ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน

ครั้งหนึ่งพระเจ้าโกศลทรงมัวเมาด้วยพระราชอิสริยยศหมกหมุนอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลสไม่ปรารถนาจะว่าราชการ ไม่ตัดสินคดีความแม้การบำรุงพระศาสดาและพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาจึงทรงให้โอวาทเตือนสติแก่พระเจ้าโกศลมิให้ทรงอยู่แต่ในความประมาท https://dmc.tv/a29207

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 17 ก.ค. 2566 ] - [ ผู้อ่าน : 18282 ]

ชาดก 500 ชาติ

ชนสันธชาดก-ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
  
       ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในกาลครั้งหนึ่งพระเจ้าโกศลทรงมัวเมา
ด้วยพระราชอิสริยยศหมกหมุนอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลสไม่ปรารถนาจะว่าราชการไม่ตัดสินคดีความแม้การบำรุงพระศาสดา
 
พระเจ้าโกศลได้หมกมุ่นอยู่ด้วยพระราชอิสริยยศ
 
พระเจ้าโกศลได้หมกมุ่นอยู่ด้วยพระราชอิสริยยศ
 
        และพระพุทธศาสนาที่พระองค์เคยกระทำเป็นนิจก็ทรงลืมเสีย “ ข้ามีความสุขจริง ๆ ไหนเจ้าลองบอกข้าสิว่าใครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดินนี้ ”
“ แผ่นดินนี้จะไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่เกินพระองค์แล้วเพค่ะ ” “ พูดได้ดี ๆ อยู่กับพวกเจ้าแล้วข้ามีความสุขจนไม่อยากออกว่าราชการเลย ฮะ ฮา ฮ่า ”

พระเจ้าโกศลได้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับอิสตรีจนละเลยในการงานทั้งปวง
 
พระเจ้าโกศลได้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับอิสตรีจนละเลยในการงานทั้งปวง
 
        “ ถ้าเช่นนั้นพระองค์ก็อยู่ที่นี้ให้พวกหม่อมฉันปรนนิบัติเถิดเพคะ ” พระเจ้าโกศลทรงลุ่มหลงมัวเมาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งวันหนึ่งพระองค์
ทรงระลึกถึงองค์พระศาสดาจึงทรงดำริว่าจะไปเข้าเฝ้า ครั้นเมื่อเสวยพระกระยาหารเช้าแล้วก็เสด็จไปยังพระวิหารเชตวัน
 
พระเจ้าโกศลได้เสด็จมาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
 
พระเจ้าโกศลได้เสด็จมาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
 
      “ มหาบพิธนานมาแล้วที่พระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพราะเหตุใดกัน ” “ เออ คือข้าพระองค์มีราชกิจมากมายพระเจ้าข้าจึงไม่ได้มีเวลา
มาเข้าเฝ้าพระองค์ ” แม้พระเจ้าโกศลจะตอบเช่นนั้นแต่พระศาสดาก็ทรงรู้ด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณที่ว่าพระเจ้าโกศล

พระศาสดาทรงตรัสเล่า ชนสันธชาดก แก่พระเจ้าโกศล
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า ชนสันธชาดก แก่พระเจ้าโกศล
 
        ไม่ได้มาเข้าเฝ้านั้นแท้จริงแล้วเพราะมัวแต่ลุ่มหลงอยู่กับนางสนมและอิสริยยศทั้งหลาย พระบรมศาสดาจึงทรงให้โอวาทเตือนสติ
แก่พระเจ้าโกศลมิให้ทรงอยู่แต่ในความประมาท “ มหาบพิตรพระองค์ไม่ควรละวิสัยของพระราชา ควรดำรงพระองค์เสมอด้วยมารดา

พระเจ้าพรหมทัตทรงมีพระโอรสพระนามว่า ชนสันธกุมาร
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงมีพระโอรสพระนามว่า ชนสันธกุมาร
        
       บิดาของชาวแว่นแคว้นครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม เมื่อเราตถาคตสั่งสอนอยู่พระองค์ครองราชย์สมบัติโดยธรรมนั้นไม่น่าอัศจรรย์
โบราณกับบัณฑิตทั้งหลายแม้ไม่มีอาจารย์สั่งสอนก็ยังตั้งอยู่ในสุจริตธรรม 3 ประการ แสดงธรรมแก่มหาชนตามความรู้ของตน

