ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 136

ด้วยมธุรสวาจาอันไพเราะอ่อนหวาน คล้อยตามพระราชอัธยาศัย ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำเชิดชูพระเกียรติ ในทุกครั้งที่มีโอกาสได้กราบบังคมทูล ในไม่ช้าพราหมณ์อนุเกวัฏก็สามารถยึดพระราชหฤทัยของพระเจ้าจุลนีได้สำเร็จ แม้แต่พราหมณ์เกวัฏ ปุโรหิตาจารย์คนสำคัญของพระเจ้าจุลนี ที่ใครๆต่างก็ไม่กล้าเข้าหา https://dmc.tv/a4292

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > มโหสถบัณฑิต
[ 29 ต.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18266 ]
 ทศชาติชาดก
เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี
ตอนที่ 136
 
 
    จากตอนที่แล้ว พราหมณ์อนุเกวัฏยังได้กราบทูลต่อไป เพื่อผูกเงื่อนให้น่าเชื่อถืออีกว่า “ขอเดชะ ล่าสุดเมื่อมิถิลาเผชิญศึกครั้งใหญ่ ทุกคนไม่ปรารถนาการสู้รบเลย จะมีก็แต่มโหสถเท่านั้น ที่ไม่รู้จักประมาณกำลังของตน ดึงดันที่จะต้านทานกำลังทัพปัญจาลนคร อันมหึมาของพระองค์ให้จงได้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นความกำแหงของมโหสถมานาน ก็สุดจะทนที่จะโต้แย้ง เมื่อจะต้องเห็นชาวมิถิลาต้องดิ้นรนเดือดร้อนกันทั่วหน้า...
 
    ดังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้นำของกินไปมอบให้แก่ทหารฝ่ายปัญจาละ เพื่อจะแจ้งข่าวว่า ให้พวกท่านอดทนรอไปอีกหน่อย ไม่ช้านานก็จักยึดมิถิลาได้สำเร็จแน่ แต่พวกทหารของมโหสถกลับมาพบเข้า ก็กุมตัวข้าพระพุทธเจ้าไปให้มโหสถ เมื่อมโหสถรู้เรื่องเข้าก็ขัดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้สั่งให้พวกทหารเฆี่ยนตีข้าพระพุทธเจ้าจนหลังแตก แล้วเนรเทศข้าพระพุทธเจ้าออกจากมิถิลานคร...
 
    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับทุกขเวทนา ที่ปรากฏอยู่บนร่างกายอย่างแสนสาหัส แต่ไม่ช้านานก็คงจะหาย ส่วนเรื่องความเจ็บใจนี่สิ มันปวดร้าวเข้าไปถึงเยื่อในกระดูก ข้าพระพุทธเจ้าขอสัญญาว่า จะขอตามล้างแค้นมโหสถเสียให้สิ้นซาก เรื่องทั้งหมดก็เป็นเช่นนี้เอง พระพุทธเจ้าข้า”
 
    พระเจ้าจุลนี ทรงสดับคำทูลอธิบายของพราหมณ์อนุเกวัฏ ในที่สุดพระองค์จึงทรงเชื่ออย่างสนิทใจ จึงทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงอนุเกวัฏไว้ในตำแหน่งอำมาตย์ผู้หนึ่งของพระองค์
 
    การแฝงตัวเป็นไส้ศึกอยู่ในกองทัพคู่อริ เป็นเรื่องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่พราหมณ์อนุเกวัฏก็ยังอุ่นใจ ที่ยังมีสมัครพรรคพวกอยู่นับร้อยคน ซึ่งก็คือสหายของมโหสถ ผู้สืบราชการลับอยู่ในกองทัพฝ่ายปัญจาละนั่นเอง เมื่อมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลให้กันและกันทราบแล้ว อนุเกวัฏจึงได้กองกำลังกลุ่มใหญ่ ที่ช่วยส่งเสริมให้ภารกิจของตนใกล้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จเข้าไปทุกขณะ
 
