สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม

พระโอรสสังวรกุมารเป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๐๐ แห่งพระราชาเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ ของเหล่าปวงประชา เหตุเพราะพระองค์เป็นผู้ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม เป็นผู้ไม่ความริษยา เคารพนบนอบในผู้มีคุณ มีความยินดีในธรรม ทำให้พระองค์เป็นผู้ที่ถูกเลือกให้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาของตน https://dmc.tv/a28765

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 16 ก.พ. 2566 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]

ชาดก 500 ชาติ

สังวรมหาราชชาดก-ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม

เหล่าพุทธศาสนิกชนพากันฟังธรรมด้วยความศรัทธาในพระธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เหล่าพุทธศาสนิกชนพากันฟังธรรมด้วยความศรัทธาในพระธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  
       ในกาลสมัยที่พุทธศาสนาเผยแผ่ทั่วชมพูทวีป เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างล้วนฟังธรรมประพฤติศีลกันทั่วหน้า ด้วยศรัทธาในพระธรรม
และองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นได้มีกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่งเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาก็เกิดความเลื่อมใส
จนตัดสินใจออกบวชด้วยหวังตั้งใจดำเนินรอยตามพระศาสดา
 
 
กุลบุตรชาวสาวัตถีได้ออกบวชใน<a href=http://www.dmc.tv/search/พระพุทธศาสนา title='พระพุทธศาสนา' target=_blank><font color=#333333>พระพุทธศาสนา</font></a>ด้วยความเลื่อมใส
 
กุลบุตรชาวสาวัตถีได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใส
 
        ชายหนุ่มนั้นเมื่อบรรพชาได้อุปสมบทแล้วก็บำเพ็ญอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรท่องพระปาฎิโมกข์ทั้งสองจนคล่อง มีพรรษาครบ ๕
เรียนกรรมฐานจึงลาอาจารย์และอุปัชฌาย์เข้าไปอยู่ในป่าด้วยหวังว่าความสงบในป่าใหญ่นั้นจะทำให้บรรลุธรรมได้ เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปถึง
บ้านชายแดนตำบลหนึ่งพวกคนต่างเลื่อมใสในอิริยาบถพากันสร้างบรรณศาลาบำรุงอยู่ในป่า

ภิกษุหนุ่มบังเกิดความท้อแท้ใจในการ<a href=http://www.dmc.tv/search/ปฏิบัติธรรม title='ปฏิบัติธรรม' target=_blank><font color=#333333>ปฏิบัติธรรม</font></a>ของตน
 
ภิกษุหนุ่มบังเกิดความท้อแท้ใจในการปฏิบัติธรรมของตน
 
        ครั้นเข้าพรรษาอันปรารภแล้วก็ไม่สามารถให้คุณแม้เพียงโอภาสบังเกิดได้จึงเกิดความท้อแท้ใจ “ อืม ในบุคคล ๔ เหล่าที่พระสาสดาทรงแสดงแล้ว
เราคงเป็นประเภทปดปรมเสียแน่แล้ว แม้จะเรียนมากศึกษามากเท่าไหร่ก็ไม่อาจที่จะตรัสรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะอยู่ป่าทำไม ไปพระเชตวันคอยดูพระรูป
พระโฉมของพระตถาคตเจ้าสดับธรรมเทศนาอับไพเราะยับยั้งอยู่เถอะ ”
 
ภิกษุหนุ่มตัดสินใจเดินทางออกจาป่ากลับมาพบกับเหล่าภิกษุทั้งหลาย
 
ภิกษุหนุ่มตัดสินใจเดินทางออกจาป่ากลับมาพบกับเหล่าภิกษุทั้งหลาย
 
      ภิกษุหนุ่มตัดสินใจเช่นนั้นก็ตัดสินใจเดินทางออกจากป่ามุ่งหน้าไปเชตวันมหาวิหาร เมื่อถึงแล้วก็ถูกอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งภิกษุที่เคยรู้จักมักคุ้น
รุมถามถึงเหตุที่บังคับให้มา “ กระผมท้อแท้ใจเหลือเกินครับ แม้ว่าจะตั้งใจศึกษาพระธรรมเพียงไรก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ” “ เอาเถอะท่าน
อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปเลย ไปเฝ้าพระองค์พระศาสดากับพวกเราเถิด ท่านจะช่วยชี้ทางให้ท่านได้ ”


