ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 4

ชีวิตของผู้คนทั้งสองหมู่บ้านนี้ ล้วนมุ่งดำรงชีพด้วยสัตว์ทั้งหลายทั้งเล็กและใหญ่ และสิ่งของที่ได้มาจากป่า วันแล้ววันเล่าที่เขาต้องสะพายถุงสัมภาระ ในมือมีธนูเข้าสู่ป่า แสวงหาเหล่ามฤคและสัตว์ป่านานาชนิด https://dmc.tv/a1360

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > สุวรรณสาม
[ 22 ก.พ. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  สุวรรณสาม   ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี  ตอนที่ 4
 

        ตอนที่แล้ว พระภิกษุบุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติบำรุงบิดามารดา ซึ่งได้ยากจนอนาถา ด้วยการบิณฑบาตนำภัตตาหารมาเลี้ยง ดูแลจนท่านอิ่มเรียบร้อยแล้ว จึงไปบิณฑบาตเพื่อเลี้ยงตนในตอนสาย บำรุงบิดามารดาอยู่
เช่นนี้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน   เนื่องจากว่าท่านออกบิณฑบาตเพื่อตนเองในตอนที่สายมากแล้ว จึงมักไม่ค่อยได้อะไร จำต้องอดอาหารอยู่บ่อยครั้ง จนร่างกายซูบผอมลง เพื่อนภิกษุเห็นท่านผอมลงทุกวันจึงเข้ามาถามว่า แต่ก่อนผิวพรรณของท่านงดงามผ่องใส แต่ทำไมบัดนี้ถึงได้ซูบผอมเศร้าหมองลง

        ภิกษุผู้กตัญญูจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้เพื่อนภิกษุฟัง  แต่ภิกษุเหล่านั้นมิได้เห็นชอบด้วยแต่อย่างใด กลับพากันกล่าวตำหนิว่า “ไม่ควรทำศรัทธาของญาติโยมให้เสียไป ด้วยการเอาอาหารไปให้แก่เหล่าคฤหัสถ์ ท่านทำเช่นนี้ นับเป็นการกระทำที่ไม่สมควรเลย”

        เรื่องราวของภิกษุผู้เลี้ยงดูบิดามารดาได้แพร่ไปในหมู่ภิกษุด้วยกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระบรมศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วตรัสถามก็ทรงทราบว่า ท่านนำอาหารนั้นไปเลี้ยงดูบิดามารดา จึงทรงให้สาธุการแด่ภิกษุรูปนั้น     แล้วจึงตรัสว่า “ภิกษุ เธอทำดีแล้ว เธอดำรงอยู่ในทางที่เราดำเนินแล้ว แม้เราเองเมื่อครั้งที่ยังบำเพ็ญบารมีอยู่ในกาลก่อน ก็ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดาเช่นเดียวกัน” ภิกษุทั้งหลายใคร่จะฟังบุพจริยาที่พระบรมศาสดาทรงบำเพ็ญนั้นว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงได้กราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวนั้นโดยพิสดาร
 
        พระพุทธองค์จึงทรงนำอดีตชาติของพระองค์มาทรงแสดง ดังที่จะเล่าต่อไปนี้ ย้อนไปในครั้งอดีตกาล ณ ชายป่าอันร่มรื่น ไม่ไกลจากกรุงพาราณสีเท่าใดนัก มีแม่น้ำสายใหญ่สายหนึ่ง  ยังความอุดมสมบูรณ์ให้พืช
พรรณธัญญาหาร และเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงผู้คนและสัตว์ป่าให้ดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข

        สองฟากฝั่งของแม่น้ำสายนี้ ได้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนายพราน 2 หมู่บ้านด้วยกัน ทางฟากโน้นของแม่น้ำ  มีนายพรานไพรที่เชี่ยวชาญในการล่าสัตว์อาศัยอยู่ 500 ครอบครัว  ส่วนฝั่งนี้ก็มีครอบครัวของพรานป่าที่เก่งกาจอาศัยอยู่ 500 หลังคาเรือน