    ด้วยมธุรสวาจาอันไพเราะอ่อนหวาน คล้อยตามพระราชอัธยาศัย ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำเชิดชูพระเกียรติ ในทุกครั้งที่มีโอกาสได้กราบบังคมทูล ในไม่ช้าพราหมณ์อนุเกวัฏก็สามารถยึดพระราชหฤทัยของพระเจ้าจุลนีได้สำเร็จ แม้แต่พราหมณ์เกวัฏ ปุโรหิตาจารย์คนสำคัญของพระเจ้าจุลนี ที่ใครๆต่างก็ไม่กล้าเข้าหา ด้วยเกรงว่า ในยามที่ต้องสนทนากัน อาจเป็นเหมือนคุยกันคนละภาษา เพราะเหตุที่สติปัญญาไม่เทียมกัน
 
    แต่สำหรับพราหมณ์อนุเกวัฏแล้ว กล่าวได้ว่าเป็นผู้มีความรู้พอตัวทั้งในทางศาสตร์และศิลป์ ดังนั้น การเข้าไปตีสนิทและสนทนากันอย่างผู้มีภูมิรู้เช่นนั้น มิใช่เรื่องยากเลย ด้วยเหตุนี้เอง ภายหลังจากที่ได้เจรจาพูดคุยกันเพียงไม่กี่ครั้ง พราหมณ์อนุเกวัฏจึงกลายเป็นที่ไว้วางใจ และเป็นคู่ปรึกษาหารือของพราหมณ์เกวัฏในที่สุด
 
    เมื่อพราหมณ์อนุเกวัฏเห็นว่า ตนสามารถผูกใจคนสำคัญในกองทัพปัญจาละได้แล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป คือ ตนจะต้องมิใช่เป็นเพียงแค่อำมาตย์คนหนึ่งในกองบัญชาการทัพเท่านั้น แต่จะต้องก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษของกองทัพฝ่ายปัญจาละให้ได้
 
    ดังนั้น ในวันหนึ่งได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันด้วยเรื่องกลศึก โดยมีพระเจ้าจุลนีทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยแม่ทัพนายกองชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งพราหมณ์อนุเกวัฏ ในที่ประชุมนั้น ได้เกิดปัญหาถกเถียงกันในเรื่องความยืดยาวของระยะเวลาที่ปิดล้อมมิถิลานครให้ยอมจำนน ซึ่งแม่ทัพระดับนายกองชั้นผู้ใหญ่ได้มีแนวคิดแตกออกเป็น 2กลุ่มใหญ่ คือ
 
    กลุ่มหนึ่งให้เหตุผลว่า “การให้เหล่าทหารทั้งหลายอยู่เฉยๆ โดยมิได้ปฏิบัติการรบ จะมีผลเสียหายหลายประการ เช่น ทำให้เหล่าทหารย่อหย่อนในทางวินัย เพราะเอาแต่มั่วสุมชุมนุมกัน เที่ยวเล่นอย่างสบาย ขาดความเด็ดเดี่ยว เป็นการยากแก่การปกครอง เมื่อถึงคราวที่จะต้องรบก็ทำให้อ่อนแอลง ยากที่จะได้ชัยชนะ อีกทั้งยังสิ้นเปลืองเสบียงโดยใช่เหตุ ดังนั้น จึงควรปลุกให้เหล่าทหารหาญได้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ด้วยการเข้าโจมตีข้าศึกบ้างเป็นครั้งคราว แทนที่จะล้อมไว้เฉยๆ”
 
    ส่วนทางฝ่ายค้านก็ให้เหตุผลว่า “ถึงอย่างไรมิถิลานครก็ต้องยอมแพ้วันยังค่ำ จะเอาทหารไปพล่าเสียทำไม การรบกันจะมีแต่สูญเสียชีวิตของเหล่าทหารของพระองค์โดยใช่เหตุ ส่วนว่าการย่อหย่อนในทางวินัยที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าหากผู้บังคับบัญชาทุกคนได้ใส่ใจที่จะดูแลอย่างเข้มงวดกวดขันแล้ว ความเสื่อมเสียต่างๆก็จะหมดไปได้”
 