ภิกษุหนุ่มและภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเข้าเฝ้าองค์พระศาสดา
 
ภิกษุหนุ่มและภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเข้าเฝ้าองค์พระศาสดา
 
        เหล่าภิกษุทั้งหลายนำตัวภิกษุหนุ่มนั้นไปสู่สำนักพระศาสดา “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ทอดทิ้งความเพียรมาแล้วพระเจ้าค่ะ พระองค์ได้โปรด
ชี้ทางให้เขาเถิด ” “ ดูก่อนภิกษุเหตุใดจึงทอดทิ้งความเพียรเสียล่ะ ที่จริงผลอันเลิศในพระศาสนานี้ที่มีนามว่าอรหัตผลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วจึงจะชื่นชมอธิคมธรรมได้ ก็แลในปางก่อนเธอก็เป็นคนมีความเพียรทนต่อโอวาทด้วยเหตุนั้นแล
 
พระโอรสสังวรกุมารโอรสองค์ที่ ๑๐๐ แห่งพระเจ้าพาราณสี
 
พระโอรสสังวรกุมารโอรสองค์ที่ ๑๐๐ แห่งพระเจ้าพาราณสี
        
       แม้เป็นน้องสุดท้องคนที่หนึ่งร้อยของพระเจ้าพาราณสีตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลายก็ถึงเศวตฉัตรได้ ” แล้วองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้ ในอดีตกาล ณ เมืองพาราณสีพระ พระราชาผู้ปกครองเมืองทรงมีพระโอรสทั้งหมด ๑๐๐ พระองค์ แต่ในพระโอรสทั้งหมดนั้น
มีพระโอรสสุดท้องสังวรกุมารพระองค์เดียวที่ทรงยึดเหนี่ยวผูกน้ำใจฝูงชน ผู้ถึงพระนครพาราณสีทั่วหน้าทั่วสังคหวัตถุนั้น ๆ ได้
 
เหล่าอำมาตย์ได้กราบทูลพระราชาเกี่ยวกับองค์รัชทายาท
 
เหล่าอำมาตย์ได้กราบทูลพระราชาเกี่ยวกับองค์รัชทายาท
 
       พระองค์เป็นที่รักที่เจริญใจของคนทั้งปวง การต่อมาเมื่อพระเจ้าพาราณสีทรงประชวรหนัก พวกอำมาตย์ต่างวิตกกังวลในเรื่องของรัชทายาท
ครั้งนั้นจึงได้พากันกราบทูลพระราชา “ ขอเดชะใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท เมื่อใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาทสวรรคตไปพวกข้าพุทธเจ้าจักถวายเศวตฉัตร
ให้แก่ใครพระเจ้าค่ะ พระโอรสของพระองค์ทั้งหมด ๑๐๐ พระองค์ พระองค์ไหนที่มหาราชเจ้าจะทรงแต่งตั้งให้ปกครองเมืองสืบไป ”
 
พระราชาได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้ที่จะมาสืบทอดเศวตฉัตรต่อจากพระองค์
 
พระราชาได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้ที่จะมาสืบทอดเศวตฉัตรต่อจากพระองค์
     
