ้นนี้จะพึงมีได้ "
 

ตั้งปณิธานในช่วงวิกฤต

     การสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เรา ครั้งแรกที่ตั้งความปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ก็อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิต แต่ด้วยอุปนิสัยและจิตใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว พระองค์ก็ไม่ได้เกรงกลัวต่อวิกฤตชีวิต แต่กลับใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ดั่งเรื่องราวของ มาตุธารก เรื่องก็มีอยู่ว่า

     กาลครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าได้ถือกำเนิดเป็นบุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจ ชื่อว่า มาตุธารก มีความยากจนอย่างมาก เมื่อเจริญวัยเป็นมานพหนุ่มด้วยความยากจนมานพหนุ่มจึงตั้งใจเลี้ยงดูบิดามารดาจนเมื่อบิดาเสียชีวิตไป นับแต่นั้นมาบุรุษหนุ่มก็คอยอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยงมารดาเป็นอย่างดีตลอดมา

     ในวันหนึ่ง มานพหนุ่มได้เห็นเรือสำเภาที่ท่าน้ำ ก็นึกในใจว่า ตนเองยังหนุ่มแน่นมีกำลังแข็งแรง เราจะสมัครงานและเดินทางไปกับเรือสำเภาคงจะทำให้มีรายได้มาเลี้ยงดูมารดาได้ไม่ลำบากมก ครั้นคิดได้ดังนั้นแล้วก็ได้เข้าไปหานายเรือสำเภาใหญ่ แล้วกล่าวขึ้นว่า

     “นายท่าน ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความยากจนเข็ญใจจึงมาหาท่านด้วยหวังใจว่า ข้าพเจ้าก็จักขอทำงาน อยู่กับท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป”

     นายสำเภาเรือครั้นได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสงสาร จึงรับมานพหนุ่มไว้ทำงานด้วยโดยไม่รังเกียจ มานพหนุ่มได้ฟังดังนั้นมีความยินดีดีใจเป็นอย่างมาก จึงรีบกลับไปบอกแก่มารดา แต่มารดากลับกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย ทุกวันนี้ชีวิตของแม่ขึ้นอยู่กับเจ้า เพราะฉะนั้นเจ้าจะไปไหนก็ตามใจเถิด แต่ขอให้แม่ได้ด้วยกับเจ้า ได้อยู่ใกล้ๆ กับเจ้าเสมอ”

     มานพหนุ่มได้ฟังคำมารดาดังนั้นก็ได้ไปอ้อนวอนต่อนายเรือสำเภาเมื่อนายสำเภาเรือเมื่อได้รู้ถึงปัญหาของมานพหนุ่ม เห็นว่ามานพหนุ่มนี้เป็นผู้มีความกตัญญู จึงอนุญาตให้นำมารดาติดตามไปด้วยได้

     เมื่อเรือสำเภาแล่นไปในมหาสมุทรทะเลใหญ่ได้ประมาณ ๗ วัน สำเภานั้นต้องลมพายุใหญ่เกินกำลัง และได้อับปางลง บรรดาลูกเรือและนายสำเภาเรือต่างก็สิ้นชีวิตลง ฝ่ายมานพหนุ่มมีสติมั่นอุ้มมารดาขึ้นบ่า ปีนขึ้นไปบนเสากระโดงเรือ และกระโดดลงจากเรือด้วยกำลังแห่งบุรุษ ไปไกลถึง ๒,๐๐๐ วา แล้วว่ายน้ำบ่าแบกมารดาตลอด ๗ วัน ๗ คืน  ด้วยคิดว่าจะนำมารดาไปให้รอดชีวิตให้ได้


     ฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมอนาคามี ซึ่งสถิตอยู่ ณ ชั้นอกนิษฐพรหมโลก ที่คอยเล็งแลดูหมู่มนุษย์ผู้มีใจองอาจเต็มไปด้วยอุตสาหะใหญ่สามารถที่จะบำเพ็ญ “พุทธการกธรรม”ได้ ท้าวมหาพรหมได้เห็นมานพหนุ่มผู้เข็ญใจ ผู้กำลังพยายามจะนำมารดาให้รอดชีวิตจากคลื่นลมแรง โดยไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย  จึงบรรดาลให้มานพหนุ่มนึกปณิธานปรารถนาพุทธภูมิ

