ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 81

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ดูเหมือนว่ามโหสถจะสิ้นปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างสิ้นเชิง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ที่ท่านต้องหนีไปก่อนนั้น เพราะต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ซึ่งเมื่อตนหลบไปก่อนแล้ว พระราชาก็จะไม่ระแวงในกำลังคนของตน และในไม่ช้าความจริงก็ต้องปรากฏ https://dmc.tv/a3352

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > มโหสถบัณฑิต
[ 2 พ.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18268 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  มโหสถบัณฑิต   ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี  ตอนที่ 81

    จากตอนที่แล้ว  บัณฑิตทั้ง ๔ ซึ่งมีอาจารย์เสนกะเป็นหัวหน้า ได้ถูกนางอมราหลอกให้มาตกหลุมคูถจนครบทุกคน ต้องทนเกลือกกลั้วและสูดดมกลิ่นคูถตลอดทั้งคืน ครั้นรุ่งเช้า นางอมราเทวีก็ให้สาวใช้เปิดกระดานออก แล้วค่อยๆหย่อนเชือกลงไปในหลุม

    อาจารย์ทั้งสี่เมื่อเห็นเชือกเส้นใหญ่ถูกหย่อนลงมา ก็พากันดีใจ รีบคว้าเชือกนั้นไว้ แล้วค่อยๆสาวเชือกขึ้นมา  เมื่อครบทุกคนแล้ว นางอมราเทวีก็ให้บริวารนำตัวอาจารย์ทั้ง ๔ ไปอาบน้ำ ให้จับโกนผมและหนวดจนโล้น จากนั้นก็ให้เอาแป้งเปียกทาทั้งตัว แล้วโรยด้วยนุ่นตั้งแต่หัวจรดเท้า   แล้วก็สั่งให้คนใช้ช่วยกันจับอาจารย์ทั้งสี่นอนลงในกระชุ ให้ห่อด้วยเสื่อลำแพนหุ้มเสียจนมิดชิด แล้วมัดด้วยเชือกจนแน่นหนา แล้วจึงให้บริวารช่วยกันหามกระชุเสื่อลำแพนเหล่านั้น พร้อมอัญเชิญเครื่องราชาภรณ์ทั้งสี่อย่างไปเข้าเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช

    เมื่อกราบถวายบังคมท้าวเธอแล้ว นางอมราเทวีจึงได้ให้บริวารหามกระชุเสื่อลำแพนเหล่านั้นมาวางไว้แทบพระยุคลบาทของพระราชา ท่ามกลางความสนใจของเหล่าข้าราชบริพาร แล้วก็กราบทูลว่า “ขอพระองค์ได้โปรดทรงรับเครื่องราชบรรณาการเถิด” 

    พระเจ้าวิเทหราชจึงมีรับสั่งให้ราชบุรุษช่วยกันแก้กระชุที่หุ้มด้วยเสื่อลำแพนเหล่านั้นออก ครั้นท้าวเธอได้ทอดพระเนตรแล้ว ก็ถึงกับทรงนิ่งอึ้งตรัสอันใดไม่ออก ส่วนพวกขุนนางและข้าราชบริพาร พอเห็นว่าเป็นอาจารย์ทั้ง ๔ ต่างก็พากันหัวเราะครื้นเครง

จากนั้นนางอมราเทวีจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันขอถวายความสัตย์ว่า มโหสถสามีของหม่อมฉันมิได้เป็นโจรดังคำกล่าวหาของบัณฑิตทั้ง ๔ แท้ที่จริงบัณฑิตทั้ง ๔ ของพระองค์ต่างหากเล่าที่เป็นโจรเพคะ หม่อมฉันมิได้กล่าวขึ้นลอย ๆ แต่มีหลักฐานพร้อมมูลที่จะยืนยันได้เพคะ”

    ท้าวเธอสดับคำร้องของนาง จึงตรัสถามว่า “ไหนล่ะ หลักฐานของเจ้า จงนำมาให้เราดูเถิด”

    ครั้นท้าวเธอทรงประทานโอกาสให้นางได้กราบทูลตามความเป็นจริง นางอมราเทวีจึงมิได้รอช้า ได้ใช้ให้บริวารอัญเชิญเครื่องราชาภรณ์ทั้ง ๔ อย่าง ขึ้นทูลเกล้าถวายคืนแด่ท้าวเธอ