        “ อันโอรสของเราทั้ง ๑๐๐ พระองค์นั้น ทุกคนก็ล้วนเป็นลูกของเราทั้งหมด ทุกคนก็ล้วนเป็นเจ้าของเศวตฉัตรทั้งนั้น แต่ใน ๑๐๐ คนนั้น มีแค่คนเดียว
เท่านั้นที่เป็นที่จับใจพวกท่านและเป็นที่รักใคร่ของประชาชนพวกท่านจงให้เศวตฉัตรแก่ผู้นั้นเถิด ” 
ครั้นองค์มหาราชสวรรคตพวกอำมาตย์นั้นจัดการถวาย
พระเพลิงพระศพของพระองค์เสด็จประชุมกันในวันที่เจ็ด สรรหาผู้ที่จะมาเป็นมหาราชองค์ต่อไป “ ในพระโอรสทั้งหมด ๑๐๐ พระองค์นั้น
 
เหล่าอำมาตย์ได้ปรึกษากันถึงเรื่องผู้ที่เหมาะสมที่จะมาเป็นพระราชาองค์ต่อไป
 
เหล่าอำมาตย์ได้ปรึกษากันถึงเรื่องผู้ที่เหมาะสมที่จะมาเป็นพระราชาองค์ต่อไป
 
        มีแต่เจ้าชายสังวรกุมารเท่านั้นที่เป็นที่รักของเหล่าไพร่ฟ้า หรือแม่แต่เหล่าทหาร อำมาตย์หรือผู้รับราชการในวังก็ล้วนรักใคร่นับถือพระองค์ยิ่งกว่า
พระโอรสองค์ใด ” การหารือในครั้งนั้นเหล่าอำมาตย์ต่างมีความเห็นตรงกันให้พระเจ้าสังวรมหาราชทรงครองราชสมบัติสืบไปโดยมีอำมาตย์บัณฑิต
เป็นผู้รับใช้ข้างเคียง นับตั้งแต่นั้นพระเจ้าสังวรมหาราชก็ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ประชาชนไพร่ฟ้าล้วนอยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า
เมื่อพระเจ้าสังวรมหาราชได้พระนครสืบต่อจากพระราชบิดาทำให้เหล่าพระกุมารทั้ง ๙๙ พระองค์นั้นต่างไม่พอใจ
 
พระโอรสสังวรกุมารได้ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาของตน
 
พระโอรสสังวรกุมารได้ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาของตน
 
       เนื่องด้วยตามราชประเพณีพระโอรสองค์ใหญ่ควรที่จะได้เป็นผู้ครองนครต่อจากพระราชาเท่านั้น “ ท่านพี่ทั้งหลายดูเอาเถิด สังวรนั้นเป็นน้องคนสุดท้องแท้ ๆ
กลับได้ครองนครต่อจากเสด็จพ่อ เธอเป็นน้องคนสุดท้องยังไม่ควรต่อเศวตฉัตรของพระบิดา ” “ นั้นสิ เหตุใดเหล่าอำมาตย์ถึงได้แต่งตั้งพระเชษฐาอุโบสถกุมาร
เล่าเพราะพระองค์ทรงเป็นพระเชษฐาของพวกเราทั้งหมด ” “ ใช่ หรือทว่าพวกเขาเห็นพระเชษฐาของพวกเรานั้นไม่คู่ควร ก็ควรจะยกราชสมบัติเหล่านั้นให้กับเรา
ซึ่งเราเป็นโอรสองค์ถัดมา หากพวกน้องเห็นตรงกันอย่างนี้เราจะส่งสาสน์ไปยังสังวรกุมารให้ยกเศวตฉัตรนั้นคืนให้กับพวกเรา

บรรดาพระโอรสทั้ง ๙๙ พระองค์ไม่พอใจที่น้องชายคนสุดท้องของตนได้ขึ้นราชย์แทนพระราชบิดา
 
บรรดาพระโอรสทั้ง ๙๙ พระองค์ไม่พอใจที่น้องชายคนสุดท้องของตนได้ขึ้นราชย์แทนพระราชบิดา
  