เหล่าข้าราชบริพารต่างชื่นชมในความน่ารักน่าเอ็นดูของพระโอรสชนสันธกุมาร
 
เหล่าข้าราชบริพารต่างชื่นชมในความน่ารักน่าเอ็นดูของพระโอรสชนสันธกุมาร
 
       พาบริษัททั้งหลายไปสวรรค์ได้ ” “ เรื่องที่พระองค์ตรัสนั้นเป็นอย่างไรพระเจ้าค่ะ ขอพระองค์ทรงแสดงแก่หม่อมฉันด้วยเถิด ” พระเจ้าโกศล
ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องราวนั้น พระศาสดาจึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่าดังนี้ 
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ

พระโอรสชนสันธกุมารได้เสด็จกลับมายังกรุงพาราณสีหลังจากสำเร็จการศึกษา
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้เสด็จกลับมายังกรุงพาราณสีหลังจากสำเร็จการศึกษา
     
        อยู่ในพระนครพาราณสี ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าพรหมทัต พระญาติทั้งหลายได้ประทาน
พระนามพระโอรสว่า ชนสันธกุมาร “ เสด็จพี่ดูลูกเราสิเพค่ะ ช่างน่าเอ็นดูเหลือเกิน ” “ ชนสันธกุมารลูกพ่อ ต่อไปเจ้าต้องเป็นกษัตริย์
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้รับพระราชทานตำแหน่งอุปราช
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้รับพระราชทานตำแหน่งอุปราช
 
        ที่ยิ่งใหญ่เหมือนพ่อ ” “ พระโอรสช่างน่าเอ็นดูเหลือเกินเหมือนข้าตอนเด็กเลย ” “ จริงเหรอ อย่างท่านแม่ไม่เอาขี้เถ้ายัดปากก็บุญแล้ว ”
เมื่อพระกุมารเจริญวัยก็ได้เดินทางไปศึกษาศิลปวิทยากับอาจารย์ในเมืองตักศิลา ครั้นศึกษาจนสำเร็จแล้วจึงกลับมาเมืองพาราณสี
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้ขึ้นครองราชย์หลังจากพระราชบิดาของตนสวรรคต
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้ขึ้นครองราชย์หลังจากพระราชบิดาของตนสวรรคต
 
       พระเจ้าพรหมทัตก็ได้จัดการต้อนรับโดยรับสั่งให้มีการชำระเรือนจำทั้งหมดให้สะอาดและพระราชทานตำแหน่งอุปราชให้ “ ลูกกลับมาแล้วเสด็จพ่อ ”
“ อืม ดีแล้ว พ่อจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอุปราชเจ้าจงใช้ความรู้ที่เรียนมาช่วยพ่อปกครองบ้านเมืองเถิด ” เมื่อชนสันธกุมารได้รับตำแหน่งอุปราชแล้วก็ช่วย
พระบิดาบริหารราชกิจ

พระโอรสชนสันธกุมารได้รับสั่งให้เหล่าอำมาตย์ช่วยกันดูแลประชาชนให้อยู่กันอย่างสงบสุข
 
พระโอรสชนสันธกุมารได้รับสั่งให้เหล่าอำมาตย์ช่วยกันดูแลประชาชนให้อยู่กันอย่างสงบสุข
  
        ต่อมาเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคตแล้วก็ได้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา “ อำมาตย์ทั้งหลายต่อไปพวกท่านจงช่วยเราดูแลประชาชนให้อยู่ร่วมกัน
อย่างร่มเย็นเป็นสุขเถิด ” “ พระราชาองค์ใหม่ไฟแรงจริง ๆ นึกถึงข้าตอนหนุ่ม ๆ ก็แบบนี้แหละ ” “ ข้าก็เห็นท่านไฟแรงแบบนี้มานานแล้วไม่ยักจะเห็นตำแหน่ง
 
พระเจ้าชนสันธมีรับสั่งให้สร้างโรงทานขึ้น ๖ แห่ง    

พระเจ้าชนสันธมีรับสั่งให้สร้างโรงทานขึ้น ๖ แห่ง
 
        หน้าที่ของท่านจะดีขึ้นเลย ” “ หนอย ขัดคอข้าประจำเลยนะท่าน ” หลังจากได้ครองราชย์สมบัติแล้วพระเจ้าสันธก็มีรับสั่งให้สร้างโรงทานขึ้น ๖ แห่ง
ที่ประตูพระนครทั้งสี่ด้าน ที่กลางพระนครและที่ประตูพระราชวังเพื่อบริจาคพระราชทรัพย์ถึงวันละ ๖ แสน ทรงบำเพ็ญมหาทานจนเป็นที่รู้กันทั้งชมพูทวีป

