ความหมายของการสื่อสารข้อมูล เพื่อความเป็น 1 ขององค์กร

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล สาเหตุของปัญหาภายในองค์กรการขาดการสื่อสารและการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ จะทำอย่างไร เชิญอ่านบทความนี้ค่ะ ... https://dmc.tv/a15802

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 13 มิ.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18282 ]

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

 
 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
เพื่อความเป็น 1 ขององค์กร

เรียบเรียงมาจากรายการ ข้อคิดรอบตัว ที่ออกอากาศทางช่อง DMC
 
 



ความหมายของการสื่อสารข้อมูล



     ความหมายของการสื่อสารข้อมูล สาเหตุของปัญหาภายในองค์กรส่วนหนึ่งมาจากการขาดการสื่อสารและการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ถ้าต้องการรู้ว่าตอนนี้องค์กรของเรามีความเป็นหนึ่งเดียวกันหรือไม่จะวัดได้จากอะไร?
 

การสื่อสาร
การสื่อสาร ครื่องวัดความเป็น 1 ขององค์กร
 
 

เครื่องวัดความเป็นหนึ่งในองค์กรมี 3 ข้อ



1. สมาชิก 
 
     ทุกคนภายในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกันหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสื่อสารทีเข้าใจกันทั้งระดับบนและระดับล่าง เห็นตรงกันว่าเราจะไปในทิศทางไหน


2. ความคิด ความสามารถ 
 
      รวมความคิดความสามารถเพื่อเป้าหมายเดียวกันได้หรือไม่ นำความคิดของคนภายในองค์กรมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต่างคนก็มีความคิดที่หลากหลาย ไม่จำเป็นที่จะคิดเห็นตรงกันหมด แต่ถ้ามีความหลากหลายต่างมองคนละมุม ถึงมุมมองจะต่างก็ต้องรวมกันเป็นหนึ่งในทางเดียวกัน ช่วยร่วมมือกันเพื่ออุดช่องโหว่แต่ละด้านเพราะแต่ละคนไม่มีใครเก่งทุกด้าน อาจมีช่องโหว่ที่แต่ละคนคาดคิดไม่ถึงเพื่อนำมาเสริมความเป็นทีม คือการรวมความคิด ความสามารถเข้าด้วยกัน
 
     ตัวอย่างเช่น ลักษณะบางองค์กรมีผู้บริหารที่เป็นผู้นำพาองค์กรไป มีความเห็นว่าบางเรื่องอาจทำให้เกิดความเสียหายภายในองค์กร แต่กลับเงียบเฉย ปล่อยผ่านแต่มาคุยกันลับหลังว่าผลที่เกิดขึ้นตามมาไม่ดี เพราะฉะนั้นบางองค์กรที่เกิดการนินทากันลับหลังไม่มีประโยชน์ ถ้าองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่มีเสียงนินทาลับหลัง  แต่ถ้าเกิดความคิดเห็นบรรยากาศภายในองค์กรต้องเอื้ออำนวย  สามารถให้นำเสนอความเห็น ความรู้ ความสามารถของตัวเราให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ ไม่จำเป็นว่าถูกหรือผิดเราก็สามารถพูดได้  และความคิดคำพูดนั้นได้รับการตอบสนองเพราะถ้าเสนอไปแล้วยังไม่ใช่สิ่งที่เข้ากับงานได้  ทุกคนมีส่วนที่รับรู้รับทราบทั่วกัน เป็นบรรยากาศร่วมงานร่วมใจ

3. การลงมือทำงาน 
 
     ร่วมมือกันทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกันได้หรือไม่ สามารถนำความรู้ ความสามารถของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นข้อที่ 2 กับข้อที่ 3 จะสัมพันธ์กัน คือการรวมความคิดและการลงมือทำจริง จะควบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นการระดมความคิด ความรู้ ความสามารถ  ทุกคนทุ่มเทเพื่อองค์กรได้อย่างเต็มที่และมีความสุขสิ่งเหล่านี้คือเอกภาพขององค์กร

     ถ้าภายในองค์กรต่างความคิดและทัศนคติที่แตกต่างกัน จะใช้หลักธรรมข้อใดมาปรับใช้ภายในองค์กรเพื่อรวมเป็นหนึ่งไปในแนวทางเดียวกัน?
  