        ชีวิตของผู้คนทั้งสองหมู่บ้านนี้ ล้วนมุ่งดำรงชีพด้วยสัตว์ทั้งหลายทั้งเล็กและใหญ่ และสิ่งของที่ได้มาจากป่า วันแล้ววันเล่าที่เขาต้องสะพายถุงสัมภาระ ในมือมีธนูเข้าสู่ป่า แสวงหาเหล่ามฤคและสัตว์ป่านานาชนิด 

        เมื่อล่าสัตว์ได้มาแล้ว ก็จะแล่เนื้อนำไปขาย ส่วนเนื้อที่เหลือก็นำมาประกอบอาหารเพื่อเลี้ยงตนและครอบครัว วิถีชีวิตของผู้คนของทั้งสองหมู่บ้าน ดำเนินไปเยี่ยงนี้เป็นปกติ

        พรานใหญ่ทั้งสองนั้น เป็นสหายที่รักใคร่กันมาแต่ครั้งยังหนุ่ม ทั้งยังมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นที่พึ่งอาศัยของเพื่อนบ้านในยามทุกข์ยากเรื่อยมา จนกระทั่งผู้คนในหมู่บ้านต่างก็ชื่นชมและยกย่องให้ทั้งสองขึ้นเป็นหัวหน้าปกครองพวกตน 
12.    และแล้ววันที่ทุกคนยินดีปรีดาก็มาถึง เมื่อภรรยาของทั้งสองพรานใหญ่ซึ่งมีครรภ์แก่ได้ให้กำเนิดทารกน้อยพร้อมๆกัน   โดยภรรยาของนายพรานใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านฟากนี้ ได้คลอดบุตรออกมาเป็นชาย มีผิวพรรณที่ผุดผ่องไร้มลทิน เกินกว่าเด็กทารกธรรมดาทั่วไป

        ในยามคลอด หมู่ญาติได้นำเอาผ้าทุกูลพัสตร์ที่มีความประณีตและงดงามมารองรับทารกน้อยเอาไว้ ด้วยเหตุนี้นายพรานใหญ่จึงตั้งชื่อให้ว่า ทุกูลกุมาร (ทุ - กู - ละ - กุ - มาร)

        ทุกูลกุมารผู้มีผิวพรรณงามดุจทองคำ ได้รับการห่อหุ้มด้วยผ้าที่เนื้อละเอียด นอนอยู่บนที่นอนประหนึ่งก้อนทองคำ ยังความเจริญใจให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นบิดายิ่งนัก

        “ดีใจด้วยครับ หัวหน้า ที่ท่านได้ลูกชายช่างน่าเอ็นดูเหลือเกิน ” พรานบริวารคนหนึ่ง เอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงที่ชื่นชมยินดี

        เสียงลูกบ้านอีกคนก็ดังเสริมขึ้นในทางเดียวกันว่า “เจ้าหลานคนนี้ทั้งน่ารักน่าชัง ผิวพรรณก็งามเกินเด็กธรรมดา ถ้าโตขึ้นคงเป็นนายพรานที่เก่งกาจไม่ต่างจากหัวหน้าเป็นแน่” คำกล่าวเยินยอเจือด้วยเสียงหยอกเย้า ทำให้พรานใหญ่ถึงกับยิ้มร่า

        ขณะที่นายพรานทั้งหลายกำลังแสดงความยินดีกับหัวหน้าของตนอยู่นั้น ได้มีพรานหนุ่มคนหนึ่งมาถึงเรือน เพื่อแจ้งข่าวสำคัญให้แก่หัวหน้าของตนได้ทราบ “หัวหน้าครับ พรานใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าที่หมู่บ้านฟากโน้น ฝากแจ้งข่าวมาขอรับ”  เสียงนั้นตะโกนก้องมาแต่ไกล

        “เจ้าว่าอะไรนะ เพื่อนข้าที่หมู่บ้านฟากโน้นแจ้งข่าวมาเรอะ” 
 
        “ครับ พรานใหญ่ฟากโน้นฝากแจ้งมาว่า ภรรยาของท่านก็คลอดลูกแล้วเช่นกันครับ”