พระเจ้าชนสันธได้ทรงบริจาคทานแก่มหาชน
 
พระเจ้าชนสันธได้ทรงบริจาคทานแก่มหาชน
  
       “ เอ้า ไม่ต้องแย่งกัน ต่อแถวกันดี ๆ รับรองว่าได้กันทุกคน ” “ ดีจริง ๆ บ้านข้ามีกินทุกวันนี้ก็เพราะพระราชาแท้ ๆ ” “ พระองค์ช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา ”
“ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ” “ พระราชานี่ช่างใจบุญเหมือน ” “ เหมือนท่านนะเหรอ ข้าไม่เคยเห็นท่านจะให้ทานสักครั้งเลย ท่านอย่ามาขี้ตู่นะ ”

พระเจ้าชนสันธทรงให้มีการอภัยโทษแก่นักโทษทั้งหลาย
 
พระเจ้าชนสันธทรงให้มีการอภัยโทษแก่นักโทษทั้งหลาย
 
        “ ท่านนี่ขัดข้าอีกแล้วนะ ” นอกจากนี้พระเจ้าชนสันธยังรับสั่งให้มีการอภัยโทษแก่นักโทษทั้งหลายให้มีการเปิดเรือนจำไว้เป็นนิจ “ ข้าเป็นอิสระแล้ว
ขอบพระทัยฝ่าบาทต่อไปข้าจะไม่ทำผิดสิ่งใดอีกแล้ว ” “ ข้าดีใจจริง ๆ จะได้กลับไปอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับลูกเมียแล้ว เพราะพระราชาให้โอกาสแท้ ๆ ”

พระเจ้าชนสันธทรงแสดงธรรมแก่ชาวเมืองทั้งหลาย
 
พระเจ้าชนสันธทรงแสดงธรรมแก่ชาวเมืองทั้งหลาย
 
       ในรัชสมัยของพระเจ้าชนสันธนั้นพระองค์ทรงต้องการให้ชาวเมืองทั้งหลายเข้าถึงธรรมอันดีงาม จึงให้มีการป่าวร้องให้ชาวเมืองมาฟังธรรม
โดยพระองค์เป็นผู้แสดงธรรมแก่ชาวเมืองทั้งหลายทั้งยังทรงชี้แนะให้ชาวเมืองทั้งหลายรู้จักการถือศีลให้ทาน “ ใกล้เวลาที่พระราชาใกล้จะ
 
ชาวเมืองทั้งหลายต่างใช้ชีวิตอยู่รวมกันอย่างมีความสุข
 
ชาวเมืองทั้งหลายต่างใช้ชีวิตอยู่รวมกันอย่างมีความสุข
 
        แสดงธรรมแล้วพวกเรารับไปกันเถอะ ” “ เดี๋ยวข้าพาลูกเมียไปด้วยจะได้ฟังธรรมกันทั้งครอบครัวเลย ” “ ดีจริง ๆ พระราชาองค์นี้นอกจากจะทรงให้ทาน
แก่พวกเราแล้วยังทรงให้ธรรมแก่พวกเราด้วย ” 
วันหนึ่งเป็นวันปัณรสีอุโบสถเมื่อพระเจ้าชนสันธทรงสมาทานอุโบสถศีลแล้วทรงดำริว่าจะแสดงธรรม
 
เหล่าทหารพาการป่าวร้องให้ชาวเมืองพากันไปฟังธรรมในวันปัณรสีอุโบสถ
 
เหล่าทหารพาการป่าวร้องให้ชาวเมืองพากันไปฟังธรรมในวันปัณรสีอุโบสถ
 
       แก่มหาชนเพื่อประโยชน์สุขยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อให้มหาชนอยู่ด้วยความไม่ประมาทจึงรับสั่งให้ตีกรองป่าวร้องทั่วพระนครให้ชาวพระนครทั้งหมดมาประชุมกัน
เพื่อฟังธรรมของพระองค์ “ ชาวเมืองทั้งหลายวันนี้พระราชาทรงจะแสดงธรรมพวกท่านทั้งหลายจงมาประชุมกันที่พระลานหลวง ” “ พระราชาองค์นี้ดีจริง ๆ ”
 