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 

การนำหลักอปริหานิยธรรมมาใช้ในการสื่อสาร


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมบทหนึ่งไว้เรียกว่า อปริหานิยธรรม ความหมายคือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมคือหมู่คณะหรือองค์กรใดที่ปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม 7 ประการนี้จะมีแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย

1. หมั่นประชุมเนืองนิตย์ 
 
     ต้องพูดคุยกันบ้าง เพราะถ้ามัวแต่เก็บไว้ไม่พูดเอกภาพไม่เกิด ต่อให้มีคนในองค์กรเป็น 100 - 1,000 คนก็ตาม แม้กระทั่งในบ้านถึงมีแค่ 3 - 4 คน แต่เมื่อเกิดเหตุอะไรแล้วไม่พูดคิดหวังว่าอีกฝ่ายจะรู้ตัวเอง แต่เขาไม่รู้ตัวเพราะฉะนั้นต้องหมั่นประชุมเนืองนิตย์  

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมใจทำตามมติที่ประชุม 
 
      เมื่อเลิกประชุมให้พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำคือการทำตามมติที่ประชุม ถ้าเริ่มประชุมแล้วไม่พร้อมกันเพราะมีคนเข้าประชุมอยู่ไม่กี่คน ปรากฏว่าหน่วยที่สำคัญไม่อยู่ในที่ประชุมทำให้เกิดความเสียหาย เสียเวลา เมื่อมีมติที่ประชุมออกมาอย่างไรทุกคนต้องยอมรับ คือว่าอย่างไรก็ว่าตามกันเมื่อมติออกมาก็ต้องยอมรับและปฏิบัติ 

3. สิ่งที่ประชุมต้องถูกต้อง ตามกฎและศีลธรรม 
 
     คือไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติไว้ และให้สมาทานสิ่งที่บัญญัติไว้ มติที่ประชุมนั้นต้องอิงความเป็นศีลธรรมคือไม่ขัดต่อหลักที่พระพุทธเจ้าสอนไว้  ไม่ใช่มติที่ผิดหลักที่ทำให้องค์กรเสื่อม  เพราะฉะนั้นมติจะต้องถูกต้องตามหลักศีลธรรมและถูกต้องตามหลักกฎหมายประเพณี  

4.เคารพผู้ใหญ่ในที่ประชุม 
 
     ถ้าที่ประชุมไหนที่ใครพูดและไม่มีใครฟังใคร จะหาข้อสรุปไม่ได้และไม่จบ เพราะฉะนั้นเมื่อใครเป็นประธานที่ประชุมต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่ที่สุดในที่ประชุม
 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 
 
5. ไม่ลุต่ออำนาจความอยาก 
 
     ถ้าที่ประชุมไหนที่ประชุมแล้วมีวาระแอบแฝงจะเกิดการหาข้อสรุปยาก เพราะไม่ได้คุยเสนอความเห็นโดยใช้เหตุผล แต่มุ่งเน้นเพื่อต้องการประโยชน์ให้ตัวเอง ถ้าที่ประชุมระดมความคิดกันเพื่อจะหาว่าอะไรดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุดต่อองค์กรมีเป้าหมายตรงกัน แม้เริ่มต้นจะเห็นไม่เหมือนกัน แต่ว่าฟังเหตุผลทุกคนจะเกิดการตกผลึกทางความคิดว่าแบบไหนดี แต่ละคนจูนปรับตามข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมขึ้นก็จะหาข้อสรุปตรงกันได้  เพราะเป้าหมายของเราไปในทางเดียวกัน แต่เมื่อไหร่ที่มีวาระแอบแฝง เพื่อหวังผลประโยชน์ให้ตัวเองความคิดไม่ตรงกันก็จะหาข้อสรุปไม่ได้เพราะฉะนั้นต้องไม่ลุแก่อำนาจความอยาก 

6. รู้จักการสงบใจ(ฝึกสมาธิ(Meditation)) 
 