     ฝ่ายมานพหนุ่มผู้มีบ่าแบกมารดา ก็ฝ่าคลื่นลมจนเหน็ดเหนื่อยหมดแรง จนร่างกายจมลงกลางทะเลใหญ่แล้วก็พยายามโผล่ขึ้นมาอีก ใกล้นาทีสุดท้ายของชีวิต ด้วยอัธยาศัยที่มีความเพียรอุตสาหะและอานุภาพของพรหม ทำมานพหนุ่มเกิดความคิดขึ้นมาว่า

     “ถ้าตัวเราถึงแก่ชีวิตลงไปในท้องมหาสมุทรทะเลใหญ่พร้อมกับ มารดา ณ กาลบัดนี้ ขอกุศลที่เราแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรมา ด้วยความเหน็ดเหนื่อยนักหนานี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ ขอเราพึงอาจนำสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน”

     ครั้นตั้งจิตคิดเป็นมหากุศลดังนี้แล้ว มานพหนุ่มก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า...
 

     “เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว เราจะนำสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากวัฏสงสารไปด้วย”เมื่อเกิดปณิธานดังนี้แล้ว ก็เกิดความอัศจรรย์ เรี่ยวแรงที่จวนจะหมด ก็พลันมีเรี่ยวแรงขึ้นมาอีก จนสามารถว่ายน้ำไปถึงฝั่ง และเลี้ยงดูมารดาจนหมดอายุขัย ละโลกไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ / (ขอบคุณเนื้อความจาก http://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ปฐมบทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า/การสร้างพระบารมีเริ่มแรก)

     จะเห็นได้ว่า การตั้งปณิธานเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระบรมโพธิสัตว์นั้น ท่านก็ตั้งความปรารถนาในช่วงวิกฤตของชีวิต คือ เมื่อประสบภัยต่างๆ มรณภัย ด้วยอุปนิสัยที่อุตสาหะและความมุ่งมั่นพยายามของท่าน บวกกับอานุภาพของพรหม ทำให้พระโพธิสัตว์มีปณิธานที่จะนำพาสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง แม้จะเป็นวิกฤตชีวิต แต่ท่านไม่ได้หวั่นเกรงต่อวิกฤตนั้นเลย กลับใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส และสามารถทำปณิธานนั้นให้สำเร็จได้ในที่สุด
 
 

ผู้ตั้งจิตออกบวชในช่วงวิกฤต

     แล้วพระภิกษุรูปใดเล่า ที่เป็นครูบาอาจารย์ของเราแล้วคิดที่จะออกบวชเมื่อประสบภัยต่างๆ เหมือนพระบรมโพธิสัตว์ของเรา พระภิกษุรูปนั้นก็คือ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

     ย้อนไป ๑๑๒ ปีมีเด็กหนุ่มวัย ๑๙ ปีซึ่งต่อมาคือพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สดจนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญกำลังทำหน้าที่เป็นพ่อค้าข้าวแทนบิดาที่เสียไปตั้งแต่อายุ ๑๔ ปีและได้เป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว

     วันหนึ่งหลังจากค้าข้าวเสร็จเด็กหนุ่มคนนี้ (หลวงปู่) และลูกน้องนำเรือเปล่ากลับบ้านในคืนนั้นล่องเรือไปด้วยความยากลำบากเพราะน้ำในคลองไหลเชี่ยวแต่ก็พยายามถ่อเรือต่อไปจนมาถึงคลองเล็กชื่อว่า คลองบางอีแท่นคลองนี้เป็นคลองเปลี่ยวและมีโจรผู้ร้ายชุกชุม

