ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 8

“เราพินาศไปในปากงูร้าย ยังดีกว่าตายในนรกอันร้ายกาจ” ดำริดังนี้แล้วก็ทรงประทับนั่งนิ่งเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ https://dmc.tv/a189

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > พระเตมีย์
[ 11 ส.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18264 ]

 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  พระเตมีย์   ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี  ตอนที่ 8
 

            จากตอนที่แล้วอำมาตย์ทั้งหลายได้กราบทูลแนะนำให้พระเจ้ากาสิกราชทรงทดลองด้วยผลไม้ซึ่งพระองค์ก็ทรงให้กระทำตามนั้นโดยให้นำเอาผลไม้ใส่ถาดแล้วนำเข้าไปวางไว้โดยวิธีเดิม แต่พระราชกุมารก็ยังคงตั้งมั่นอยู่ในปณิธาน ไม่แสดงอาการให้ผิดแปลกไปจากเดิม  แม้จะทดลองด้วยวิธีนี้อยู่หนึ่งปี แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นเลย 
 
พวกอำมาตย์จึงได้กราบทูลแนะนำอีกว่า  ธรรมดาเด็กอายุสามขวบ มักโปรดปรานของเล่น ขอพระองค์ทรงโปรดให้ทดลองด้วยของเล่นเถิด แต่เมื่อให้ทำของเล่น เช่นตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า รถ และเรือเล็กๆ ไปให้พระราชกุมาร กุมารทั้ง 500 คนต่างพายื้อแย่งกัน  ส่วนพระราชกุมารกลับไม่ทรงทอดพระเนตรดูเลยแม้แต่น้อย
 
        ในปีถัดมา เมื่อพระราชกุมารมีพระชนมายุได้สี่ขวบ พระราชาจึงรับสั่งให้ปรุงอาหารรสเลิศนานาชนิดๆ  แล้วนำไปวางไว้ใกล้พระราชกุมาร เหล่ากุมารทั้ง 500 คน ต่างพากันหยิบอาหารบริโภคเอง แต่พระราชกุมารก็มิได้สนพระทัย พระนางเจ้าจันทาเทวี เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชกุมารยังทรงนิ่งเฉยเนิ่นนานเข้าจึงทรงให้พระราชกุมารเสวยโภชนาหารด้วยพระหัตถ์ของพระนางเอง
 
ต่อมา เมื่อพระเตมิยกุมารมีพระชนมายุได้ 5 ชันษา พระราชาก็ทรงโปรดให้ทดลองพระราชกุมารด้วยไฟโดยทรงรับสั่งให้จุดไฟที่เรือนที่มุงและปิดบังด้วยใบตาล ซึ่งเป็นที่ประทับชั่วคราวของพระราชกุมาร ในขณะที่กุมารเหล่าอื่นพากันวิ่งหนีออกมาด้วยความหวาดกลัว แต่พระราชกุมารหาได้กลัวความตายไม่ ยังคงบรรทมนิ่งอยู่เช่นเดิม พวกอำมาตย์จึงต้องรีบเข้าไปอุ้มเอาพระองค์ออกมาจากเปลวไฟ
 
        ครั้นพระราชกุมารพระชนมายุได้ 6 ชันษา พระราชบิดาก็ทรงโปรดให้ทดลองด้วยช้าง โดยรับสั่งให้ปล่อยพญาช้างให้แล่นเข้าหาพระราชกุมาร ในขณะที่กุมารที่เหลือพากันร้องระงมวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัว   แต่พระราชกุมารกลับบรรทมเฉย ปล่อยให้พญาช้างเอางวงจับพระองค์ยกชูขึ้นวิ่งไปโดยรอบสถานที่นั้น แต่เพราะช้างนั้นเป็นช้างที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว จึงมิได้ทำร้ายพระราชกุมารให้ได้รับอันตรายแต่อย่างใด

        เมื่อการทดลองที่น่าหวาดเสียวครั้งนั้นจบลงแล้ว พระราชาก็ได้ตรัสถามพวกราชบุรุษว่า “ขณะที่รับลูกของเรามาจากพญาช้าง พวกท่านเห็นลูกเราขยับมือและเท้าบ้างหรือไม่”  พวกราชบุรุษกราบทูลว่า  “ไม่ทรงขยับเลย พระเจ้าข้า”   พระราชาจึงหันพระพักตร์มาทางพวกอำมาตย์ แล้วรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ แล้วเราจะทำอย่างไรกันต่อไป”  เมื่อเหล่าอำมาตย์ได้ฟังพระกระแสแล้ว ครั้นจะกราบทูลให้ทรงยุติการทดลองเสียกลางคัน ก็เห็นจะเป็นการไม่สมควร จึงได้กราบบังคมทูลพระราชาให้ทรงทดลองด้วยวิธีอื่นต่อไป 