     ต้องให้สมาธิตัวเองเพื่อรู้จักการสงบใจ เพราะฉะนั้นจะเป็นองค์กรไหนก็แล้วแต่ต้องมีการฝึกสงบใจให้ใจนิ่งบรรยากาศจะหลอมรวม เช่น ตอนเริ่มต้นสร้างวัดพระธรรมกาย บางครั้งลุยงานมากความคิดเห็นก็ไม่ตรงกัน คุณยายคอยดูแลให้วางงานหยาบและมาฝึกสมาธิ เมื่อใจนิ่งก็เหมือนสนิมที่หลุดออกจากใจ คุยกันแล้วเข้าใจ ทำให้จูนปรับ ระดมความคิดกันได้ เมื่อทุกคนใจหยุดนิ่งแล้วจะเกิดการหลอมรวม ยินดีในเสนาสนะที่สงบ 

7. สนับสนุนคนดีมีฝีมือและดูแลซึ่งกันและกัน 
 
     คนดีมีฝีมือที่ยังไม่มาก็อยากให้เขามา เพราะเขามาเพื่อช่วยให้องค์กรเจริญขึ้น เพราะองค์กรบางแห่งไม่ได้มุ่งเรื่องนี้แต่กลับเป็นว่าเห็นคนดีมีฝีมือต้องขวางไว้ คนนี้ท่าทางเก่งกว่าเราเดี๋ยวเกินหน้าเกินตา ต้องหาทางทำให้คนดีมีฝีมือออกไปเพื่อให้ตัวเองเด่นขึ้น ถ้าคิดอย่างนี้องค์กรไม่เจริญเอกภาพไม่เกิด  จะให้เกิดต้องคิดว่าเมื่อมีคนดีมีฝีมือเข้ามาก็ยินดีรับให้มาเยอะๆ ขอให้เขาอยู่เป็นสุขดูแลเขาให้ดีในฐานะที่เราอยู่มานานกว่า สนับสนุนเขาเต็มที่ ให้เขาใช้ฝีมืออย่างเต็มที่และผลที่ออกมาองค์กรก็จะเจริญเราก็จะได้ดีไปด้วย

           เมื่อทำตามกฎทั้ง 7 ข้อนี้ได้ องค์กรเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันจะเกิดขึ้น ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากบุคคลที่มาจากต่างที่ ต่างความคิด ต่างครอบครัว และอายุก็แตกต่างกัน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายจึงทำให้หลอมรวมกันไม่สนิท เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย มีวิธีการหลอมรวมคนที่มีความคิดเห็นต่างกันมากๆ ด้วยวัย ด้วยสภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง? 

      ประเด็นสำคัญคือผู้นำองค์กรที่มีความสำคัญมากต้องตระหนักถึงความสำคัญของการหลอมรวมและนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ หมั่นประชุมเนืองนิตย์ ตัวอย่างเช่น บริษัท ขายสินค้าออนไลน์แห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น  ที่ขยายตลาดและเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี เพราะยึดหลักตรงกับพระพุทธเจ้าโดยไม่รู้ตัว คือ บริษัททั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ จะต้องมีการประชุมพร้อมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดจนถึงพนักงานทุกคน  ทุกคนจึงเห็นการเติบโตขององค์กรอย่างชัดเจนสามารถปรับตัวทุกอย่างได้ทัน        


ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 หัวหน้าต้องเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีทุกเวลา
 
 

หัวหน้าที่ดีควรมีแบบอย่างแบบใด?


1. ยุติธรรม
 
      หัวหน้าที่ดีต้องมีความยุติธรรม คือการไม่ลำเอียง ไม่ว่าคนนี้จะรักหรือคนนี้เราไม่ชอบ จะลำเอียงด้วยความรัก ความชัง ความหลง ถูกลูกน้องหลอก หรือลำเอียงด้วยความกลัว เช่น ทำแบบนี้ไม่ดีอาจจะมีความเสี่ยง จึงไม่ตัดสินใจอย่างที่ควรต้องตัดสินเพราะความกลัว จะไม่ลำเอียงด้วยความหลงก็ต้องหาความรู้ไม่ให้ถูกหลอก  ไม่ลำเอียงด้วยความกลัวต้องมีความกล้าในการตัดสินใจเพื่อผดุงความยุติธรรม ความถูกต้องและความรัก ความชังทุกคนยังมีอยู่แต่ไม่เอามาใช้ ตัดสินไปตามเนื้อผ้า เมื่อทำแบบนี้ลูกน้องทุกคนจะยอมรับ เพราะเป็นการยุติธรรมไม่ลำเอียงและหัวหน้าที่ดีต้องเป็นหลักให้กับลูกน้องได้
  
