ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 12

มโหสถเห็นอาการเศร้าซึมของนาง ก็ทราบว่า นางคงรู้สำนึกขึ้นมาแล้ว จึงได้ให้โอวาทต่อไปว่า “ต่อแต่นี้ไป เจ้าจงสมาทานเบญจศีลเถิดนะ แล้วพึงตั้งใจรักษาให้บริสุทธิ์ไปจนตลอดชีวิต ขอให้เจ้าพึงสำเหนียกไว้ในใจเสมอว่า เราจักเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไปจนกว่าชีวิตจะหา ไม่ เจ้าจะทำได้ไหมล่ะ” https://dmc.tv/a2438

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > มโหสถบัณฑิต
[ 6 ก.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  มโหสถบัณฑิต   ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี  ตอนที่ 12


        จากตอนที่แล้ว  มโหสถกุมารได้อาสาที่จะตัดสินคดีกล่าวตู่อ้างสิทธิ์เป็นมารดาเด็กคนเดียวกัน ของหญิงทั้งสองคน เมื่อได้ดูจากรูปการณ์แล้วก็รู้ว่า  หญิงใดเป็นมารดาของเด็ก  หญิงใดเป็นผู้กล่าวตู่  จึงถามหญิงทั้งสองว่า หากเราจะตัดสินให้  พวกเจ้าจะยอมรับฟังคำวินิจฉัยของเราหรือไม่

        เมื่อได้รับคำยินยอมจากหญิงทั้งสองแล้ว มโหสถจึงได้ให้คนขีดเส้นบนพื้น ให้วางทารกน้อยตรงกลางระหว่างเส้นนั้น แล้วให้นางยักษ์แปลงจับด้านมือทั้งสองของเด็ก ให้หญิงผู้เป็นมารดาจับเท้าทั้งสอง พลางบอกว่า หากใครดึงเด็กข้ามเส้นที่ขีดไว้ได้  จะถือว่าเด็กเป็นลูกของผู้นั้น

        เมื่อได้รับสัญญาณบอกว่าเริ่มได้ หญิงทั้งสองต่างออกแรงดึงเด็กน้อย ครั้นเด็กน้อยถูกชักเย่อไปมาเด็กก็ส่งเสียงร้องจ้า มารดาของเด็ก เมื่อได้ยินเสียงร้องระงมของลูกน้อย ก็ไม่อาจจะทนฟังเสียงร้องนั้นได้ จำใจต้องยอมปล่อยให้ยักษิณีดึงลูกของตนไปฝ่ายเดียว แล้วก็ยืนร้องไห้ฟูมฟาย 

        มโหสถถามฝูงชนที่มามุงดูกันอย่างเนืองแน่นว่า “ท่านทั้งหลาย ธรรมดาจิตใจของหญิงผู้เป็นมารดา กับหญิงผู้มิใช่มารดา ใครกันเล่าจะมีจิตอ่อนโยนโอนไหวไปตามอาการของลูก”

        “ใจของมารดาสิ พ่อมโหสถ ถึงอย่างไร มารดาก็ย่อมจะอ่อนไหวไปตามอาการของลูก” เสียงหนึ่งดังขึ้นท่ามกลางฝูงชน ทุกๆคนในที่นั้น ต่างก็รับพร้อมกันว่าใช่  มโหสถจึงชี้มือไปที่นางยักษ์จำแลง แล้วเอ่ยถามนางยักษ์ตรงๆว่า “เจ้าเป็นใคร”

        “ฉันเป็นยักษิณี” นางยักษ์สารภาพตามความจริง เนื่องเพราะจำนนต่อเหตุผล

        ฝูงชนที่พากันมารับฟังคำวินิจฉัยของมโหสถในที่นั้น ต่างพากันแตกตื่นเป็นการใหญ่ ค่อยๆ ถอยห่างออกจากหญิงนั้น แล้วซักถามกันดังเซ็งแซ่ “มโหสถ พ่อรู้ได้อย่างไรละ”

