ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 1

อาชีพนั้น เราก็สามารถเลือกได้ และเมื่อทำไปแล้ว เกิดไม่ชอบใจขึ้นมา ก็สามารถเปลี่ยนอาชีพใหม่ได้ไม่ยากนัก แต่วิชาชีวิตนั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้กันเลยว่า ต้นแบบชีวิตที่ดีที่สุดนั้นเป็นเช่นไร ควรจะเลือกดำเนินชีวิตอย่างไร และทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีคุณค่าสูงสุด https://dmc.tv/a160

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > พระเตมีย์
[ 4 ส.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18296 ]
View this page in: 中文
 

 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  พระเตมีย์   ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี  ตอนที่ 1
 
    ชีวิตนี้เป็นของเรา ทุกคนมีสิทธิ์ในการเลือกดำเนินชีวิต ว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด จะเลือกเรียนในสาขาวิชาอะไร หากอยู่ในโลกเสรี ก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนได้ตามใจชอบ ตามความถนัดของตนการทำงานเลี้ยงชีพก็เช่นเดียวกัน จะทำงานในอาชีพใด เราก็สามารถเลือกได้  และเมื่อทำไปแล้ว เกิดไม่ชอบใจขึ้นมา ก็สามารถเปลี่ยนอาชีพใหม่ได้ไม่ยากนัก แต่วิชาชีวิตนั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้กันเลยว่า ต้นแบบชีวิตที่ดีที่สุดนั้นเป็นเช่นไร  ควรจะเลือกดำเนินชีวิตอย่างไร และทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีคุณค่าสูงสุด  เป็นชีวิตที่สดใสสวยงาม ที่เมื่อนึกถึงแล้วก็ยังปลื้มใจว่า ได้กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจ ไม่มีเรื่องเสื่อมเสียเลย

    การจะให้เป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องศึกษาเรื่องราวของท่านผู้ที่ประสบความสำเร็จอันสูงสุดในชีวิต ว่าท่านดำเนินชีวิตอย่างไร แล้วก็ปฏิบัติให้ได้ตามนั้น ชีวิตจึงจะเจริญรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ บุคคลผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต ที่จะเกินกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของมนุษย์และเทวดานั้นไม่มี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องเรียนรู้ว่า อดีตชาติ ก่อนที่พระพุทธองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ดำเนินชีวิตโดยมีหลักการอย่างไร

    ขอเชิญทุกท่าน ได้พบกับเรื่องราวของพระบรมโพธิสัตว์ ในพระชาติที่สำคัญๆ ว่าก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ธรรม เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาอย่างไร เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างให้เราได้ดำเนินตามต่อไป 
 
    โดยในอดีตชาติที่ผ่านมานั้น พระองค์ทรงสั่งสมคุณความดีที่เรียกกันว่า บารมี คำว่าบารมีนั้น ก็คือบุญ ที่กลั่นตัวจนกระทั่งเป็นพลังมวลแห่งความบริสุทธิ์ที่มีอานุภาพมาก ซึ่งเกิดจากความตั้งใจสั่งสมบุญอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน มี 10 ประการ คือ 1. ทานบารมี 2. ศีลบารมี 3. เนกขัมมบารมี 4. ปัญญาบารมี 5. วิริยบารมี 6. ขันติบารมี 7. สัจจบารมี  8. อธิษฐานบารมี 9. เมตตาบารมี และ 10. อุเบกขาบารมี
 
แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
  • อย่างปกติธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น ทานการให้วัตถุสิ่งของภายนอก เมื่อสั่งสมมากเข้าก็กลั่นตัวเป็นบารมีเรียกว่า ทานบารมี 
  • ถ้าเป็นอย่างปานกลาง ก็สามารถให้เลือด เนื้อ และอวัยวะของตนเมื่อสั่งสมมากเข้าก็เป็นบารมีที่เรียกว่า อุปบารมี
  • และบารมีอย่างสูงสุด สามารถให้ได้แม้กระทั่งชีวิตของตน เรียกว่า ปรมัตถบารมี 
 
     

     สำหรับในบารมีอีก 9 ประการที่เหลือ ก็แบ่งออกเป็น 3 ระดับโดยนัยนี้เช่นกัน จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ ที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ต้องบำเพ็ญให้เต็มเปี่ยม จึงจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อเกิดมาต้องมีเป้าหมาย คือ ต้องบำเพ็ญบารมี เพื่อให้บรรลุธรรมอันประเสริฐอันสูงสุด เพื่อนำพาตนให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพ 3 ซึ่งเป็นเหมือนวังวนแห่งทะเลทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงพระนิพพาน อันเป็นแดนบรมสุขที่ยั่งยืน ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ไม่มีการแก่ การเจ็บ การตาย  และการถูกทัณฑ์ทรมานในอบายภูมิ อันน่าสยดสยองอีกต่อไป