        ถ้าไม่อย่างนั้นพวกเราทั้งหมด ๙๙ คนก็จะขอทำสงครามรบเพื่อแย่งชิงราชสมบัติเหล่านั้นคืนด้วยตัวเอง ” เหล่าพระกุมาร ๙๙ พระองค์ร่วมกันส่งหนังสือ
ถึงพระเจ้าสังวรมหาราชมีใจความให้ยกฉัตรแก่พวกเขา หากไม่อย่างนั้นแล้วทุกพระองค์จะพากันยกทัพมาล้อมพระนครไว้ พระเจ้าสังวรเมื่อได้รับสาสน์นั้น
ก็วิตกกังวล เรียกอำมาตย์บัณฑิตมาปรึกษาหารือหาทางแก้ไข “ ท่านอำมาตย์ เราจะทำอย่างไรดีล่ะ เจ้าพี่ทั้งหมดไม่พอใจที่เราได้ครองนครแทนพระบิดา
พวกพี่เขาจะยกทัพมาหากเราไม่ยอมสละราชสมบัติให้ อันสมบัติเหล่านี้เราไม่ต้องการครอบครองแต่เพียงคนเดียวหรอก

พระราชาสังวรมหาราชได้รับสาสน์ทวงคืนเศวตฉัตรจากบรรดาเจ้าพี่ของพระองค์    

พระราชาสังวรมหาราชได้รับสาสน์ทวงคืนเศวตฉัตรจากบรรดาเจ้าพี่ของพระองค์
 
        แต่บ้านเมืองจะมีผู้ปกครองทั้ง ๑๐๐ พระองค์ได้อย่างไรกันเล่า ” “ ทางแก้ไขนั้นก็พอมีอยู่พระเจ้าค่ะ แต่หากพระองค์เองจะยอมทำหรือไม่ ” “ ท่านบอกมาเถิด
ทางแก้ไขนั้นคืออะไร เรายอมทำหากสิ่งนั้นจะทำให้พวกพี่พอใจได้ เราไม่อยากให้เกิดสงคราม ไม่อยากให้บ้านเมืองร้อนเป็นไฟ ” “ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระนคร
ไม่อาจมีผู้ปกครองทั้ง ๑๐๐ พระองค์ได้ แต่พระราชทรัพย์ส่วนอื่นก็ทรงแบ่งให้ได้ไม่ใช่รึพระเจ้าค่ะ ” “ ใช่สินะ ถ้าเช่นนั้นเราจะแบ่งพระราชทรัพย์ของพระบิดา
ออกเป็น ๙๙ ส่วน ส่งถวายแด่พระพี่ทั้งหมด ๙๙ พระองค์ ท่านช่วยส่งสาสน์ให้เจ้าพี่เราทั้งหมดด้วยนะ ว่าเราไม่ต้องการรบกับเจ้าพี่

อำมาตย์บัณฑิตได้แนะนำพระราชาสังวรมหาราชแบ่งพระราชทรัพย์ออกเป็น ๙๙ ส่วน
 
อำมาตย์บัณฑิตได้แนะนำพระราชาสังวรมหาราชแบ่งพระราชทรัพย์ออกเป็น ๙๙ ส่วน
  
       ขอเชิญเจ้าพี่ทั้งหลายรับส่วนพระราชทรัพย์ของพระราชบิดาของเจ้าพี่นี่เถิด ” ครั้งนั้นเมื่อราชกุมารทั้ง ๙๙ องค์ได้รับสาสน์จากพระเจ้าสังวรมหาราชแล้ว
ครั้งนั้นเจ้าพี่องค์ใหญ่พระนามว่าอุโบสถกุมารเมื่ออ่านพระราชสาสน์แล้วก็ทรงคิดได้ตรัสเรียกพระเจ้าน้องที่ทั้งหมดหารือ “ น้องเอ๋ย สังวรเจ้าน้องของพวกเรา
องค์นี้ มิได้ตั้งตน แม้แต่จะตั้งตนเป็นศัตรู กลับส่งพระราชสมบัติของบิดาให้พวกเรา ส่งสาสน์มาด้วยว่าไม่ขอสู้รบกับพวกเรา ” “ แล้วพี่ ๆ เห็นว่าอย่างไร
ในเมื่อสังวรน้องของเราเขาก็ไม่คิดที่จะครองราชย์สมบัติแต่เพียงผู้เดียวเหมือนอย่างที่เราคิดกันไว้แต่แรก ”

