ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 8

ทั้งสองจึงพากันไปยืนหลบฝนอยู่บนจอมปลวกใหญ่ภายใต้ ร่มไม้นั้น โดยหารู้ไม่ว่า ภายในจอมปลวกนั้นมีอสรพิษร้ายตัวหนึ่งอาศัยอยู่ สายฝนได้ไหลหลั่งลงมาอย่างไม่ขาดสาย จนร่างของทั้งสองท่านเปียกชุ่ม น้ำฝนปนเหงื่อไคลของฤษีทั้งสองได้ไหลลงสู่ช่องจอมปลวก https://dmc.tv/a1368

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > สุวรรณสาม
[ 3 มี.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  สุวรรณสาม   ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี  ตอนที่ 8
 

        จากตอนที่แล้ว ทุกูละ และปาริกาทั้งสองท่าน ครั้นดำรงเพศเป็นฤษีอาศัยอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทานให้ ต่อจากนั้น ก็ได้ดำเนินชีวิตอย่างสงบเย็นเป็นสุขเรื่อยมา    จนกระทั่งวันหนึ่ง ท้าวสักกะเทวราช ทรงมองเห็นภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่พระฤษีทั้งสอง จึงเสด็จมาแนะนำทุกูลฤษีว่า   อีกไม่นานนักอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งสอง ควรที่ท่านทั้งสองจะได้บุตรไว้สำหรับปรนนิบัติดูแล ขอท่านทั้งสองจงเสพโลกธรรมเถิด  
        ทุกูลฤษีสดับพระดำรัสของท้าวสักกะแล้ว ก็กล่าวค้านว่า  เราทั้งสองแม้ครั้งที่ยังครองเรือน ก็มิได้เสพโลกธรรมฉันท์สามีภรรยา  ก็บัดนี้เราบวชเป็นฤษีแล้ว จะทำกรรมเช่นนั้นได้อย่างไร ท้าวสักกะจึงทรงแนะนำว่า ไม่ต้องทำถึงอย่างนั้นก็ได้  เพียงแต่เอามือลูบที่ท้องของปาริกาฤษิณีในเวลาที่นางมีระดู เพียงเท่านี้นางก็จะตั้งครรภ์   

        ทุกูลฤษีได้ฟังอย่างนั้นก็เบาใจ ครั้นในเวลาที่ปาริกามีระดู  สองฤษีจึงได้กระทำตามคำแนะนำของท้าวสักกะทุกประการ พระบรมโพธิสัตว์จึงได้จุติจากเทวโลก มาถือปฏิสนธิในท้องของนางปาริกาฤษิณี  นางจึงตั้งครรภ์โดยวิธีที่แตกต่างจากสตรีทั่วไป 

        เมื่อล่วงไปครบ 10 เดือน นางก็ให้กำเนิดบุตรมีผิวผ่องดั่งทองคำที่ออกจากเบ้าหลอม  เหตุนี้ฤษีทั้งสองจึงขนานนามว่า สุวรรณสาม พระโพธิสัตว์ได้รับการเลี้ยงดูจากสองฤษีด้วยความรักโดยมีเพื่อนเล่นเป็นสัตว์ทั้งหลาย และมีเหล่ากินรีเป็นพี่เลี้ยงนางนม คอยประคบประหงมเป็นอย่างดี

        พระโพธิสัตว์ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความห่วงใย จากทั้งมารดาผู้ให้กำเนิด และนางกินรีผู้ประดุจนางนมเช่นนี้ จนกระทั่งเจริญวัย

        เมื่อยามที่สุวรรณสามเริ่มรู้ความ สองดาบสจะสอนให้ลูกได้รู้จักการเจริญภาวนาแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์อยู่เสมอ     ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาภาวนาที่สุวรรณสามโพธิสัตว์ได้แผ่ไปยังสัตว์น้อยใหญ่อยู่เสมอนั้น ได้บันดาลให้พระโพธิสัตว์เป็นที่รักและคุ้นเคยของสัตว์ป่านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นมฤคชาติชนิดใด ก็มักพากันมาห้อมล้อมพระโพธิสัตว์อยู่เสมอ