    ผู้ที่ปรารถนาเพื่อเป็นพระอรหันตสาวกแล้วเข้านิพพาน ก็ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการ เมื่อได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พระองค์เป็นยอดกัลยาณมิตรแนะนำวิธีการให้พ้นทุกข์ เมื่อทำตามคำแนะนำนั้น ก็จะสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้

    ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการ ให้เต็มเปี่ยมในระดับที่จะบรรลุธรรมวิเศษนั้นได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครสอน จึงจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้

    ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 30 ทัศให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ในระดับที่จะเป็นพระบรมครูของมนุษย์ เทวดา รูปพรหม และอรูปพรหม จึงจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

    พระเตมีย์ คือ พระชาติชาติหนึ่ง ในทศชาติชาดก หรือพระเจ้า 10 ชาติ ที่พระบรมโพธิสัตว์ของเรา ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอย่างยิ่งยวด ในระดับที่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งจัดเป็นปรมัตถบารมี แต่ก็มิได้หมายความว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเพียงอย่างเดียว ที่จริงแล้ว ทรงบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการไปพร้อมๆ กัน เพียงแต่ในพระชาตินี้ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอย่างเด่นชัด คือการออกจากกามคุณทั้ง 5 อันเป็นประดุจเหยื่อล่อให้สรรพชีวิตติดอยู่ในภพ 3 ทรงดำริออกจากกาม สละราชสมบัติอย่างไม่มีเยื่อใย

    ขอท่านผู้มีบุญทั้งหลาย จงตั้งใจสดับโดยเคารพ เพื่อความรู้และความเข้าใจ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ใหญ่ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา และทำให้เป็นผู้ฉลาดในการดำเนินชีวิต และเพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างบารมีของท่านทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป ที่ยกเอาเรื่องพระเตมีย์ขึ้นก่อน ก็เพื่อจะให้เกิดความเคารพเทิดทูนพระองค์ว่า ทรงทำในสิ่งที่คนทั้งหลายทำได้ยาก เป็นการฝืนกระแสกิเลสอย่างยิ่งยวด ดังนั้น จึงสมควรจะกล่าวเริ่มต้นจากเรื่องพระเตมีย์ไปจนจบทั้ง 10 เรื่อง โดยไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากพระบาลีและอรรถกถา ขอเชิญทุกท่านได้ติดตามรับฟังเรื่องราวอันน่าประทับใจดังที่จะเล่าต่อไปนี้

    ณ ธรรมสภาอันเป็นสถานที่ประชุมกันเพื่อฟังธรรม และสนทนาธรรมของพุทธบริษัททั้งหลาย ภายในพระเชตวันมหาวิหาร พุทธสถานอันงดงาม มีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ วันหนึ่ง ได้มีภิกษุหมู่ใหญ่ผู้ใคร่ต่อการศึกษา ได้มาประชุมกันเพื่อฟังธรรม และสนทนาธรรม
 
    ในวันนั้น ที่ประชุมได้สนทนากันในหัวข้อว่า การเสด็จออกผนวชของพระบรมโพธิสัตว์ ในขณะที่ยังทรงเป็นเจ้าชายผู้งามสง่า สมบูรณ์พร้อมด้วยมนุษย์สมบัติทุกอย่าง ที่ใครๆ ก็หวังว่า พระองค์จะได้เสวยสมบัติจักรพรรดินั้น ช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน ในคราวนั้น พระบรมศาสดาทรงประทับอยู่ในที่หลีกเร้น ได้สดับคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้น ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงเลยโสตของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายและทรงเห็นว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่จะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงเสด็จมา ณ ธรรมสภานั้น ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษุจัดถวาย แล้วตรัสถามถึงคำสนทนาที่ได้เริ่มต้นแต่ยังคงค้างอยู่ เพราะเหตุที่พระองค์เสด็จในระหว่างว่า กำลังสนทนากันถึงเรื่องอะไรอยู่

    เมื่อทรงสดับคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต ผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ได้สละราชสมบัติออกผนวชในชาตินี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลยแต่เมื่อครั้งเราตถาคตยังบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น ได้สละราชสมบัติออกบวช นั่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่า”
 
    ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงทรงประทับนิ่งอยู่พระภิกษุทั้งหลายที่นั่งประชุมกันอยู่ในที่นั้น เห็นเป็นโอกาสที่จะได้ฟังธรรมอันพิสดารเป็นที่จับจิตจับใจ จึงทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนที่พระองค์ยังบำเพ็ญบารมีไม่เต็มเปี่ยมอยู่นั้น ได้สละราชสมบัติ เสด็จออกบวชมีเรื่องราวเป็นอย่างไร ขอพระองค์ทรงแสดงให้แจ่มแจ้งด้วยเถิดพระเจ้าข้า” เรื่องราวที่พระองค์ตรัสเล่าให้ภิกษุเหล่านั้นได้สดับ จะเป็นที่เพลิดเพลินเจริญใจอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป
 

โดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/Nmi02


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related