2. พูดอย่างไรทำอย่างนั้น

     พูดอย่างไรทำอย่างนั้น เชื่อถือได้ไว้ใจได้ หัวหน้าไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด ลูกน้องอาจจะเก่งกว่าหัวหน้าได้ แต่หัวหน้าจะต้องเป็นหลักให้ลูกน้องได้ เป็นหลักอย่างนี้ได้เกิดจากความยุติธรรม แล้วรักษาด้วยความไว้วางใจคือพูดแบบไหนทำแบบนั้น เช่น สมัยโบราณในยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่กล่าวว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ เพราะการเป็นผู้นำเมื่อพูดออกไปแล้วต้องทำได้อย่างที่พูด ถ้าพูดเปลี่ยนไปมาคนก็จะไม่เชื่อถือคำพูด คำพูดจึงต้องหนักแน่นไม่เปลี่ยน
 
      แต่ถ้าต้องเจอหัวหน้าไม่ดีก็ให้เราปรับเข้าหาไม่ใช่ให้หัวหน้าปรับเข้าหาเรา เพราะเราไมาสามารถเปลี่ยนใครได้ เราต้องปรับตัวเองให้เข้า และทำให้หัวหน้ายอมรับเราให้ได้ เราต้องเปิดใจรับเขาก่อน  แต่ถ้าเกิดการลำเอียงในด้านไม่ดีสำคัญว่าเราต้องปรับเข้าหาและยอมรับให้ได้ เช่น สายปกครองหรือกระทรวงมหาดไทยให้คำไว้ว่า "ทุกอย่างเพื่อนาย" เพราะฉะนั้นถ้าหากเจ้านายเราไม่ค่อยฉลาด ความคิดความอ่านไม่เข้าท่า เราดูฉลาดกว่าเห็นอะไรชัดกว่าก็อย่าไปขวาง แต่ถ้าเรารักและหวังดีต่อเจ้านายจริงต้องหาวิธีที่นุ่มนวลที่สุด เอาตัวตนตัวเองออกไประวังในการกระทำและคำพูด 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 เจ้าของงานที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
 
 

ลักษณะของลูกน้องที่ดี


1. ซื่อสัตย์

     ความซื่อสัตย์จะเป็นตัววัดทำให้เราเป็นที่ไว้วางใจ ไม่ว่าเราจะพูดหรือทำอะไรหัวหน้าก็ไว้วางใจมอบหมายงาน เชื่อใจให้เราทำงานแทนได้ เพราะฉะนั้นจะพูดอะไรก็เป็นที่น่าเชื่อถือ 
 
2. มีความรับผิดชอบ

     ความรับผิดชอบก็จะคุมเรื่องความขยันคือรับผิดชอบสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่เราเป็นยังไงทำด้วยความเต็มใจ ความรับผิดชอบเต็มที่ ถึงแม้เราจะเป็นลูกน้องแต่เราต้องปกป้ององค์กรด้วยการหาทางแก้ไขปัญหาให้ปัญหาที่หนักกลายเป็นเบา  ทุ่มเทรับผิดชอบงานอย่างเต็มที่ด้วยความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของงานเอง  ใส่ใจงานทำงานในองค์กรใหญ่เหมือนว่าตัวเองเป็นเถ้าแก่  อะไรจะเสียหายบ้างเล็กน้อยและถ้าเราทำงานทุกอย่างให้ออกมาดีที่สุด สุขุม รอบคอบทำให้สุดฝีมือ ยิ่งกว่าดีที่สุด เป็นคนทำงานที่ไม่ว่าที่ไหนก็ยินดีที่จะรับใช้แค่ 2 ข้อหลัก คือ ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ     

     ในสมัยพุทธกาลเคยเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นหรือไม่ และพระพุทธเจ้าทรงแก้ไขอย่างไร?