พระโอรสอุโบสถกุมารได้อ่านพระราชสาสน์จากพระเจ้าสังวรมหาราชให้น้องๆ ทั้ง ๙๘ พระองค์ได้ฟัง
 
พระโอรสอุโบสถกุมารได้อ่านพระราชสาสน์จากพระเจ้าสังวรมหาราชให้น้องๆ ทั้ง ๙๘ พระองค์ได้ฟัง
 
        “ พี่เองก็ไม่อยากทำสงครามกับผู้เป็นน้องของเราเช่นกัน ” “ นั้นสินะ สังวรเองก็เป็นที่รักใคร่ของเหล่าประชาทั่วไป เหล่าอำมาตย์ยกให้เป็นมหาราช
ก็เหมาะสมดีแล้ว ” “ ใช่แล้วหล่ะน้องเอ๋ย เศวตฉัตรของพระบิดานั้น ครั้นจะยกให้กับพระโอรสทุกพระองค์ก็คงเป็นไปไม่ได้ สังวรน้องของพวกเรานั้น
เหมาะสมแล้วที่จะได้ปกครองพระนครต่อจากเสด็จพ่อ เจ้าน้องนี้เป็นผู้ปกครองโดยธรรม เมื่อได้ปกครองนครแล้วก็ก่อให้เกิดความสงบสุขถ้วนหน้า
เธอทั้งหลายพวกเราพากันพบเธอแล้วมอบราชทรัพย์แล้วพากันไปสู่ชนบทของพวกเราดังเดิมเถิด ”

เจ้าพี่ทั้ง ๙๙ พระองค์ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระเจ้าสังวรมหาราช
 
เจ้าพี่ทั้ง ๙๙ พระองค์ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระเจ้าสังวรมหาราช
 
       “ อืม น้องเห็นด้วยกับพระพี่ใหญ่ น้องเองจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ต้องการทรัพย์สมบัติแต่อย่างใด อันชนบทที่เสด็จพ่อประทานให้ปกครองก็สร้างความสุข
ให้กับน้องแล้ว ” “ น้องเองก็เช่นกัน อันสงครามหากเกิดจากผู้เป็นพี่น้องกันแล้วบ้านเมืองก็คงจะหาความสงบสุขไม่ได้ ” “ ถ้าอย่างนั้นพวกเราก็จงเร่งรีบ
ไปหาเจ้าน้องกันเถิด จะได้บอกกับสังวรว่าเราเองก็ไม่ได้ต้องการราชทรัพย์อันใด ” 
ครั้งนั้นพระกุมารทั้งหมดนั้นก็ให้เปิดประตูเมือง มิได้ตั้งตนเป็นศัตรู
พากันเข้าสู่พระนคร ทางด้านพระเจ้าสังวรพระมหาราชนั้นก็ตรัสสั่งให้พวกอำมาตย์คุมสักการะเพื่อถวายพระกุมารเหล่านั้นเช่นกัน
 
พระอุโบสถกุมารได้ทูลถามถึงเหตุ<a href=http://www.dmc.tv/search/ปัจจัย title='ปัจจัย' target=_blank><font color=#333333>ปัจจัย</font></a>ที่ทำให้พระเจ้าสังวรมหาราชได้ขึ้นครองเศวตฉัตรต่อจากพระราชบิดา
 
พระอุโบสถกุมารได้ทูลถามถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระเจ้าสังวรมหาราชได้ขึ้นครองเศวตฉัตรต่อจากพระราชบิดา
 