ชาวเมืองทั้งหลายต่างพากันยินดีที่จะได้ไปฟังธรรมจากพระเจ้าชนสันธ
 
ชาวเมืองทั้งหลายต่างพากันยินดีที่จะได้ไปฟังธรรมจากพระเจ้าชนสันธ
 
       “ ช่างไม่เหมือนกับท่านเอาเสียเลย วันๆ เอาแต่คุยโม้โอ้อวดว่าตัวเองดีอย่างนั้นอย่างนี้ ข้าไม่เห็นจะเป็นเหมือนท่านพูดสักครั้ง ” “ ท่านนี่ขัดคอข้า
ตลอดเลยนะ ” “ เอาเถอะวันนี้วันดีข้าไม่เถียงกับท่านล่ะ ไปฟังธรรมกันดีกว่า ” มหาชนทั้งหลายมาประชุมกันยังพระลานหลวงแล้วพระเจ้าชนสันธ
 
พระเจ้าชนสันธทรงแสดงธรรมแก่มหาชนทั้งหลาย ณ พระลานหลวง
 
พระเจ้าชนสันธทรงแสดงธรรมแก่มหาชนทั้งหลาย ณ พระลานหลวง

        ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์แล้วตรัสแสดงธรรมแก่มหาชนทั้งหลาย “ ประชาชนทั้งหลายเราจะแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้ไม่ประมาทแล้วจงฟังธรรมนี้เถิด เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลไม่ทำเสียในกาลก่อนแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง

บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่มไม่ยอมหาทรัพย์เมื่อแก่ตัวลงย่อมเดือดร้อน
 
บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่มไม่ยอมหาทรัพย์เมื่อแก่ตัวลงย่อมเดือดร้อน

       บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่มไม่ทำความพยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้นครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่าเมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์ไว้
ศิลปะที่สมควรแก่ตนบุคคลใดไม่ได้ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าเราไม่ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน

ผู้ใดไม่มีศิลปะในการเลี้ยงชีพบุคคลนั้นย่อมลำบากในภายหลัง

ผู้ใดไม่มีศิลปะในการเลี้ยงชีพบุคคลนั้นย่อมลำบากในภายหลัง
 
      ผู้ไม่มีศิลปะย่อมเลี้ยงชีพลำบาก ผู้ใดเป็นคนโกงผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าเราเป็นคนโกงส่อเสียดกินสินบน ดุร้าย หยาบคายในกาลก่อน
ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าเราเป็นคนฆ่าสัตว์หยาบช้าทุศีลประพฤติต่ำช้าปราศจากขันติเมตตาและเอ็นดูสัตว์ในกาลก่อน
 
ผู้ใดเป็นคนโกงบุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดเป็นคนโกงบุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
       ผู้ใดคบชู้ได้ภรรยาผู้อื่นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าหญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอันมากไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย คนตระหนี่
ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าเมื่อก่อนข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมายเราก็มิได้ให้ทานเลย ผู้ไม่เลี้ยงดูบิดามารดาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง

ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
   ว่าเราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่าชราได้ก็ไม่ได้เลี้ยงดูท่าน ผู้ไม่ได้ทำตามโอวาทสัญญาย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า
เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอนผู้นำที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า
 
 
ผู้ใดคบชู้ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดคบชู้ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
     เมื่อก่อนเราไม่ได้ไปมาหาสู่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลเป็นพหูสูตเลย ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรมไม่เข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษย่อมเดือดร้อน
ภายหลังว่าสุจริตธรรมที่ประพฤติแล้วและสัตบุรุษอันเราไปมาหาสู่แล้วย่อมเป็นความดีแต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย
 
 
ผู้ใดเป็นคนตระหนี่บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดเป็นคนตระหนี่บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
     ผู้ใดยอมปฏิบัติเหตุเหล่านี้โดยอุบายอันแยบคายผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลังเลย ” พระเจ้าชนสันธแสดงธรรม
แก่มหาชนโดยทำนองนี้ทุก ๆ กึ่งเดือน มหาชนได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศสนานี้
 
 
ผู้ใดไม่เลี้ยงดูบิดามารดาบุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดไม่เลี้ยงดูบิดามารดาบุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
       มาแสดงแก่พระเจ้าโกศลแล้วทรงให้โอวาทแก่พระเจ้าโกศลอีกครั้ง “ ดูก่อนมหาบพิตรโบราณบัณฑิตไม่มีอาจารย์แสดงธรรมตาม
ความรู้ของตนพามหาชนไปสวรรค์ได้ดังนี้ ”
 
 
ผู้ใดไม่ทำตามโอวาทบุคคลนั้นเขาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ใดไม่ทำตามโอวาทบุคคลนั้นเขาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
     จากนั้นทรงประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้น ได้มาเป็น พุทธบริษัทในครั้งนี้ พระเจ้าชนสันธราช เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า 
 
ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
 
ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 










พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