    ครั้นแล้วจึงประกาศความที่มโหสถสามีของตนเป็นผู้ปราศจากโทษว่า “นี่อย่างไรล่ะเพคะ พระจุฬามณีที่อาจารย์เสนกะลักมา นี่ก็พระสุวรรณมาลาที่อาจารย์ปุกกุสะลักมา นั่นผ้ากัมพลบรรทมที่อาจารย์กามินทะลักมา   และนั่นก็คือฉลองพระบาททองคำที่อาจารย์เทวินทะลักมา

เมื่อต่างคนต่างลักมาคนละชิ้นแล้ว ก็ให้นางทาสีในเรือนของตน นำของเหล่านี้ไปขายที่เรือนของหม่อมฉัน เพราะประสงค์จะป้ายความผิดให้สามีของหม่อมฉัน

หม่อมฉันเห็นผิดสังเกต จึงได้จดบันทึกวันเวลาที่รับสิ่งของเหล่านั้นไว้ในหนังสือโดยละเอียดเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรหนังสือบันทึกนี้เพื่อพิสูจน์ความจริงด้วยพระองค์เองเถิดเพคะ”

แล้วนางอมราเทวีก็ให้บริวารทูลเกล้าถวายหนังสือสำคัญนั้นแด่พระราชา แล้วจึงรอฟังอยู่ว่าท้าวเธอจะตรัสว่าอย่างไร

    ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชนั้น ขณะที่ทรงสดับคำให้การของนาง สังเกตว่าท้าวเธอประทับนิ่งตลอดเวลา พระพักตร์ของพระองค์หม่นหมองเหมือนไม่สู้สบายพระทัยนัก

    แม้นางจะได้กราบทูลต่อ ถึงความเสื่อมเสียของบัณฑิตทั้ง ๔ ว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า ยังมีเรื่องที่น่าละอายของอาจารย์ทั้ง ๔ อีก คือ นอกจากพวกเขาจะพยายามใส่ร้ายมโหสถบัณฑิตแล้ว ยังคิดจะลวนลามหม่อมฉัน โดยพวกเขาได้พากันส่งบรรณาการมาให้หม่อมฉัน และขอนอนค้างคืนที่เรือนของหม่อมฉันอีก ขอให้พระองค์จงทรงสั่งลงโทษอาจารย์ทั้ง ๔ ให้สาสมแก่ความผิดด้วยเถิดเพคะ”

    ท้าวเธอทรงสดับเรื่องราวที่นางเล่ามาทั้งหมดด้วยพระอาการที่หม่นหมอง ไม่ตรัสอะไรเกี่ยวกับความผิดของอาจารย์ทั้ง ๔ อีก ทั้งมิได้ทรงรับสั่งให้สอบสวนอาจารย์ทั้ง ๔ แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะยังทรงระแวงมโหสถบัณฑิตอยู่ ด้วยทรงฝังพระทัยนับแต่วันที่มโหสถหนีไปจากมิถิลานครว่า “ก็ในเมื่อมโหสถไม่มีความผิดจริงๆ แล้วทำไมถึงหนีไปด้วยเล่า การหนีไปเช่นนี้ จะให้เราเข้าใจว่าอย่างไร”

    อีกอย่างหนึ่ง เพราะท้าวเธอทรงดำริในพระทัยว่า “เครื่องราชาภรณ์เหล่านั้น พระองค์ก็ได้คืนมาแล้ว ส่วนอาจารย์ทั้งสี่นั้น ต่างก็ได้รับความอับอาย หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว การที่พระองค์จะลงโทษสถานใดอีกก็เป็นการไม่สมควร”  ทรงดำริเช่นนี้แล้ว ก็มิได้ทรงตำหนิอาจารย์ทั้งสี่แต่ประการใด เพียงแต่มีพระดำรัสสั้นๆว่า “ท่านทั้งหลายจงกลับไปยังเรือนของตน อาบน้ำชำระกายให้สบายตัวเถิด”