        มิทันที่เหล่ากุมารจะมาทูลไม่ขอรับทรัพย์ ขบวนราชทรัพย์เหล่านั้นก็เดินทางมาถึงยังชนบทของเหล่ากุมารแล้ว เหล่าพระกุมารทรงพระดำเนินมาด้วย
เหล่าบริวารอันมากขึ้นสู่พระราชวังแสดงอาการนอบน้อมแด่พระเจ้าสังวรมหาราช พากันประทับนั่งเหนืออาสนะต่ำ พระเจ้าสังวรมหาราชเองเมื่อเห็นเจ้าพี่
ทั้งหมดมาเยือนอย่างเป็นมิตรก็ทรงยินดีตอบรับการเสด็จมาอย่างยินดี  “ เหล่าพระเชษฐาคงได้รับสาส์นของน้องแล้ว เห็นเป็นอย่างไรบ้าง น้องเองไม่คิด
จะครอบครองสมบัติเหล่านี้แต่เพียงผู้เดียวหรอก น้องยินดีที่จะแบ่งราชทรัพย์เหล่านั้นให้พวกพี่ทุกพระองค์ พวกพี่อย่าได้อคติกับน้องเลย ”
 
พระเจ้าสังวรมหาราชได้ต้อนรับเจ้าพี่ของตนทั้ง ๙๙ พระองค์ด้วยความยินดี
 
พระเจ้าสังวรมหาราชได้ต้อนรับเจ้าพี่ของตนทั้ง ๙๙ พระองค์ด้วยความยินดี
 
       พระอุโบสถกุมารทอดพระเนตรเห็นสิริสมบัติของพระเจ้าสังวรมหาราช เมื่อประทับนั่งเหนือสีหสนะภายใต้เศวตฉัตรพระยศใหญ่ พระสิริโสภาคอันใหญ่
ได้ปรากฏแล้วก็ทรงยินดีที่เหล่าอำมาตย์ได้เลือกพระโอรสที่มาครองราชย์ถูกพระองค์ “ ข้าแต่มหาราชอันที่จริงนั้นพระราชบิดาของพวกเราทรงทราบ
ความที่สังวรกุมารจะได้เป็นพระราชาอยู่แล้วก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตได้ประทานชนบทอื่น ๆ แก่พวกพี่แล้ว ซึ่งพระองค์มิได้ประทานชนบทนั้น
แก่ท่านเลย ข้าแต่มหาราชท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมแล้วที่จะได้ครองพระนคร เสด็จพ่อก็เห็นว่ามีแต่ท่านนี่แหละที่จะครองพระนครสืบต่อจากพระองค์ได้
 
พระเจ้าสังวรมหาราชทรงมีความเคารพในสมณะและฤาษีผู้มีคุณทั้งหลาย
 
พระเจ้าสังวรมหาราชทรงมีความเคารพในสมณะและฤาษีผู้มีคุณทั้งหลาย
 
       แม้แต่เหล่าอำมาตย์ขุนนางหรือไพร่ฟ้าประชาชนเองก็ตาม เขาเหล่านี้ต่างเทิดทูนท่านให้เป็นพระราชา ข้าแต่พระเจ้าสังวรราชด้วยพระศีลลาจารวัตร
ขอไหนพระองค์จึงสถิตอยู่เหนือพระเชษฐภาดา เหนือพระเชษฐภาดาผู้ทรงร่วมกำเนิดได้ ด้วยพระศีลลาจารวัตรข้อไหนหมู่พระญาติที่ประชุมกันแล้ว
จึงไม่ย่ำยีพระองค์ได้ ” “ ข้าแต่พระราชบุตรหม่อมฉันไม่ริษยาสมณะทั้งหลายผู้แสวงคุณอันใหญ่หลวง หม่อมฉันนอบน้อมท่านเหล่านั้นด้วยความเคารพ
ไหว้เท้าของท่านผู้คงที่ สมณะเหล่านั้นยินดีแล้วในคุณธรรมของท่านผู้แสวงหาคุณ ย่อมพร่ำสอนหม่อมฉันผู้ประกอบในคุณธรรม
 
กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรบและพลเดินเท้าต่างได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากพระเจ้าสังวรมหาราช
 
กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรบและพลเดินเท้าต่างได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากพระเจ้าสังวรมหาราช

        ผู้พอใจฟังไม่มีความริษยา หม่อมฉันได้ฟังคำของสมณะผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่หลวงเหล่านั้นแล้ว มิได้ดูหมิ่นสักหน่อยหนึ่งเลย ใจของหม่อมฉัน
ยินดีแล้วในธรรม กองพลช้าง กองพลม้า และกองพลรถ และกองพลเดินเท้าหม่อมฉันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยงบำเหน็จบำนาญของจตุรงคเสนาเหล่านั้นให้ลดน้อยลง
อำมาตย์ผู้ใหญ่และราชการผู้มีปรีชาของหม่อมฉันมีอยู่ช่วยกันบำรุงพระนครพาราณสีให้มีเนื้อมาก มีน้ำดี อนึ่งพวกพ่อค้าผู้มั่งคั่งมาแล้วจากรัฐต่าง ๆ
หม่อมฉันช่วยจัดอารักขาให้พ่อค้าเหล่านั้น ขอได้โปรดทราบอย่างนี้เถิดเจ้าพี่อุโบสถ ” “ ข้าแต่พระเจ้าสังวราชด้วยพระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติแห่ง
หมู่พระญาติโดยธรรม พระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาด้วยเป็นบัณฑิต ด้วยทั้งทรงเกื้อกูลพระประยูรญาติด้วย

เจ้าพี่ทั้ง ๙๙ พระองค์ทรงประทับอยู่ในพระราชวังเป็นเวลากึ่งเดือน
 
เจ้าพี่ทั้ง ๙๙ พระองค์ทรงประทับอยู่ในพระราชวังเป็นเวลากึ่งเดือน

       ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่เบียดเบียนพระองค์ผู้แวดล้อมไปด้วยพระประยูรญาติ มองมูลด้วยรัตนต่าง ๆ เหมือนจอมอสูรไม่เบียดเบียนพระอินทร์ ” พระเจ้าสังวรมหาราช
ทรงประทานยศใหญ่แด่พระเจ้าพี่ทุกพระองค์ หลังจากนั้นเหล่าพระกุมารทุกพระองค์ก็ไม่ทรงคิดอคติต่อพระเจ้าสังวรพระมหาราชอีกเลย ทุกพระองค์ล้วนยอมรับ
จักเทิดทูนพระองค์ทรงครองราชโดยธรรม พระเจ้าพี่เหล่านั้นประทับอยู่ในสำนักของพระองค์ตลอดกึ่งเดือนก็ทูลลากลับชนบท

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกแก่เหล่าภิกษุทั้งหลาย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกแก่เหล่าภิกษุทั้งหลาย
 
      “ ข้าแต่มหาราช บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกหม่อมฉันจะขอลากลับไปที่ชนบท พวกหม่อมฉันจะขอระวังพวกโจรที่จะเกิดขึ้นในชนบททั้งหลาย จงเสวยสุข
ในราชสมบัติเถิด ” 
จากนั้นเหล่ากุมารทั้ง ๙๙ พระองค์ก็เสด็จไปสู่ชนบทของตน พระเจ้าสังวรมหาราชทรงดำรงในโอวาทของอำมาตย์บัณฑิตในที่สุดแห่ง
พระชนม์มายุได้ไปเพิ่มเทพนครให้เต็ม “ ดูก่อนภิกษุ ครั้งก่อนเธอทนต่อโอวาทเช่นนี้ บัดนี้เหตุไรไม่กระทำความเพียร ” ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
ทรงประชุมชาดก
 
 
สังวรกุมารผู้เป็นพระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็น ภิกษุนี้
อุโบสถกุมารได้มาเป็น สารีบุตร
เจ้าพี่ที่เหลือได้เป็น เถรานุเถระ
และบริษัทได้มาเป็น พุทธบริษัท
ส่วนอำมาตย์บัณฑิตผู้ถวายโอวาท เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
 










พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