เรียนรู้บริขาร

บรรพชา เดิมใช้หมายถึง การบวชเป็นนักบวชทั่วไป เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา สาวกบรรพชา และเรียกนักบวชเช่นนั้นว่า "บรรพชิต" แต่ในสมัยปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า "อุปสมบท" https://dmc.tv/a20128

บทความธรรมะ Dhamma Articles > คู่มือเตรียมบวชสามเณร
[ 2 มิ.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18292 ]

เรียนรู้บริขาร

เรียนรู้บริขาร
 
 

     อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึง คือ การบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา

     บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บันพะชา) แปลว่า การงดเว้นจากความชั่ว หมายถึง การบวชเป็นนักบวช

     บรรพชา เดิมใช้หมายถึง การบวชเป็นนักบวชทั่วไป เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา สาวกบรรพชา และเรียกนักบวชเช่นนั้นว่า "บรรพชิต" แต่ในสมัยปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า "อุปสมบท"

     ความจริง การบวชเป็นพระภิกษุนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงอุปสมบท ดังนั้น จึงเรียกรวมกันว่า "บรรพชาอุปสมบท"

    บริขาร (อ่านว่า บอริขาน) คือ เครื่องใช้สอยที่จำเป็นของพระภิกษุ ซึ่งมี ๘ อย่าง เรียกว่า "อัฐบริขาร" (อ่านว่า อัตถะ) แปลว่า บริขาร ๘ ประกอบด้วย
 
          ๑. สบง (ผ้านุ่ง)
          ๒. จีวร (ผ้าห่ม)
          ๓. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน)
          ๔. บาตร
          ๕. มีดโกน
          ๖. เข็ม
          ๗. ประคด/รัดประคด
          ๘. ธมกรก (ที่กรองน้ำ)

ศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้
 
     - นมัสการ  การทำความนอบน้อม, การทำความเคารพด้วยการยกมือไหว้
     - เจริญพร  คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณรมีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (เทียบได้กับคำว่า "เรียน" และ "ครับ" หรือ "ขอรับ")
     - นิมนต์  เชิญ, เชื้อเชิญ (ใช้กับพระภิกษุและสามเณร)
     - พระอุปัชฌาย์  พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา
     - อุปัฏฐาก  ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, ผู้ดูแลความเป็นอยู่, ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร; ถ้าเป็นหญิงใช้ "อุปัฏฐายิกา"
     - ทายก  ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า "ทายิกา"
     - ฆราวาส นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช

ศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้
 
     - ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำ (อาบน้ำ)
    - จตุปัจจัย  ปัจจัย ๔; สิ่งของสำหรับใช้สอยที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร ซึ่งภิกษุสามเณรต้องอาศัยเป็นอยู่ มี ๔ อย่าง ได้แก่ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) (ในปัจจุบัน เงินที่ถวายพระหรือวัด ก็นิยมเรียกว่าปัจจัย)
     - กุฏิ  อาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร
     - กัป  อายุของโลกตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จนถึงเวลาโลกแตกสลายไป
     - ภัตตาหาร  อาหารสำหรับภิกษุสามเณรฉัน
     - ฉัน  กิน, รับประทาน (ใช้กับพระภิกษุและสามเณร)
     - จำวัด  นอนหลับ
     - อาสนะ ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง
     - สรง  อาบน้ำ

บริขารเบื้องต้น
 
 
 
บาตร
 
 
 
จัวร
 
 
ประคด/รัดประคด
 
ผ้ารัดอก
 
 
 
อังสะ
 
 
 
 
สบง

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับคู่มือนักเรียนเตรียมบวชสามเณร
 
 

http://dmc.tv/a20128


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เตรียมพร้อมความสะอาด ความเป็นระเบียบ
      บุญ เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จ
      ชาดกเกี่ยวกับอานิสงส์ของการรักษาศีล
      ศีล คุ้มครองตนจากบาปและอกุศล
      ทำไมต้องกราบพระ
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมครูของมนุษย์และเทวดา
      การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร
      พระภิกษุ ทายาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      บวชแล้ว "สังคมและประเทศชาติ" และ "พระพุทธศาสนา" ได้อะไร
      บวชแล้ว "พ่อแม่ผู้ปกครอง" และ "ครู" ได้อะไร
      บวชแล้ว "ผู้บวช" ได้อะไร
      วิธีตอบแทนคุณพ่อคุณแม่ที่ดีที่สุด คือ อะไร




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related