    ข้อโต้แย้งระหว่างแม่ทัพนายกองชั้นผู้ใหญ่ ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อพระเจ้าจุลนีทรงสดับแล้ว ก็ยากที่จะทรงพระวินิจฉัยอย่างเด็ดขาด พระองค์ทรงนึกถึงพราหมณ์อนุเกวัฏขึ้นมาทันที จึงมีพระราชดำรัสถามท่านอนุเกวัฏว่า “ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ในเรื่องที่แม่ทัพของเรากำลังโต้เถียงกันอยู่นี้”
 
    พราหมณ์อนุเกวัฏจึงกราบทูล โดยไม่เว้นที่จะแสดงกิริยานอบน้อมว่า “ขอเดชะ ตามความคิดเห็นของท่านแม่ทัพนายกองชั้นผู้ใหญ่ ที่ถกเถียงกันมานั้น ล้วนเกิดด้วยจิตอันมากล้นด้วยความจงรักภักดี มุ่งที่จะถวายพระเกียรติแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททั้งนั้น แต่เป็นธรรมดาของความเห็น จะลงกันได้ทุกประการย่อมหาไม่ เพราะต่างคนต่างมีความรู้ความสามารถ อีกทั้งมุมมองที่แตกต่างกัน แต่กระนั้นจุดหมายของความเห็นก็รวมกัน คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท…
 
    ด้วยความคิดเห็นของข้าพระพุทธเจ้า เห็นด้วยเกล้าว่า สถานการณ์สงครามคราวนี้ หากปล่อยตามเรื่องราวก็จะต้องคอยช้าไปสักหน่อย แต่หากเร่งรัดก็จะเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นระหว่างความรวดเร็วกับความยืดเยื้อ สุดแล้วแต่จะทรงพระดำริเลือก และหากใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระประสงค์จะได้มิถิลานครโดยรวดเร็ว แม้จะเสียสละเลือดเนื้อชีวิตบ้าง เพื่อทำให้เป็นความรวดเร็วก็ทรงยอมเถอะ ด้วยทรงดำริรอบคอบแล้วเห็นเป็นเรื่องคุ้มกัน ผลจะคุ้มกันเพียงไรหรือไม่ประการใด สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาดำริเห็น พระเจ้าข้า”
 
    “ความคิดเห็นที่ท่านแถลงมานี้ เป็นอันว่าเราควรที่จะต้องโจมตีมิถิลานครบ้าง” พระเจ้าจุลนีทรงสรุป แล้วตรัสต่ออีกว่า “ท่านแน่ใจหรือว่าการรบในครั้งนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และจะสิ้นเปลืองกำลังพลไม่มากนัก”
 
    พราหมณ์อนุเกวัฏจึงถือโอกาสแสดงตัวว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งรู้ธรรมชาติความเป็นไปของทัพฝ่ายข้าศึกเป็นอย่างดี ทราบว่ากำลังของฝ่ายข้าศึก ตอนไหนมั่นคงแข็งแรง ตอนไหนอ่อนแอไม่มั่นคง ทั้งป้อมและกำแพงช่องไหนมั่นคงช่องไหนไม่มั่นคง รวมถึงภูมิประเทศซึ่งเป็นเส้นทางในการเข้าโจมตีว่า ทางไหนมีภัยโดยธรรมชาติประทุษร้าย เช่น มีจระเข้ชุกชุม เป็นต้น ดังนั้น จะเป็นผลทำให้เหล่าทหารหาญมีขวัญกำลังใจมากขึ้น ส่วนเรื่องความสิ้นเปลืองกำลังพลย่อมจะน้อยลงเป็นธรรมดา”
 
    แล้วจึงสรุปลง ด้วยการขอรับอาสานำทหารเข้าโจมตีมิถิลานคร เพื่อจะยึดมาถวายพระเจ้าจุลนีให้ได้ ส่วนว่าพระเจ้าจุลนีจะทรงเห็นด้วยประการใด โปรดติดตามตอนต่อไป
 
พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/s7TTK

     
Tag : เสียชีวิต  เทศนา  พระราชภาวนาวิสุทธิ์  พระพุทธเจ้า  ปัญหา  ปัญญา  บารมี  ชาดก  ข่าว  dhamma  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related