     ในขณะนั้นมีเรือเพียงลำเดียวเท่านั้นที่แล่นเข้าไปในคลองเมื่อเรือแล่นเข้าไปได้เล็กน้อยท่านก็กลัวว่าจะโดนโจรปล้นและทำร้ายถ้าโจรปล้นจริงๆท่านจะโดนทำร้ายก่อนใครเพราะยืนอยู่ท้ายเรือจึงเกิดความคิดขึ้นว่า

     “อ้ายน้ำก็เชี่ยวอ้ายคลองก็เล็กอ้ายโจรก็ร้ายท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝั่งไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไรนักน่าหวาดเสียวอันตรายเมื่อโจรมาก็ต้องยิงหรือทำร้ายคนท้ายก่อนถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อนก็ไม่มีทางที่จะสู้เขาถ้าเราเอาอาวุธปืน ๘ นัดไว้ทางหัวเรือแล้วเราก็ไปถือเรือทางลูกจ้างเสียเมื่อโจรมาทำร้ายเราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง”

     เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงหยิบปืนยาวบรรจุกระสุน๘นัดไปอยู่หัวเรือบอกให้ลูกจ้างมาถือท้ายเรือแทน

     ขณะถ่อเรือแทนลูกจ้างอยู่นั้นพลันเกิดความคิดขึ้นมาว่า “คนพวกนี้เราจ้างเขาคนหนึ่งเพียง ๑๑ - ๑๒ บาทเท่านั้นส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์ทั้งเรือหากจะโยนความตายไปให้ลูกจ้างก่อนก็ดูจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์มากเกินไปทำอย่างนี้ไม่ถูกไม่สมควร”

     เมื่อเกิดจิตเมตตาและนึกตำหนิตัวเองเช่นนี้ท่านจึงตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า

     “ทรัพย์ก็ของเราเรือก็ของเราเราควรตายก่อนดีกว่าส่วนลูกจ้างนั้นเมื่อมีภัยมาถึงเขาควรจะได้หนีเอาตัวรอดไปทำมาหาเลี้ยงบุตรภรรยาของเขาได้อีก”

     เมื่อตกลงใจเช่นนั้นจึงเรียกลูกจ้างให้มาถ่อเรือแทนส่วนตัวเองถือปืนคู่มือกลับมานั่งถือท้ายเรือตามเดิม

     เรือยังคงแล่นต่อไปเรื่อยๆแต่ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างที่คิดเมื่อเรือแล่นมาใกล้จะออกจากคลองจนเห็นปากทางออกก็รู้ได้ว่าปลอดภัยแล้วแต่ในใจของท่านยังคิดถึงความตายอยู่ตลอดเวลาและทันใดนั้นธรรมสังเวชก็เกิดขึ้นในใจของท่านว่า

     “การหาเงินหาทองนี้ลำบากจริงๆเจียวหนาบิดาของเราก็หามาดังนี้เราก็หาซ้ำรอยบิดาตามบิดาบ้างเงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ต่างคนก็ต่างหาไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้นถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนต่ำและเลวไม่มีใครนับถือแลคบหาเข้าหมู่เขาก็อายเขาเพราะเป็นคนจนกว่าเขาไม่เทียมหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขา"


     ปุรพชนต้นสกุลของเราก็ทำมาดังนี้เหมือนๆกันจนถึงบิดาของเราแลตัวของเราก็บัดนี้ปุรพชนแลบิดาของเราไปทางไหนหมดก็ปรากฏแก่ใจว่าตายหมดแล้วแล้วตัวของเราเล่าก็ต้องตายเหมือนกัน”

     เมื่อคิดถึงความตายขึ้นมาอย่างนี้ก็เริ่มกลัวและนึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเองต่อไปอีกว่า

     “เราต้องตายแน่ๆ บิดาเราก็มาล่องข้าวขึ้นจากเรือข้าวก็เจ็บมาจากตามทางแล้วขึ้นจากเรือข้าวไม่ได้กี่วันก็ถึงแก่กรรมเมื่อถึงแก่กรรมแล้วเราที่ช่วยพยาบาลอยู่ไม่ได้เห็นเลยที่จะเอาอะไรติดตัวไปผ้าที่นุ่งแลร่างกายของแกเราก็ดูแลอยู่ไม่เห็นมีอะไรหายไปทั้งตัวเราแลพี่น้องของเราที่เนื่องด้วยแกตลอดถึงมารดาของเราก็อยู่ไม่เห็นมีอะไรเลยที่ไปด้วยแกแกไปผู้เดียวแท้ๆก็ตัวเราเล่าต้องเป็นดังนี้เคลื่อนความเป็นอย่างนี้ไปไม่ได้แน่”

     เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้วท่านก็นอนแผ่ลงไปที่ท้ายเรือแกล้งทำเป็นตายลองดูว่าถ้าตายแล้วจะเป็นอย่างไรท่านก็นอนคิดว่าตัวเองตายอย่างนั้นจนเผลอสติไปสักครู่หนึ่งเมื่อได้สติรู้สึกตัวก็รีบลุกขึ้นจุดธูปอธิษฐานจิตว่า

“ขออย่าให้เราตายเสียก่อน
ขอให้ได้บวชเสียก่อนเถิด ถ้าบวชแล้วไม่สึกตลอดชีวิต”
(จากหนังสือ อัตตชีวประวัติ พระมงคลเทพมุนี สด จนฺทสโร)

     จากเหตุการณ์ในวันนั้นของหลวงปู่ ทำให้หลวงปู่ท่านคิดออกบวชตลอดชีวิตเพราะประสบต่อมรณภัย แม้คนจำนวนมากในโลกก็ต่างต้องประสบมรณภัยทั้งสิ้นทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่คิดออกบวช แล้วใครเล่าที่คิดออกบวชตลอดชีวิต อย่างครูบาอาจารย์ของเรา เป็นความคิดที่ยิ่งใหญ่ในช่วงวิฤตของชีวิตเหมือนพระบรมโพธิสัตว์ที่บ่าแบกมารดาว่ายน้ำอยู่กลางทะเล ก็คิดที่จะนำพาสรรพสัตว์ให้ก้าวพ้นจากกองทุกข์ไป

     บางคนที่ประสบวิกฤตมรณภัยก็พยายามทำสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด บ้างก็พยามทำหน้าที่การงานของตัวเองให้ดีที่สุด บ้างก็คิดหาเงินทอง บ้างก็คิดที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จ ซึ่งแตกต่างกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่คิดหาต้นเหตุแห่งภัยนั้น อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ด้วยการออกบวช และความคิดนี้ก็เกิดขึ้นเอง ด้วยบุญบารมีที่ท่านสั่งสมมาไว้ดีแล้ว และเมื่อหลวงปู่ออกบวชแล้ว ท่านก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมไม่เคยขาดแม้แต่เพียงวันเดียว เป็นพระภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม


     ในช่วงนี้เป็นโอกาสอันดีที่ศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่จะได้ร่วมกันนำทองคำมาหล่อองค์ทองของหลวงปู่ (ซึ่งการหล่อหลวงปู่ด้วยทองคำองค์นี้นับเป็นองค์ที่ ๘ แล้ว) เพื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ตั้งจิตอธิษฐานออกบวชตลอดชีวิต เพื่อเป็นเครื่องระลึกนึกถึงคุณธรรมของหลวงปู่ ในวันแห่งวิกฤตของชีวิต แต่หลวงปู่กลับใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส และเพื่อเป็นการขยายวิชชาธรรมกาย ประกาศคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้ชาวโลกได้รับรู้สืบไป
 
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      ทบทวนพระธรรมเทศนาหลวงพ่อธัมมชโย วันคุ้มครองโลก
      สารมุทิตา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิมาลาลา เซเกรา ศรีลังกา เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากประธานสหพันธ์พุทธนานาชาติ อินเดีย เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากสมเด็จสังฆนายกบังคลาเทศ องค์ที่ 29 แห่งบังคลาเทศ เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2567
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2567 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related
เพลงวันสงกรานต์
   เพลงวันสงกรานต์ รูปภาพวันสงกรานต์สวยๆ การ์ดวันสงกรานต์ ประว..
(07 มี.ค. 2557)    ชม 18,497 ครั้ง