    ขณะนั้น นางอมราเทวีเฝ้าสังเกตพระเจ้าวิเทหราช พลางคิดในใจว่า “แม้ขณะนี้ท้าวเธอยังไม่ทรงคลายความระแวงในสามีของนาง แต่ก็เชื่อมั่นว่า สักวันหนึ่ง สิ่งที่นางกราบทูลไปแล้วนี้ ย่อมจะทำให้ท้าวเธอทรงเข้าพระทัยมโหสถสามีของนางได้ในที่สุด”  นางดำริดังนี้แล้ว จึงได้ถวายบังคมแล้วทูลลากลับ

    นับแต่มโหสถหนีไปจากมิถิลานคร ราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราชก็ต้องเงียบเหงาไป เพราะขาดราชบัณฑิตผู้ทรงธรรมที่จะคอยถวายอนุศาสน์ประกาศธรรมแด่พระราชา

    มหาชนชาวมิถิลานคร ครั้นไม่ได้เห็นมโหสถบัณฑิตเป็นเวลานานแรมเดือน ก็บังเกิดความโศกเศร้าอาลัยถึง ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนเช่นที่ผ่านมา  แม้แต่อารักขเทวดาผู้สถิตอยู่ ณ กำพูฉัตร1ของพระเจ้าวิเทหราชก็เช่นกัน ก่อนนั้นเมื่อตนคอยเฝ้าอารักขาพระมหาเศวตฉัตรของพระราชาอยู่ ก็จะได้สดับข้อธรรมที่มโหสถบัณฑิตทูลถวายแด่พระราชาเสมอมา

และอีกประการหนึ่ง เหตุการณ์ที่ผ่านมา ตนก็ได้เห็นได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด รู้ดีว่าใครผิดใครถูกครั้นมโหสถมาหนีจากไปเช่นนี้ ตนจึงพลอยเศร้า เพราะไม่ได้ฟังธรรมภาษิตของ มโหสถบัณฑิต พระราชวังที่โอ่โถงงามสง่าก็ดูเหมือนว่าว่างเปล่า

    วันหนึ่ง เทวดาตนนั้นมาคิดว่า “ขณะนี้ มโหสถบัณฑิตกำลังประสบกับความลำบาก ทั้งพระราชาก็ทรงระแวงต่อมโหสถ ซึ่งเป็นบุคคลไม่ควรระแวงเลย ควรที่เราจะต้องเสี่ยงใช้อานุภาพช่วยเหลือมโหสถในครั้งนี้เสียแล้ว”  ครั้นดำริฉะนี้แล้ว จึงคิดหาวิธีช่วยให้มโหสถได้กลับคืนสู่มิถิลานคร

    เหตุการณ์ในครั้งนี้ ดูเหมือนว่ามโหสถจะสิ้นปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างสิ้นเชิง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ที่ท่านต้องหนีไปก่อนนั้น เพราะต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ซึ่งเมื่อตนหลบไปก่อนแล้ว พระราชาก็จะไม่ระแวงในกำลังคนของตน และในไม่ช้าความจริงก็ต้องปรากฏ ถึงตอนนั้นทุกอย่างก็จะคลี่คลายไปเอง ส่วนว่า อารักขเทวดาที่กำพูฉัตรจะมีวิธีในการช่วยเหลือท่านอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

1 กำพูฉัตร

**    โดยปกติแล้ว เชื่อว่าพระมหาเศวตฉัตรจะมีเทพยดาประทับอยู่ เพื่อทรงบันดาลสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่สิริราชสมบัติ และราชบัลลังก์ โดยจะอาจจะมีรูปสลักเทพยดานั้นสมมติว่าเป็นเทพยดาพระองค์นั้นอยู่ที่ใต้ "กำพูฉัตร" คำว่า กำพู หรือ กำภู หมายถึง บริเวณที่ไม้ซี่ของฉัตรมารวมเป็นคันฉัตร (ให้นึกถึงก้านร่ม) บางทีเราก็จะไม่เห็นการนำรูปสลักเทพยดานั้นมาประดิษฐาน แต่ก็จะนำพวงมาลัยมาแขวนบูชาไว้ เป็นสัญลักษณ์ของการบูชาเทพยดารักษาพระมหาเศวตฉัตร
 

http://goo.gl/XJRwL


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related