        แม้แต่เหล่ากินนรกินรี ผู้มีความขลาดกลัว มีความละอายเป็นปกติ ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ในซอกเขาหรือสถานที่ห่างไกลจากผู้คนแต่พวกมันกลับออกจากที่ซุกซ่อนเพื่อมาเที่ยวเล่นกับพระโพธิสัตว์ 

        ยามใดที่บิดามารดาต้องออกไปหาผลาผลในป่า ทั้งสองท่านจะไม่ยอมให้สุวรรณสามออกติดตามไปด้วย แต่จะให้ลูกน้อยรอคอยอยู่ในอาศรมบท พระโพธิสัตว์จึงอาศัยอยู่ในอาศรมบทอย่างอบอุ่น และเป็นสุขเรื่อยมากระทั่งเจริญวัยเป็นหนุ่มน้อยมีอายุได้ 16 ปี

        สุวรรณสามโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้มีปัญญา เมื่อได้เห็นบิดามารดาไปป่าเพื่อหาผลไม้  ก็คอยสังเกตหนทางไว้ด้วยดำริว่า “บิดามารดาทั้งสองของเรา ต้องออกไปหามูลผลาผลเพื่อนำมาเลี้ยงดูเรา  ซึ่งในป่าใหญ่นั้น ย่อมเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ร้ายมากมาย หากวันใดวันหนึ่งมีอันตรายเกิดขึ้นกับท่านพ่อและท่านแม่ของเรา เราจะได้ตามไปให้ความช่วยเหลือท่านทั้งสองได้”

        นับแต่นั้นมา ยามใดที่ฤษีทั้งสองต้องออกป่าไปหาผลไม้ สุวรรณสามก็จะเฝ้าสังเกตหนทางที่ฤษีทั้งสองเดินไป ทั้งยังกำหนดเวลาที่ท่านทั้งสองกลับมาด้วย

        กระทั่งวันหนึ่ง สองฤษีก็ออกป่าไปหาผลไม้เช่นเคย ครั้นถึงเวลาเย็น ขณะที่ทั้งสองกำลังเดินทางกลับมาใกล้จะถึงอาศรมนั้นเอง ลมพายุก็ก่อตัวขึ้น โหมพัดผืนป่าให้สะท้านหวั่นไหว   เบื้องบนท้องฟ้ามีหมู่เมฆดำทมึนตั้งเค้ามาแต่ไกล และแล้วก็โปรยปรายสายฝนลงมาประหนึ่งฟ้ารั่ว เมื่อไม่อาจเดินทางต่อไปได้ สองฤษีจึงมองหาที่หลบฝน ได้เห็นต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งมีใบดกหนา ทั้งอยู่บนจอมปลวกซึ่งเป็นเนินสูงกว่าบริเวณอื่น ทำให้น้ำฝนไหลบ่ามาท่วมไม่ถึง

        ทั้งสองจึงพากันไปยืนหลบฝนอยู่บนจอมปลวกใหญ่ภายใต้ร่มไม้นั้น โดยหารู้ไม่ว่า ภายในจอมปลวกนั้นมีอสรพิษร้ายตัวหนึ่งอาศัยอยู่   สายฝนได้ไหลหลั่งลงมาอย่างไม่ขาดสาย จนร่างของทั้งสองท่านเปียกชุ่ม น้ำฝนปนเหงื่อไคลของฤษีทั้งสองได้ไหลลงสู่ช่องจอมปลวก    แล้วไหลเข้าช่องจมูกของอสรพิษร้ายนั้น กลิ่นเหงื่อไคลของสองฤษีทำให้มันโกรธมากจึงพ่นลมพิษออกมาทางช่องจมูก ลมพิษนั้นได้ฟุ้งเข้านัยน์ตาของดาบสทั้งสอง

        พิษอันร้ายแรงได้ทำลายดวงตาทั้งสองข้างของสองฤษีในทันที จากที่เคยมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่มาบัดนี้ดวงตากลับพลันมืดบอดจนมองไม่เห็นแม้กระทั่งแสงริบหรี่