        โดยอำมาตย์ผู้หนึ่งได้ถวายการแนะนำว่า   “ขอเดชะ ธรรมดาเด็ก 7 ขวบย่อมกลัวงู พวกข้าพระองค์จะทดลองพระราชกุมารด้วยงู พระเจ้าข้า”  กราบทูลดังนี้แล้ว จึงให้พระราชกุมารนั่งอยู่ที่พระลานหลวง  แวดล้อมด้วยกุมารทั้งหลายที่วิ่งเล่นกันอยู่ แล้วปล่อยงูจำนวนมากซึ่งถอนเขี้ยวและเย็บปากแล้วเข้าไป กุมารทั้งหลายเห็นงูเหล่านั้นก็ร้องลั่น แตกตื่นวิ่งหนีไป  แต่พระราชกุมารก็มิได้ทรงหวาดกลัวหรือถอยหนี แม้งูจะเลื้อยมารัดพระกาย แผ่พังพานอยู่บนพระเศียรของพระกุมารแล้ว แต่ก็มิได้ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้เลย ทรงระงับความกลัวเสียสิ้นด้วยทรงนึกถึงภัยในนรกว่า “เราพินาศไปในปากงูร้าย ยังดีกว่าตายในนรกอันร้ายกาจ” ดำริดังนี้แล้วก็ทรงประทับนั่งนิ่งเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ

        แม้จะทดลองอยู่อย่างนี้เป็นระยะๆ นานนับปี ก็ไม่เห็นความเคลื่อนไหวของพระราชกุมารแต่อย่างใด ทั้งพระราชาก็ทรงรับสั่งถามพวกราชบุรุษอยู่เนืองๆ ว่า “ขณะที่นำลูกของเราไปก็ดี ขณะที่นำมาก็ดี พวกท่านเห็นลูกของเราไหวมือและเท้าบ้างหรือไม่” ก็ทรงได้รับคำตอบเช่นเดิมว่า “ไม่เคยเห็นเลย พระเจ้าข้า” จึงทรงรับสั่งหารือต่อไปว่า “แล้วพวกเราจะทำอย่างไรดี” 

        ขณะนั้นคณะอำมาตย์จึงได้กราบทูลแนะนำว่า “ขอเดชะ ธรรมดาเด็กแปดขวบชอบดูการฟ้อนรำ พวกข้าพระองค์จะทดลองพระราชกุมารด้วยการฟ้อนรำ พระเจ้าข้า”  เมื่อได้รับพระราชานุญาตแล้ว ก็นำพระราชกุมารมาให้ประทับนั่งที่พระลานหลวง กับกุมารทั้ง 500 คน แล้วให้แสดงการฟ้อนรำ กุมารทั้งหลายต่างก็สนุกสนาน พากันหัวเราะเฮฮา ส่วนพระราชกุมารทรงนึกว่า “ในเวลาที่เราอยู่ในนรก ความรื่นเริงไม่มีเลยแม้เพียงชั่วขณะเดียว” จึงนิ่งเฉยไม่ทรงทอดพระเนตรดูเลย   เป็นธรรมดาของสัตบุรุษทั้งหลาย เมื่อได้รับชมรับฟังเรื่องราวอันน่าบันเทิงเริงรมย์น่าสนุกสนาน น่าเพลิดเพลินเจริญใจ แม้คนทั้งหลายจะสรวลเสเฮฮา ปล่อยอารมณ์ให้ไหลไปตามอำนาจของสิ่งกระตุ้นเร่งเร้าทั้งหลาย แต่ผู้ที่เป็นสัตบุรุษนั้น จะระงับใจไม่ให้ยินดีในสิ่งอันชวนให้ลุ่มหลง ซึ่งเป็นประดุจเหยื่อล่อเหล่านั้นจนเกินไป แต่จะยินดีในสิ่งเหล่านั้นแต่พองาม เพื่อเป็นการไม่เสียมารยาทของสังคม โดยจะนึกถึงโทษภัยและความทุกข์ที่ตนเคยประสบมาในอดีต และทุกข์ภัยที่จะต้องประสบในอนาคต เพื่อลดความยินดีนั้นให้ลงมาอยู่ในระดับที่พอดี