        “ โอ!!! วันนี้ช่างเป็นวันดีจริงๆ  .เออ.แล้วเพื่อนข้าได้ลูกสาว หรือ ลูกชายล่ะ”
 
        “ได้ลูกสาวขอรับ หัวหน้า”

        กล่าวถึงพรานใหญ่ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ  ..ก็กำลังยินดีไม่ต่างจากเพื่อนรักของตน เมื่อภรรยาสาวได้ให้กำเนิดทารกที่มีผิวพรรณละเอียดอ่อน แม้จะเป็นทารกเพศหญิง แต่ก็กำดวงใจของผู้เป็นบิดามารดาเอาไว้ นายพรานใหญ่และภรรยา ได้ขนานนามให้เธอว่า ปาริกากุมารี (ปา - ริ - กา)  

        ครั้นทราบข่าวว่าสหายรักที่ฝั่งโน้นได้ลูกสาว หัวหน้านายพรานก็ดีใจยิ่งนัก ได้กล่าวขึ้นด้วยความเบิกบานว่า “ช่างดีจริง ครอบครัวของเราคงได้เกี่ยวดองกันก็คราวนี้ ข้ากับเขาเคยให้สัญญาต่อกันไว้เมื่อยังหนุ่มว่า ถ้าพวกเรามีครอบครัวและมีลูกเมื่อไหร่ ถ้าเป็นชายทั้งคู่หรือหญิงทั้งคู่ก็จะพันผูกให้เป็นเพื่อนกัน  แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งได้ลูกสาว และอีกฝ่ายได้ลูกชายล่ะก็ เราก็จะให้ลูกทั้งสองได้แต่งงานกัน” กล่าวจบก็หัวเราะด้วยความยินดี เพราะสัญญาที่ได้เคยให้ไว้ต่อกันนั้น ใกล้จะเป็นความจริงแล้ว

        ทารกทั้งสองเป็นผู้มีรูปงามยิ่ง ได้บุญลักษณะที่สมบูรณ์พร้อม ทั้งผิวพรรณก็ผุดผ่องประหนึ่งรูปทองคำ เป็นที่รักดังแก้วตาดวงใจของนายพรานใหญ่ทั้งสองตระกูล นายพรานใหญ่และภรรยา ต่างเฝ้าทนุถนอมเลี้ยงดูจนกระทั่งทั้งสองเจริญวัย  

        ทั้งทุกูลกุมารและปาริกากุมารีนั้น แม้จะเกิดในตระกูลนายพราน ที่เกี่ยวเนื่องกับการฆ่าชีวิตผู้อื่นอยู่เป็นนิจ แต่กลับมีอุปนิสัยประกอบด้วยเมตตา ไม่ชอบเบียดเบียนชีวิตสัตว์ใดๆ เลย ส่วนนายพรานใหญ่ก็ตามใจบุตรของตน มิได้บังคับบุตรให้ต้องลำบากออกป่าล่าสัตว์แต่อย่างใด

        เมื่อกุมารและกุมารีทั้งสองมีอายุได้ 16 ปี ควรแก่การออกเรือน นายพรานใหญ่ทั้งสองตระกูลจึงทวง
สัญญาที่เคยให้ไว้ต่อกันว่า จะให้บุตรของตนแต่งงานกัน 

        เมื่อตกลงกันแล้ว นายพรานใหญ่ผู้เป็นบิดาของทุกูลกุมาร จึงแจ้งเรื่องแก่บุตรของตนว่า “ พ่อเอย บัดนี้เจ้าก็เติบโตเป็นหนุ่ม ควรแก่การมีเหย้ามีเรือนได้แล้ว เจ้าน่ะ เป็นลูกชายคนเดียวของพ่อ พ่อหวังให้เจ้าได้สืบต่อวงศ์ตระกูลของเรา  พ่อเองได้หาหญิงผู้งดงามและคู่ควรแก่เจ้า ทั้งสมฐานะกับตระกูลของเรา มาให้เจ้าแล้ว” เมื่อทุกูลกุมารได้ฟังบิดากล่าวเช่นนั้นแล้ว จะรู้สึกอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป
 
โดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/5ntcc


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related