        เมื่อเกิดเหตุร้ายซ้ำเติมอย่างไม่คาดฝัน ทุกูลฤษีก็เกิดพรั่นพรึงใจร้องบอกปาริกาฤษิณีว่า “ปาริกา ดวงตาของฉันมืดบอดแล้ว มองอะไรไม่เห็นเลย  เธอเป็นอย่างไรบ้าง”

        แม้นางปาริกาฤษิณีก็ร้องเรียกหาทุกูลฤษีด้วยน้ำเสียงที่ตกใจและหวาดกลัวระคนกันว่า “ท่านพี่ ดวงตาของฉันก็มืดสนิท ฉันก็มองไม่เห็นเหมือนกัน” ต่างฝ่ายต่างร้องเรียกหากัน ยืนคร่ำครวญอย่างน่าสงสาร เพราะเข้าใจว่า บัดนี้ชีวิตของตนคงต้องสูญสิ้นเป็นแน่แท้

        เหตุที่สองฤษีจำต้องมาตาบอดทั้งสองข้างเช่นนี้ ก็เป็นเพราะวิบากกรรมของทั้งคู่ในครั้งอดีตชาติ  ซึ่งในครั้งนั้น คนทั้งสองมีอาชีพเป็นแพทย์รักษาคนไข้ และได้เป็นสามีภรรยากัน 

        ทุกูลฤษีในครั้งนั้นได้ทำการรักษาคนไข้รายหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคตา ชายคนนั้นเป็นคนมีฐานะ เขาได้สัญญาว่าหากหมอรักษาตาเขาให้หายขาดจนมองเห็นได้ เขาจะให้ค่ารักษาพยาบาลอย่างงาม   แต่ครั้นหมอรักษาจนหายแล้ว ชายคนนั้นกลับไม่ยอมจ่ายค่ารักษาให้ ฝ่ายหมอผู้รักษาตานั้นโกรธมาก ได้นำความไปปรึกษากับภรรยาของตนว่าจะทำอย่างไรดี

        ฝ่ายภรรยานั้นเล่า เมื่อได้ฟังสามีกล่าวเช่นนั้นก็โกรธเช่นกัน ได้แนะอุบายให้กับสามีว่า “ถ้ามันไม่ยอมให้ค่ารักษา ท่านจงประกอบยาพิษขึ้น แล้วหยอดตาทั้งสองของมันให้บอดไปเสียเลยซิ” 

        สามีฟังคำของภรรยาแล้วก็เห็นชอบด้วย จึงได้ประกอบยาพิษแล้วใช้อุบายของตนหยอดยาให้ชายคนไข้ จนตาของเขากลับมาบอดสนิททั้งสองข้าง ด้วยบาปกรรมสาหัสนั้นเอง จึงกลายเป็นวิบากกรรมติดตามมาตัดรอนทำให้สองฤษีต้องมาตาบอดในภพชาตินี้

        เราจะเห็นได้ว่าบาปกรรมใดที่บุคคลก่อ แม้จะรู้สึกสะใจสมใจในคราวที่ก่อกรรม แต่บาปกรรมนั้นมันไม่ได้สูญหายไปไหน และไม่ให้อโหสิกรรมง่ายๆ แต่มันจะตามตอบสนองแก่บุคคลนั้นสักวันหนึ่ง

        ดังนั้น เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องกฎแห่งกรรม จะได้รู้จักให้อภัย และหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีเมตตาต่อกันอยู่เสมอ เมื่อยามที่ถูกใส่ร้าย ถูกเบียดเบียนให้ทุกข์ร้อน จะได้ไม่เร่าร้อนใจจนต้องก่อบาปกรรมขึ้น    เพราะถ้าหากไม่รู้จักให้อภัยแล้ว ก็อาจจะก่อเวรใหม่ได้ ซึ่งจะต้องไปชดใช้กรรม ดังที่ฤษีทั้งสองท่านประสบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งท่านต้องตาบอดหลงทางอยู่กลางป่า ส่วนว่าท่านทั้งสองจะกลับอาศรมได้อย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป
 
โดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/RxRpu


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related