        พระราชกุมารก็เช่นเดียวกัน ทรงนึกถึงความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่เคยประสบมาในนรก ด้วยทรงมีเป้าหมายที่จะต้องออกไปให้พ้นจากราชมณเฑียรแห่งนี้ อย่างผู้มีชัยให้ได้ จึงทรงอดทนอดกลั้นมั่นคงอยู่ในปณิธานเรื่อยมา  จนกระทั่งในปีถัดมา พวกอำมาตย์ก็ได้กราบทูลพระราชาอีกว่า “ขอเดชะ ธรรมดาเด็กเก้าขวบย่อมกลัวศัสตรา พวกข้าพระองค์จะทดลองพระราชกุมารด้วยศัสตราดูพระเจ้าข้า” 
 
        กราบทูลดังนี้แล้ว ก็ให้พระราชกุมารประทับนั่งที่พระลานหลวงกับกุมารทั้ง 500 ร้อย แล้วให้บุรุษร่างใหญ่แต่งกายดุจเพชฌฆาต ทำทีดุจจะประหารพระราชกุมาร   โดยให้บุรุษนั้นเกว่งดาบที่ลับดีแล้ว โห่ร้อง ขู่ตะคอก ร้องตวาดว่า “พระโอรสของพระเจ้ากาสิกราชพระองค์หนึ่ง มีลักษณะง่อยเปลี้ยไม่พูดไม่จา เขากล่าวกันว่าเป็นคนกาลกิณี บัดนี้เขาอยู่ที่ไหน เราจะตัดหัวให้ขาดเสียเดี๋ยวนี้” พลางเดินเข้าหาพระราชกุมาร กุมารทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็เกิดความสะดุ้งกลัว ร้องลั่น วิ่งหนีไปคนละทิศละทาง  แต่พระกุมารก็ทรงนิ่งเหมือนไม่ทรงรับรู้สิ่งใดเลย แม้คมดาบจรดที่พระศอแล้ว ก็ไม่อาจทำให้พระองค์สะดุ้งกลัวได้ เมื่อเห็นว่าไร้ผลบุรุษนั้นก็ล่าถอยไป  
 
        เหล่าอำมาตย์จึงเปลี่ยนมาทดลองวิธีใหม่อีก โดยนำน้ำอ้อยปนข้าวยาคูผสมน้ำผลตาลสุกมาทาทั่วพระสรีระของพระราชกุมาร แล้วนำพระองค์ไปวางไว้ในแหล่งที่มีแมลงวันมาก พระราชกุมารแม้จะถูกฝูงแมลงวันไต่ตอมดูดดื่มกินน้ำหวานทั่วพระสรีระ ดุจถูกแทงด้วยเข็มนับไม่ถ้วน แต่ก็ทรงนิ่งเฉยเช่นเดิม 
 
        จนกระทั่งปีต่อมา คณะอำมาตย์ได้กราบทูลให้คำปรึกษาอีกว่า “ขอเดชะ เด็กที่มีอายุได้สิบขวบก็จัดว่าเป็นผู้ใหญ่พอสมควรแล้ว ที่อยู่ในวัยนี้ย่อมรักสะอาดรังเกียจสิ่งปฏิกูล พวกข้าพระองค์จะทดลองด้วยของโสโครกพระเจ้าข้า”  กราบทูลดังนี้แล้ว ก็ไม่สรงสนานให้พระราชกุมาร ปล่อยให้พระองค์ทั้งทรงถ่ายหนักถ่ายเบาอยู่ในที่ซึ่งพระองค์บรรทมอยู่นั้นเอง ทำให้ฝูงแมลงวันบินมารุมไต่ตอมห้อมล้อมพระองค์ จนแทบจะมองไม่เห็นพระกายเลย เพราะบัดนี้กลายเป็นดุจซากศพปฏิกูลซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงวันเสียแล้ว
  
        พระราชกุมารทรงได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสมาอย่างยาวนาน แม้แต่พระเจ้ากาสิกราชและพระนางเจ้าจันทาเทวี ทั้งสองพระองค์ก็หาได้ทุกข์ทรมานน้อยไปกว่าพระโอรสของพระองค์ไม่ จริงอยู่ พระราชบิดานั้นยังพอข่มพระทัยได้  แต่พระราชมารดานั้นเล่า ยากที่จะข่มพระทัยได้ ทั้งสองพระองค์ทรงเกิดความละอายต่อข้าราชบริพารยิ่งนัก ทั้งทรงทุกข์ร้อนแทนพระราชกุมารจนพระทัยแทบจะแตกสลาย ทั้งสองพระองค์เมื่อทรงทนดูต่อไปไม่ได้ จะทรงทำอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป

โดย : หลวงพ่อธัมมชโย (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)


http://goo.gl/Rnt2Q


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related