        “ก็หญิงนี้มีลักษณะอาการบางอย่างผิดแปลกจากคนทั่วไป” มโหสถตอบ
 
        “แตกต่างกันอย่างไรเล่า พ่อ” ฝูงชนซักถามด้วยใจจดจ่อ

        “ดูซิ คนอะไรกัน ตาแข็งไม่กระพริบเลย นัยน์ตาเล่าก็สีแดงก่ำ ซ้ำยังไม่มีเงาตัวเสียอีก” มโหสถอธิบาย  “มารดาที่ไหนเล่าจะมีจิตใจเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ได้ถึงเพียงนี้”

        นางยักษิณีรู้ว่าเขาเริ่มรู้ทันตนแล้ว ก็ตกใจเป็นนักหนา แต่ก็แสร้งทำเป็นนิ่งเฉย รอดูท่าทีว่ามโหสถจะกล่าวอย่างไรต่อไป

        “ก็เจ้าจะเอาเด็กนี้ไปทำไม”    
 
        “ฉันจะเอาไปกินให้หายอยาก” นางยักษ์ก้มหน้าตอบ

        “โอ! เจ้านี่ช่างร้ายกาจมากทีเดียวนะ นางยักษ์อันธพาล”  มโหสถกล่าวข่มให้นางยักษิณีได้คิด “เจ้าไม่เคยได้สำนึกตนบ้างเลยว่า เหตุใดเจ้าถึงต้องมาเกิดเป็นยักษิณีเช่นนี้ เจ้าไม่รู้เลยหรือว่า นี่เป็นเพราะผลแห่งบาปที่เจ้าได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อน บีบคั้นให้ต้องกระทำบาปอย่างไม่รู้จบสิ้น”

        นางยักษิณีเริ่มสงบนิ่ง กิริยาอาการเริ่มอ่อนลง กำลังตั้งใจฟังว่ามโหสถจะกล่าวสิ่งใดต่อไป มโหสถเห็นนางนิ่งเงียบ ก็พูดเบาๆด้วยน้ำเสียงเมตตาว่า “เจ้าก็รู้มิใช่หรือว่า ไม่ว่าใครก็ล้วนแต่รักชีวิตของตัว หวงแหนทรัพย์สมบัติของตัว นี้เป็นธรรมดา เจ้าพรากลูกจากอ้อมอกของนาง ก็เท่ากับพรากชีวิตนางไป เจ้าทำเช่นนี้ สมควรแล้วหรือ หากเจ้ายังคิดจะทำกรรมอันชั่วช้าต่อไปอีก เมื่อไรเล่า เจ้าจึงจะพ้นจากกำเนิดยักษิณีนี้ได้ เจ้าไม่รักตนเองบ้างเลยหรือ”

        สิ้นเสียงของมโหสถ นางยักษิณีก็ตัดสินใจสละเด็กน้อย ยื่นให้กับหญิงผู้เป็นมารดา แล้วยืนนิ่งเงียบอยู่ในที่นั้น นางปล่อยใจใคร่ครวญตามคำของมโหสถ ก็เห็นจริงตามนั้นทุกสิ่ง ครั้นยิ่งคิดก็ยิ่งละอายแก่ใจ เกิดความรันทดอดสูใจในการกระทำของตัวยิ่งนัก

        มโหสถเห็นอาการเศร้าซึมของนาง ก็ทราบว่า นางคงรู้สำนึกขึ้นมาแล้ว จึงได้ให้โอวาทต่อไปว่า “ต่อแต่นี้ไป เจ้าจงสมาทานเบญจศีลเถิดนะ แล้วพึงตั้งใจรักษาให้บริสุทธิ์ไปจนตลอดชีวิต ขอให้เจ้าพึงสำเหนียกไว้ในใจเสมอว่า เราจักเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เจ้าจะทำได้ไหมล่ะ”  มโหสถถามความตั้งใจของนาง

        นางยักษิณีใคร่ครวญว่า “ชาติกำเนิดยักษิณีที่เป็นอยู่นี้ ก็ต่ำทรามมากพอแล้ว ไม่ควรเลยที่จะมาซ้ำเติมตนเองให้ตกต่ำในชาติต่อไปอีก” เมื่อคิดดังนี้แล้ว ในที่สุด จึงตัดสินใจรับปากมโหสถว่า“ทำไมฉันจะทำไม่ได้ล่ะพ่อ”
 