อธิกรณสมถะ


      ไม่ว่าจะเป็นสังคมใดย่อมมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา หมู่สงฆ์มาบวชยังไม่หมดกิเลสก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นได้เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่พระพุทธเจ้าให้หลักว่า อธิกรณสมถะ คือ ทำให้เหตุการณ์ขัดแย้งสงบ ให้ไว้ 7 ข้อ เช่น สมัยพุทธกาลเมื่อมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้นพระพุทธเจ้าจะเรียกประชุมรวมสงฆ์ให้ตามพระมาประชุมรวมกันทั้งหมด  โดยใช้วิธีการถามในที่ประชุมถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกันและตัดสินถูกผิด ถ้ายอมรับโทษก็ระบุว่าไม่ถูกต้องยังไง ต้องถูกลงโทษยังไง แต่ถ้าไม่ยอมรับผิดแต่หลักฐานในความผิดชัดเจนก็ว่าผิดไปตามหลักฐาน
 
     ในยุคหลังไม่มีผู้มีญาณรู้ได้เหมือนพระพุทธเจ้าจึงไม่สามารถจะตัดสินโทษได้ ปัจจุบันจึงใช้หลักเสียงข้างมากโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย  แล้วอีกวิธีที่สามารถแก้ไขเรียกว่าการกลบด้วยหญ้า คือ การไม่ตัดสิน จะเรียกว่าประนีประนอมก็ได้หรือการยืดเรื่องออกไปก่อน เช่น บางปัญหาบางเรื่องที่ไม่ควรตัดสินเพราะถ้าตัดสินออกมาแล้วไม่เกิดผลดีก็ให้ยืดเรื่องออกไปก่อน  ให้คุยกันแบบประนีประนอมดีกว่าคุยกันแล้วเกิดแตกหัก กรณีตัวอย่างเช่น ใต้หวันกับจีนถ้าต้องเกิดปัญหาแตกหักอาจจะก่อให้เกิดสงคราม จึงใช้วิธีการกลบด้วยหญ้า แต่ในระหว่างที่ยืดเรื่องออกไปทั้งสองฝ่ายก็อยู่กันอย่างไม่มีปัญหา ปัญหาไหนที่ภูมิปัญญาเรายังหาทางแก้ไขไม่ได้ให้ปล่อยวางไปก่อน  เพราะฉะนั้นทุกคนอย่ามองทางจะเอาเรื่องคิดแต่จะแก้ปัญหาเอาแต่ชนะกัน


ความเป็น 1 ขององค์กร
ถ้าองค์กรมีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน จะมีแต่ความสุข เจริญก้าวหน้า
 
 

ข้อคิดสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กรเดียวกัน


     พระพุทธเจ้าได้ให้พุทธพจน์บทหนึ่งว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี แปลว่า ความสามัคคีของหมู่คณะทำให้เกิดความสุขที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้  องค์กรหรือหมู่คณะใดที่มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันองค์กรนั้นจะมีความสุข ความเจริญก้าวหน้า เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรจะทำสิ่งใด อย่าคิดเอาตัวเองเป็นใหญ่หรือตั้งเป็นหลัก แต่จงคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง แล้วคิดถึงตัวเองเป็นที่สอง ถ้าสมาชิกในองค์กรใดคิดได้อย่างนี้แล้วองค์กรนั้นก็ยิ่งจะเจริญก้าวหน้าและมีความสุข  เพราะความเป็นหนึ่งขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดที่จะพาองค์กรไปข้างหน้า           

รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอความเป็น1ขององค์กร
ชมวิดีโอความเป็น1ขององค์กร   Download ธรรมะความเป็น1ขององค์กร
 

บทความน่าอ่านเกี่ยวกับการสื่อสาร

สัตว์สื่อสารกันอย่างไร-ที่นี่มีคำตอบ


บทความน่าอ่านวันสำคัญอื่นๆ

วันแม่แห่งชาติ

http://goo.gl/74QML


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related