        “ดีแล้ว ศีลนี้แหละจักพาให้เจ้าประสบแต่ความสุข จงรักษาไว้ให้มั่นคงเถิด”  ครั้นมโหสถได้ให้โอวาททิ้งท้ายแล้ว จึงได้ปล่อยตัวนางไป

        ฝ่ายมารดาของเด็กครั้นได้ลูกน้อยกลับคืนมา ก็ดีใจอย่างที่สุด พร่ำรำพันถึงพระคุณของมโหสถทั้งน้ำตา ราวกับว่าได้รับการชุบชีวิตลูกของนางให้กลับคืนมาอีกครั้ง เมื่อเหตุการณ์คลี่คลาย จึงได้พาลูกน้อยกลับสู่เรือนของตน

        กล่าวถึงพระเจ้าวิเทหราช เมื่อทูตนำสารกราบทูลเรื่องจบลง พระองค์ถึงกับทรงเปล่งพระอุทานขึ้นว่า  “พ่อบัณฑิตน้อยของฉัน ช่างหลักแหลมเสียจริง ไยจึงสามารถขบคิดข้อวินิจฉัยที่ลึกซึ้งและแยบยลได้ถึงเพียงนี้ ควรแล้วที่เราจะรับตัวเจ้ามาเสียที”

        ตรัสพระอุทานวาจาดังนี้แล้ว ก็ผินพระพักตร์มาทางท่านเสนกะ ท่านเสนกะทราบทันทีว่าพระองค์จะตรัสสิ่งใดต่อไป จึงคิดว่า “...หากตนจะกราบทูลทัดทานอย่างเลื่อนลอย ก็จักเป็นเหตุให้ทรงขุ่นเคืองพระทัยได้ จึงคิดหาช่องทางที่แยบคายกว่านั้น เพื่อจะกราบทูลประวิงพระองค์ไว้ให้ได้”

        “อย่างไรท่านอาจารย์ มโหสถบัณฑิตนี่ฉลาดหนักหนา ถึงเวลาที่เราจะรับตัวเข้ามาหรือยัง” พระองค์รับสั่งถามเช่นเดิม

        “ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงรอก่อนเถิด พระพุทธเจ้าข้า”  ท่านเสนกะรีบทัดทานไว้เพราะความตระหนี่ในลาภยศมาปิดบังใจ

        “ท่านว่าอย่างไรนะ ยังไม่ถึงเวลาอย่างนั้นหรือ”  “เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า” ท่านเสนกะยืนยันหนักแน่น “ขอเดชะ ในเรื่องการสอบสวนคดีนางยักษิณีนั่น แม้จะเป็นคดีที่ซ่อนเงื่อนอยู่ก็จริง  แต่เงื่อนสำคัญในการวินิจฉัย ไม่มีอะไรพิเศษเลย นอกจากจะดูว่าใครปล่อยเด็กก่อน  ถ้าสมมุติว่ายักษิณีนั้นมีปัญญาสักหน่อย หากนางแกล้งปล่อยเสียบ้าง แล้วคราวนี้จะเอาอะไรเป็นเงื่อนต่อไป แต่เพราะนางยักษิณีนั่น ไร้เสียซึ่งปฏิภาณ เพราะความหิวมาบีบคั้นจนบดบังดวงปัญญา ดังนั้นจึงตกเป็นเครื่องประกาศปัญญาของผู้มีปัญญามากกว่า ควรหรือที่พระองค์จะยกย่องว่าบุคคลนั้นมีปัญญามาก เพียงเพราะถือเอาคนโง่เป็นมาตรวัด พระเจ้าข้า”

        พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับเหตุผลของอาจารย์เสนกะแล้ว ก็ทรงเข้าพระทัยตามที่เขาประสงค์ พระองค์รู้ว่า ถึงอย่างไร ท่านเสนกะก็จะต้องทูลให้ทรงรอดูก่อน จึงตรัสกับทูตนำสารว่า “เจ้าจงกลับไปบอกอำมาตย์ผู้นั้นให้เฝ้าดูเหตุการณ์ต่อไปเถิด”ส่วนในครั้งหน้า เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามต่อไป
 
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 
 

http://goo.gl/tTk9V


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related